คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 797

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 887 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายปิโตรเลียม: ความรับผิดของตัวแทนเมื่อลงลายมือชื่อเช็คในฐานะตัวแทนของตัวการ
สัญญาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมนั้นคู่สัญญาคือจำเลยที่1กับโจทก์เท่านั้นจำเลยที่3ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ด้วยเพียงแต่ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยที่1กำหนดเงื่อนไขการชำระราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่1สั่งซื้อจากโจทก์ว่าจำเลยที่1จะชำระเป็นเช็คและกำหนดตัวผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามของจำเลยที่1ได้คือจำเลยที่2หรือที่3และเช็คที่สั่งจ่ายต้องเป็นเช็คของธนาคารที่ระบุไว้ในข้อตกลงเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยที่3ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้ง15ฉบับตามฟ้องจำเลยที่3จึงกระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่1เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่3กระทำนอกขอบอำนาจในฐานะตัวแทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวการจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้นไม่มีข้อความในคำฟ้องที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่3รับผิดตามเช็คที่จำเลยที่3เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและเมื่อมีการชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ2เพียงว่าจำเลยทั้งสามซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมตามฟ้องแล้วค้างชำระราคาจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชำระค่าสินค้าและค่าปรับแก่โจทก์ดังฟ้องหรือไม่ดังนั้นปัญหาที่ว่าจำเลยที่3จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900หรือไม่จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนจำหน่าย: จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค หากกระทำภายในขอบอำนาจ
สัญญาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมนั้น คู่สัญญาคือจำเลยที่ 1กับโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ด้วย เพียงแต่ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขการชำระราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะชำระเป็นเช็คและกำหนดตัวผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามของจำเลยที่ 1 ได้ คือจำเลยที่ 2 หรือที่ 3 และเช็คที่สั่งจ่ายต้องเป็นเช็คของธนาคารที่ระบุไว้ในข้อตกลงเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้ง 15 ฉบับ ตามฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงกระทำไปในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 กระทำนอกเหนือขอบอำนาจในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น ไม่มีข้อความในคำฟ้องที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3รับผิดตามเช็คที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย และเมื่อมีการชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 2 เพียงว่า จำเลยทั้งสามซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมตามฟ้อง แล้วค้างชำระราคา จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชำระค่าสินค้าและค่าปรับแก่โจทก์ดังฟ้องหรือไม่ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 หรือไม่จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, การมีอำนาจฟ้อง, และการประเมินค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่ากรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ช. มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนโจทก์ในการฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธินั้นเพื่อเรียกร้องเอาแก่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่ได้มอบอำนาจให้ช.ฟ้องคดีรวมไปถึงคดีนี้ด้วยโดยแจ้งชัดแล้วช. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ จำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกชนท้ายรถสามล้อเครื่องเป็นเหตุให้รถสามล้อเครื่องกระเด็นไปชนรถยนต์ของบริษัทง. แล้วรถยนต์ดังกล่าวไปชนกับท้ายรถยนต์โดยสารดังนี้แม้เหตุเป็นเพราะลูกยางแม่ปั๊มเบรกแตกก็ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะหากจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์บรรทุกได้ตรวจตราและดูแลรถยนต์บรรทุกประจำตามวิสัยของผู้มีอาชีพขับรถยนต์ก็ย่อมป้องกันไม่ให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรกแตกโดยกะทันหันได้จำเลยที่3จึงกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของบริษัทง. ได้รับความเสียหาย จำเลยที่3เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่1และที่2ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นนายจ้างไปในทางการที่จ้างแล้วหลังจากนั้นแม้จำเลยที่3จะทุจริตขับรถยนต์ไปธุระส่วนตัวแล้วไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นก็ตามก็เป็นเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ชอบแต่ในกรณีบุคคลภายนอกถือว่าเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1และที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่3ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ, การร่วมกันจัดสรรที่ดิน, หน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่7808และ8282ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/9จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 ตามมาตรา193/12บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปการเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี2516และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23มิถุนายน2535คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้วโจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใดตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่1เมื่อวันที่20มีนาคม2535จำเลยที่1ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่2และที่3มีใจความว่าจำเลยที่1ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน2แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จึงขอให้จำเลยที่2และที่3ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไปซึ่งจำเลยที่2และที่3ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่1ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใดตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/24แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่อายยