พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์คดีต้องห้าม และการยกเหตุผลประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษ
เมื่อพนักงานอัยการได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาเห็นว่า ควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ก็รับรองให้อุทธรณ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับรองในวันที่ยื่นอุทธรณ์ เพียงแต่ให้มีคำรับรองปรากฏให้เห็นขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ และถ้อยคำที่ใช้ให้มีความหมายให้เห็นว่าเป็นการรับรองข้อที่ต้องห้ามก็ชอบแล้ว ส่วนเหตุผลในการรับรองนั้นกฎหมายมิได้กำหนดแบบว่าจะต้องปรากฏในคำรับรองนั้นด้วยแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ว่าการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราเป็นภัยอันตรายเพราะรัฐบาลต้องใช้งบประมาณสร้างถนนในวงเงินที่สูงขึ้น...นั้นเป็นการอ้างเหตุผลเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่อ้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะถือว่าไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินของกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้าย กำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือ ขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน บริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิซื้อขายโดยไม่สุจริตของผู้ขายที่ปล่อยให้ผู้ซื้อค้างชำระนานปี และรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดของผู้ซื้อ
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางยังเป็นของผู้ร้องตามข้อสัญญา เพราะผู้ซื้อยังค้างชำระราคาอยู่ แต่ผู้ร้องปล่อยให้ผู้ซื้อค้างชำระราคาอยู่จนถึงวันเกิดเหตุเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้ว มิได้บังคับตามสัญญาซื้อขายแก่ผู้ซื้อโดยการบอกเลิกสัญญาและเรียกเอาทรัพย์ที่ขายคืนอย่างใดคงปล่อยเนิ่นนานมาจนกระทั่งจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ซื้อนำรถยนต์ของกลางไปกระทำความผิดแล้วผู้ร้องก็มอบอำนาจให้ผู้ซื้อนั้นเองมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ทั้งตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อต้องรับผิดใช้ราคาที่ซื้อจนครบแม้รถยนต์ของกลางจะถูกริบ ดังนี้ การร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้อง เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับรถยนต์ของกลางคืนไปในภายหลังหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องเองไม่ จากพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ซื้อใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกทรายเกินน้ำหนักในทางการค้าของผู้ซื้อ น่าเชื่อว่ากระทำไปตามคำสั่งของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจึงเป็นผู้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด เมื่อผู้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ จึงถือได้ว่าเป็นการรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยเมื่อจำเลยไม่วางเงินตามประกาศ คปต. แม้โจทก์ไม่ยอมรับราคา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดเกี่ยวกับการชำระค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินกรณีเจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยเสนอไว้ว่าให้นำเงินไปวางต่อศาล เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยมิได้นำเงินดังกล่าวไปวางต่อศาล และการที่เจ้าของที่ดินไม่ยอมรับราคาที่เสนอก็เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ซึ่งถือไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ นับแต่วันที่เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลริบของกลาง: รถยนต์ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ ก็มิได้บัญญัติถึง เรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วย มาตรา 17 การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์บรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แม้กฎหมายเฉพาะไม่ได้บัญญัติการริบไว้
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้แต่ก็มิได้บัญญัติถึง เรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วย มาตรา 17
การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ
การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้ไม่มีบทบัญญัติริบโดยตรง
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ประกอบด้วยมาตรา 17 การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งโจทก์ขอให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมายก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องความผิดฐานบรรทุกน้ำหนักเกินเกณฑ์ ไม่ต้องระบุถึงความเสียหายต่อทางหลวง หากโจทก์มิได้ฟ้องในประเด็นดังกล่าว
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 56 นั้น ผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดประการหนึ่ง และห้ามใช้ยานพาหนะที่อาจทำให้ทางหลวงเสียหายอีกประการหนึ่ง ดังนั้นเมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยขับรถยนต์ประเภทประกอบการขนส่งส่วนบุคคล มี 3 เพลา 6 ล้อ ชนิดเพลาที่ 2 ที่ 3 เป็นเพลาคู่ใช้ยางคู่ ซึ่งตามประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินกำหนดว่าต้องมีน้ำหนักลงเพลาไม่เกินเพลาละ 8,200 กิโลกรัม หรือน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 21,000 กิโลกรัม บรรทุกหินเกล็ดไปตามถนนอันเป็นทางหลวงแผ่นดินโดยมีน้ำหนักยานพาหนะน้ำหนักบรรทุกรวม 35,210กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่ากำหนดตามประกาศดังกล่าวไป 14,210 กิโลกรัมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายถึงองค์ประกอบแห่งความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษครบถ้วนแล้ว หาจำต้องบรรยายมาด้วยว่าอาจทำให้ทางหลวงเสียหายด้วยไม่ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้ยานพาหนะที่อาจทำให้ทางหลวงเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องฐานขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินตามประกาศคณะปฏิวัติ จำเป็นต้องบรรยายถึงองค์ประกอบความผิดเฉพาะที่ฟ้องหรือไม่
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 56 นั้น ผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดประการหนึ่ง และห้ามใช้ยานพานะที่อาจทำให้ทางหลวงเสียหายอีกประการหนึ่ง ดังนั้นเมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยขับรถยนต์ประเภทประกอบการขนส่งส่วนบุคคล มี 3 เพลา 6 ล้อ ชนิดเพลาที่ 2 ที่ 3 เป็นเพลาคู่ใช้ยางคู่ ซึ่งตามประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดินกำหนดว่าต้องมีน้ำหนักลงเพลาไม่เกินเพลาละ 8,200 กิโลกรัม หรือน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 21,000 กิโลกรัม บรรทุกหินเกล็ดไปตามถนน อันเป็นทางหลวงแผ่นดินโดยมีน้ำหนักยานพาหนะน้ำหนักบรรทุกรวม 35,210 กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่ากำหนดตามประกาศดังกล่าวไป 14,210 กิโลกรัม อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายถึงองค์ประกอบแห่งความผิดตามีที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษครบถ้วนแล้ว หาจำต้องบรรยายมาด้วยว่าอาจทำให้ทางหลวงเสียหายด้วยไม่ เพราะโจทก์มิได้ฟัองขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้ยานพาหนะที่อาจทำให้ทางหลวงเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน: ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจริบได้ แม้ประกาศฯ ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ไม่มีบทบัญญัติให้ริบรถยนต์ซึ่งบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำเอามาตรา 33 มาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 การสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เป็นดุลพินิจศาลหยิบยกพฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปประกอบคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งริบของกลางนั้นได้