คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกล เหมือนพะวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่วางมัดจำและการไม่มีอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดอายัด
การที่ ส.ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส.ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 516 และการกระทำของ ส.ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัด•ทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้อง ส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจขอออกหมายบังคับคดีเอง ต้องฟ้องผู้ผิดสัญญาเป็นคดีใหม่
การที่ ส. ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส. ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 และการกระทำของ ส. ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้องส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดกสงวนสำหรับทายาท ผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกฐานเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินทรัพย์มรดกแปลงหนึ่งผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเคยอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ตายนั้น ก็มีแต่คำเบิกความลอย ๆ ของผู้คัดค้านเท่านั้น ผู้ร้องเองก็เบิกความว่าผู้คัดค้านไม่เคยมาอยู่กับผู้ตายและไม่เคยมาพักที่บ้านผู้ตายเลย จึงเป็นการยากที่จะรับฟังว่า ผู้คัดค้านมีความผูกพันกับผู้ตายถึงขั้นสมควรจะเข้าไปร่วมดูแลจัดการทรัพย์มรดกผู้ตาย อีกทั้งได้ความจากคำเบิกความของผู้คัดค้านว่า ที่ผู้คัดค้านต้องการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเกิดความเสียหายจากการจัดการมรดกของฝ่ายผู้ร้อง อันเป็นเจตนาที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน หาใช่กระทำเพื่อความชอบธรรมและประโยชน์ของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายโดยตรงไม่ กรณีเช่นนี้ถ้าผู้คัดค้านซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะเจ้าของรวมอย่างไรก็ชอบจะเรียกร้องเอาได้โดยไม่จำต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่แล้ว จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิผู้ร่วมทรัพย์มรดกที่ไม่ใช่ทายาท และเจตนาในการจัดการมรดก
ที่ดินทรัพย์มรดกแปลงหนึ่งผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเคยอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ตายนั้น ก็มีแต่คำเบิกความลอย ๆ ของผู้คัดค้านเท่านั้น ผู้ร้องเองก็เบิกความว่าผู้คัดค้านไม่เคยมาอยู่กับผู้ตายและไม่เคยมาพักที่บ้านผู้ตายเลยจึงเป็นการยากที่จะรับฟังว่า ผู้คัดค้านมีความผูกพันกับผู้ตายถึงขั้นสมควรจะเข้าไปร่วมดูแลจัดการทรัพย์มรดกผู้ตาย อีกทั้งได้ความจากคำเบิกความของผู้คัดค้านว่า ที่ผู้คัดค้านต้องการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเกิดความเสียหายจากการจัดการมรดกของฝ่ายผู้ร้อง อันเป็นเจตนาที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน หาใช่กระทำเพื่อความชอบธรรมและประโยชน์ของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายโดยตรงไม่ กรณีเช่นนี้ถ้าผู้คัดค้านซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะเจ้าของรวมอย่างไรก็ชอบจะเรียกร้องเอาได้โดยไม่จำต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่แล้ว จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และการจดทะเบียนสิทธิในที่ดิน จำเป็นต้องมีคู่ความครบถ้วน
เดิมโจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทได้แจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) ที่ดินพิพาทไว้ ต่อมาจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวและเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ จากนั้นจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้ ต. และต. จดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ธนาคารในวันเดียวกัน ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทแล้วเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าวมาเพียงคนเดียว โดยมิได้ฟ้องหรือเรียกเจ้าพนักงานที่ดิน ต. และธนาคารเข้ามาเป็นคู่ความด้วย จึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมกระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์เป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจดทะเบียนโอนขายให้ ต. ในวันเดียวกันต.จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ธนาคาร ก. ดังนั้น ผู้โต้แย้งสิทธิและผู้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการเพิกถอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาท นอกจากจำเลยแล้วยังมีเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอ ต. และธนาคาร ก.ด้วย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพียงคนเดียวซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทแล้วโดยมิได้ฟ้องหรือเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคู่ความด้วย แต่โจทก์กลับขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนิติกรรมดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอน นส.3 ต้องฟ้องบุคคลภายนอกที่มีสิทธิเกี่ยวข้องด้วย มิฉะนั้นถือเป็นการฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจดทะเบียนโอนขายให้ ต.ในวันเดียวกัน ต. จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่ธนาคาร ก.ดังนั้น ผู้โต้แย้งสิทธิและผู้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการเพิกถอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนอกจากจำเลยแล้วยังมีเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอ ต. และธนาคาร ก.ด้วย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพียงคนเดียวซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทแล้วโดยมิได้ฟ้องหรือเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคู่ความด้วยแต่โจทก์กลับขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และนิติกรรมดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภาระจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้โดยความยินยอม
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทกว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทาง-ภาระจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ ทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภาระจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายทางภารจำยอม: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี ทำให้เกิดภารจำยอม เมื่อเจ้าของภารยทรัพย์ขอเปลี่ยนเส้นทาง ย่อมเกิดภารจำยอมใหม่ตามเส้นทางที่ตกลง
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทกว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทางภารจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ ทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายทางภารจำยอม: การยินยอมของเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ทางภารจำยอมย้ายไปยังเส้นทางใหม่ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ต่อมาจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทางภารจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภารจำยอมแทนทางเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392
of 18