คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกล เหมือนพะวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินเล็กน้อย & การรับภาระหน้าที่จากผู้โอน – ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามมาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ได้ต่อเติมรุกล้ำ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่า ในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่แต่ได้ความตามคำฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทเป็นเนื้อที่ 2 ตารางวาเป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลอันจะทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษ เชื่อได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทตามพินัยกรรมมีอำนาจฟ้องเรียกร้องมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่ โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุนทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทฟ้องร้องมรดก & ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุน-ทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาท
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อข้อห้ามโอนตามกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ แม้มีการตกลงภายหลัง
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปีจากโจทก์ แม้โจทก์จะได้สละการครอบครองและมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยครอบครอง ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว ก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันข้าราชการไปศึกษาต่อ: การผิดสัญญาเกิดจากการไม่กลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ไม่ใช่การถูกสั่งให้ออก
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5 ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษา หรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการ จึงไม่ใช่กรณีที่ พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาลและการละเมิดอำนาจศาลอันเนื่องจากการข่มขู่และผลักทำร้าย
ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อน การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ต่อวาผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ห้องโถงของศาลในวันเกิดเหตุว่า ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 กลั่นแกล้งหลายเรื่อง และจะเอาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นการข่มขู่และยั่วยุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เกิดอารมณ์ไม่พอใจ และการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1ไปยืนที่ประตูห้องพิจารณา ในลักษณะยืนขวางประตู เห็นได้ว่าเป็นการท้าทายให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ไม่พอใจยิ่งขึ้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เดินเข้าห้องพิจารณาไม่ว่าจะเดินชนผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 หรือเดินเฉียดชิดเพราะที่แคบ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1ก็ไม่ควรผลักผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พฤติการณ์ที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1ต่อว่าข่มขู่จะเอาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ก็ดี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1ไปยืนขวางประตูห้องพิจารณาและผลักผู้ถูกกล่าวหาที่ 2เมื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เดินเข้าห้องก็ดี ชี้ให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีส่วนก่อให้เกิดเหตุวิวาทขึ้นในศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การข่มขู่ ยั่วยุ และผลักทำร้ายร่างกายในบริเวณศาล
ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองมีเรื่องโกรธเคืองอย่างรุนแรงกันมาก่อน การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ต่อว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 2ที่ห้องโถงของศาลในวันเกิดเหตุว่าถูกผู้ถูกกล่าวหาที่ 2กลั่นแกล้งหลายเรื่อง และจะเอาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2เป็นการข่มขู่และยั่วยุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เกิดอารมณ์ไม่พอใจ และการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ไปยืนที่ประตูห้องพิจารณาของศาลในลักษณะยืนขวางประตู เห็นได้ว่าเป็นการท้าทายให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ไม่พอใจยิ่งขึ้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 2เดินเข้าห้องพิจารณาไม่ว่าจะเดินชนผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 แถลงหรือเดินเฉียดชิดเพราะที่แคบตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แถลง ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ก็ไม่ควรผลักผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พฤติการณ์ที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ต่อว่าข่มขู่จะเอาเรื่องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ก็ดี ผู้กล่าวหาที่ 1ไปยืนขวางประตูห้องพิจารณาและผลักผู้ถูกกล่าวหาที่ 2เมื่อผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เดินเข้าห้องก็ดี ชี้ให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีส่วนก่อให้เกิดเหตุวิวาทขึ้นในศาลเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
of 18