พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามกรรโชกทรัพย์จากเจ้าหน้าที่ใช้ตำแหน่งข่มขู่เรียกเงิน
ผู้เสียหายที่ 2 ได้ต่อเติมห้องน้ำที่บ้านของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่นายตรวจอาคาร มีอำนาจหน้าที่ตรวจอาคารตามคำสั่งของสำนักงานเขตพญาไท จำเลยได้ข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายที่ 2 ถ้าผู้เสียหายไม่ให้จำเลยจะดำเนินคดีในเรื่องต่อเติมอาคารผิดกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้ตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้ถูกขู่เข็ญ เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานกรรโชกและกระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล เพราะการที่ผู้เสียหายที่ 2 เจรจากับจำเลยแล้วขึ้นไปชั้น 2 โทรศัพท์เรียกเจ้าพนักงานตำรวจให้มาจับกุมจำเลยทันที แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมให้เงิน เพียงแต่ทำทีเป็นยอมเพื่อวางแผนจับกุมจำเลย หาใช่ยอมให้เงินแก่จำเลยด้วยใจจริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดขั้นพยายาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประทานบัตร, อายุความ, ดอกเบี้ย: อำนาจฟ้อง, กฎกระทรวงบังคับใช้, และข้อยกเว้นอายุความ
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้
ตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บ ปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้
จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2
เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33
ตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บ ปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้
จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2
เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประทานบัตรแร่: สิทธิเรียกเก็บ, อัตราตามกฎกระทรวง, และอายุความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยเป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการให้ประทานบัตร ตรวจสอบดูแลการทำเหมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนมีหน้าที่ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรและหนี้สินต่าง ๆ ที่ผู้ได้รับประทานบัตรค้างชำระแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่จำเลยค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้แต่อย่างใด ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีสำหรับอัตราค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บ ทั้งนี้เพราะกฎกระทรวงฉบับใดที่ยกเลิกไปแล้วย่อมถูกยกเลิกทั้งฉบับ ซึ่งรวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนั้นด้วย ฉะนั้นปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่ จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แต่ดอกเบี้ยจากเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ ส่วนที่เกิน5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะตามกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์ ซึ่งเป็นทนายความกับจำเลยซึ่งเป็นลูกความ ตกลงกันว่า ถ้าลูกความชนะคดีได้ที่ดินที่เป็นมูลพิพาทมาเท่าใด ทนายความขอส่วนได้จากที่ดินที่จะได้มา ไม่ว่าราคาจะขึ้นลงสักเท่าใด อันเป็นการไม่แน่นอน อันถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความมีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2508 ไปแล้ว แต่สัญญาจ้างว่าความที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นทำขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ก่อนกฎหมายดังกล่าวยกเลิก จึงไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่วันทำสัญญาแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดเจนและไม่เป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือกล่าวว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแต่มิได้กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งสองฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าไม่ถูกต้องนั้น เป็นฎีกาข้อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นสาระ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือกล่าวว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง แต่มิได้กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทั้งสองฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าไม่ถูกต้องนั้น เป็นฎีกาข้อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
จำเลยทั้งสองฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าไม่ถูกต้องนั้น เป็นฎีกาข้อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ราคาซื้อขายจริงเป็นเกณฑ์
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์ การที่จำเลยที่ 2 ถือเอาราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ถูกต้องเพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์จึงมีอำนาจขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดได้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ ใช้บังคับ ไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ถูกเวนคืนการที่โจทก์นำสืบว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่มีสภาพและทำเลที่ตั้งเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ ในราคาตารางวาละ 15,000 บาทจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลจะใช้ดุลพินิจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบเพื่อคำนวณหาราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับได้ จะถือว่าโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องถือตามที่จำเลยที่ 2กำหนดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติ: ไม่บังคับใช้ราคาประเมินหากไม่มีการจดทะเบียน
ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินกำหนดเป็นเกณฑ์แทน เพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่วางมัดจำและการไม่มีอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดอายัด
การที่ ส.ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส.ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 516 และการกระทำของ ส.ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัด•ทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้อง ส.เป็นคดีใหม่