พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน – การขยายเวลาศึกษาต่อ – การผิดสัญญา – อายุความ
สัญญาระหว่างโจทก์กับ อ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบกำหนดแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้ อ.ลาศึกษาต่อและลากิจเป็นเวลา 4 ปี 5 เดือน โดยจำเลยมิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้ อ.ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยผู้ค้ำประกัน แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อ อ.สำเร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมารับราชการกับโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยจึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อ.ต้องกลับมารับราชการในวันที่ 1 มิถุนายน 2525 แต่ อ.ไม่กลับมารับราชการตามกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2525 ถือได้ว่า อ.ผิดสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยจึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อ.ต้องกลับมารับราชการในวันที่ 1 มิถุนายน 2525 แต่ อ.ไม่กลับมารับราชการตามกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2525 ถือได้ว่า อ.ผิดสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - ขอบเขตความรับผิด - การอนุมัติลาศึกษาต่อเพิ่มเติมไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้
สัญญาระหว่างโจทก์กับอ.มิได้ระบุระยะเวลาที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณต่างประเทศและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกันฉะนั้นการที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณต่างประเทศเป็นเวลา2ปีครบกำหนดแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้อ.ลาศึกษาต่อและลากิจเป็นเวลา4ปี5เดือนโดยจำเลยมิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้อ.ศึกษาต่ออีกนั้นแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเมื่ออ.สำเร็จการศึกษาแล้วไม่กับมารับราชการกับโจทก์อันเป็นการผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยจึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อ.ต้องกลับมารับราชการในวันที่1มิถุนายน2525แต่อ.ไม่กลับมารับราชการตามกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงมีคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่1มิถุนายน2525ถือได้ว่าอ.ผิดสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่8มีนาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกต้องคำนึงถึงสิทธิทายาททุกคน การฟ้องแบ่งเฉพาะคู่ความอาจไม่บังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด5คนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินมรดกต้องคำนึงถึงสิทธิทายาทอื่น การฟ้องให้แบ่งเฉพาะส่วนของตนเองอาจไม่ได้รับการบังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน และให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือ โจทก์ จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด 5 คน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: การแบ่งที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด ไม่สามารถบังคับแบ่งตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างบางคนได้
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์กับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในมรดกแทนทายาทคนอื่นด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงซึ่งจำเลยจะต้องแบ่งที่ดินด้านทิศตะวันออกให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิ ของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ เพราะที่ดินทุกส่วน ทายาททุกคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของ สมควรให้เจ้าของรวมทุกคน ได้มีส่วนรู้เห็นและตกลงในการแบ่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวให้แบ่งที่ดินตามที่จำเลยตกลงกับโจทก์เพียงสองคน คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินแทนและการเป็นตัวแทนโดยปริยาย อำนาจฟ้องเรียกค่าจ้าง
จำเลยรับเงินค่าจ้างของลูกจ้างโจทก์ 3 คน ไว้โดยคนทั้งสามยินยอมให้จำเลยรับแทน จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนโดยปริยายของลูกจ้างโจทก์ทั้งสามคนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง การที่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนทั้งสามน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยรับจากโจทก์ไว้แทนคนทั้งสาม ก็เป็นเรื่องที่คนทั้งสามจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าจ้างของคนทั้งสามในส่วนที่จำเลยรับไว้จากโจทก์แล้วไม่จ่ายให้แก่คนทั้งสามคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายและขอบเขตความรับผิดในสัญญาจ้าง
จำเลยรับเงินค่าจ้างของลูกจ้างโจทก์ 3 คน ไว้โดยคนทั้งสามยินยอมให้จำเลยรับแทน จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนโดยปริยายของลูกจ้างโจทก์ทั้งสามคนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 797 วรรคสอง การที่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนทั้งสามน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยรับจากโจทก์ไว้แทนคนทั้งสาม ก็เป็นเรื่องที่คนทั้งสามจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าจ้างของคนทั้งสามในส่วนที่จำเลยรับไว้จากโจทก์แล้วไม่จ่ายให้แก่คนทั้งสามคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และข้อยกเว้นความรับผิดของนายจ้าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์และอายุความฟ้องแย้ง: กรณีละเมิดจากการชนบนถนน
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว.ให้รับผิดแต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว.จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อการลักทรัพย์ในตู้นิรภัยจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ที่ 1 กับ น.เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้าง เมื่อโจทก์ที่ 1กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น.เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น.ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลเยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย
การที่โจทก์ที่ 1 กับ น.เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้าง เมื่อโจทก์ที่ 1กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น.เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น.ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลเยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย