คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกล เหมือนพะวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์คดี, การห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง, การคำนวณทุนทรัพย์, คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงร่วมกันว่าที่พิพาทมีราคา 200,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 200,000 บาทซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจากทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าวศาลชั้นต้นจะให้โจทก์หาราคาประเมินที่พิพาทเพื่อคำนวณทุนทรัพย์ของคดีใหม่ในชั้นฎีกาแทนทุนทรัพย์เดิมหาได้ไม่ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การไม่ระบุประเด็นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1แต่มิได้กล่าวให้แจ้งชัดว่าไม่เห็นด้วยในปัญหาข้อไหน อย่างไรเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยหรือไม่ เพียงแต่กล่าวอ้างความเป็นมาของที่ดินพิพาทและโต้แย้งการรับฟังเอกสารซึ่งซ้ำกับที่กล่าวในอุทธรณ์อันเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้นจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินและผลของการครอบครองโดยชอบธรรม การซื้อขายที่ดินโดยมิได้จดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายขายให้แก่จำเลยแม้การซื้อขายจะเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ผู้ตายขายให้จำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทไม่ยึดถือเพื่อตนต่อไปแล้ว การครอบครองของผู้ตายจึงสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 จำเลยได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยนำเงินไปชำระหนี้แทนผู้ตายและรับ ส.ค.1มาจากเจ้าหนี้ผู้ตาย แล้วให้ ส. ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นการยึดถือเพื่อตนจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367ที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นมรดกของผู้ตาย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินและได้มาซึ่งสิทธิครอบครองใหม่จากบุคคลอื่น ทำให้ที่ดินไม่เป็นมรดก
ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายขายให้แก่จำเลยแม้การซื้อขายจะเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ผู้ตายขายให้จำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาท ไม่ยึดถือเพื่อตนต่อไปแล้ว การครอบครองของผู้ตายจึงสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 จำเลยได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยนำเงินไปชำระหนี้แทนผู้ตายและรับ ส.ค.1 มาจากเจ้าหนี้ผู้ตายแล้วให้ ส. ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นการยึดถือเพื่อตนจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นมรดกของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการชำระค่าอ้างที่ล่าช้า
นอกจากหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องจะมีข้อความแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ยังมีข้อความเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องร่วมกันลงชื่อในหนังสือดังกล่าว จึงฟังได้ว่าวันที่มีการบอกกล่าวการโอนนั้น จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องก่อน แล้วจึงบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้โดยทำเป็นหนังสือไว้ในเอกสารฉบับเดียวกัน การโอนสิทธิเรียกร้อง และการบอกกล่าวการโอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏว่าในวันต่อมาจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวขึ้นอีกฉบับหนึ่งก็ไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวการโอนนั้นเสียไป กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีการชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการชำระค่าอ้างล่าช้า และการอายัดชั่วคราวในคดีไม่มีทุนทรัพย์
นอกจากหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องจะมีข้อความแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ยังมีข้อความเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องร่วมกันลงชื่อในหนังสือดังกล่าว จึงฟังได้ว่าวันที่มีการบอกกล่าวการโอนนั้น จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องก่อน แล้วจึงบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้โดยทำเป็นหนังสือไว้ในเอกสารฉบับเดียวกัน การโอนสิทธิเรียกร้อง และการบอกกล่าวการโอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏว่าในวันต่อมาจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ก็ไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวการโอนนั้นเสียไป
กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดี การชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป
คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินทดรองจ่ายในวงแชร์: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยโดยโจทก์เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ได้และออกเช็คให้แก่ลูกวงคนอื่น ๆ ไว้ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ในฐานะนายวงได้ชำระเงินตามเช็คไปแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอันเป็นการเรียกเงินที่ออกทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินราคาต่ำกว่าราคาจำนองและราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลสมควร ถือเป็นการขายที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น ได้จำนองไว้กับโจทก์เมื่อวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2526 ในวงเงิน 1,100,000 บาท ต่อมาเดือนกันยายน 2530โจทก์ขอออกหมายบังคับคดีตีราคา 1,000,000 บาท การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคา 190,000 บาท และเห็นชอบให้ขายจนศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแก่โจทก์ ซึ่งสู้ราคาสูงสุด 300,000 บาท ในการขายทอดตลาดครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2531 หลังวันจดทะเบียนจำนองถึง 5 ปี โดยไม่มีเหตุผลอื่นมาหักล้างเช่นที่ดินเสื่อมราคาเพราะทำประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่มีทางเข้าออก จึงเป็นการขายโดยรวบรัดและกดราคา เป็นการขายทอดตลาดที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินราคาต่ำกว่าราคาประเมินและราคาจำนองถือเป็นการขายที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินที่ขายทอดตลาด โจทก์รับจำนองไว้จากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน1,100,000 บาท และโจทก์ขอหมายบังคับคดีตีราคาที่ดินไว้ 1,000,000บาท แต่โจทก์เข้าประมูลราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกเพียง 300,000บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นชอบ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแก่โจทก์ที่ดินแปลงนี้เป็นแปลงใหญ่ อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ตามปกติ ราคาจำนองจะต่ำกว่าราคาที่ดินที่แท้จริง การขายทอดตลาดห่างจากวันจำนองถึง 5 ปี ที่ดินย่อมมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่ดินเสื่อมราคาหรือทำประโยชน์ไม่ได้แต่ประการใดและเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้รับแจ้งราคาประเมินจากเจ้าพนักงานที่ดินอีกทั้งจำเลยที่ 1 มอบให้ทนายมาคัดค้านว่าขายทอดตลาดในราคาต่ำไปขอให้เลื่อนไปขายใหม่จะหาคนมาซื้อใหม่ให้สูงกว่าเดิมด้วยการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายโดยรวบรัด กดราคาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ควรยกเลิกเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาจ้างก่อสร้าง: การคิดค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างไม่เริ่มงานตามสัญญา
สัญญากำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญาผู้รับจ้างจะจ่ายค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ23,706.54 บาท สำหรับความล่าช้านับแต่วันกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริงหมายความว่าผู้รับจ้างต้องจ่ายค่าปรับเพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้านับแต่วันที่กำหนดทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา จนถึงวันทำงานแล้วเสร็จจริงกรณีหนึ่งกับสำหรับความล่าช้านับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างขยายให้จนถึงวันที่ผู้รับจ้างทำงานแล้วเสร็จอีกกรณีหนึ่ง เมื่อผู้รับจ้างมิได้เข้าทำงานตามที่ได้ทำสัญญาไว้เลย จึงไม่มีวันที่ผู้รับจ้างทำงานแล้วเสร็จหลังจากวันที่ครบกำหนดสัญญาได้ ผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเรียกเบี้ยปรับเป็นรายวันตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
of 18