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยที่1ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่2และที่3และมีข้อตกลงให้จำเลยที่2และที่3เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรรแล้วจำเลยที่1จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่1ครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่2และที่3แล้วจำเลยที่2และที่3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อพฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ได้ร่วมกับจำเลยที่2และที่3จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่1กล่าวอ้างแต่อย่างใดจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่1มีจำเลยที่2และที่3ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่1ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจำเลยที่1ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่2และที่3ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อแต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่1ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริงจึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา118 ที่จำเลยที่2และที่3แก้ฎีกาว่าจำเลยที่1มิใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดีโจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดีเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งอายุความ, ความรับผิดร่วมในการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 7804 และ 8282 ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป การเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2516 และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2535 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใด ตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน 2 แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่ 1 ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา193/24 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ แต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่ 1 ว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริง จึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดี โจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดี เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10229/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มิได้ประทับตรา และการผูกพันตามสัญญาโดยกรรมการ การรับรองผลสัญญา และการส่งมอบหลักฐาน
แม้สัญญาเช่ามิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ก็ตามแต่ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้จดทะเบียนกำหนดให้ส.เป็นกรรมการลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ตามสัญญาเช่าก็มีข้อความไว้ชัดในตอนต้นแห่งสัญญาว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งกับบริษัทค. โดยส. กรรมการผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่งข้อความเช่นนี้แสดงชัดว่าส. ทำสัญญาในนามของโจทก์นั่นเองหาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ทั้งจำเลยก็ได้ยอมรับผลแห่งสัญญาตั้งแต่ต้นตลอดมาจำเลยต้องผูกพันตามสัญญาจะอ้างว่าสัญญาไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริงโจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีกฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมอบคดีเช็ค & ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค: การมอบอำนาจก่อนเกิดความผิด & ขอบเขตอำนาจ
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิด ผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม.แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังนั้นเมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับ ก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม.ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ทีมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค, การฟ้องคดีเช็ค และการพิสูจน์มูลหนี้ที่แท้จริง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิดผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม. แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม. ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลผูกพันแม้กรรมการผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลง การคิดดอกเบี้ยที่ไม่ตรงตามประกาศ ธปท. ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์โดยธ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจเมื่อวันที่1ตุลาคม2534ให้ว.ฟ้องคดีแทนโจทก์ต่อมาวันที่13ตุลาคม2535ธ. ได้ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ครั้นวันที่9กุมภาพันธ์2536ว.ได้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นโดยไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวดังนี้สัญญาตัวแทนที่โจทก์แต่งตั้งว. ให้ฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจนั้นยังคงมีผลผูกพันโจทก์และว. อยู่ตามกฎหมายหาได้ระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่ธ.ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ไม่เหตุดังกล่าวคงมีผลแต่เพียงว่าธ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นับแต่วันที่13ตุลาคม2535เท่านั้นส่วนกิจการอันได้กระทำไปแล้วหามีผลกระทบกระเทือนถึงไม่ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นหาได้สิ้นผลไปก่อนวันฟ้องไม่ ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาไม่ถูกต้องไม่ตรงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นแต่ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลผูกพันแม้ผู้มอบอำนาจพ้นจากตำแหน่ง คดีฟ้องร้องไม่กระทบเมื่อมอบอำนาจไว้ก่อน
โจทก์โดย ธ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534 ให้ ว.ฟ้องคดีแทนโจทก์ต่อมาวันที่ 13 ตุลาคม 2535 ธ.ได้ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ครั้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2536 ว.ได้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ดังนี้ สัญญาตัวแทนที่โจทก์แต่งตั้ง ว.ให้ฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจนั้นยังคงมีผลผูกพันโจทก์และ ว.อยู่ตามกฎหมาย หาได้ระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่ ธ.ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทโจทก์ไม่ เหตุดังกล่าวคงมีผลแต่เพียงว่า ธ.ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นับแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2535 เท่านั้น ส่วนกิจการอันได้กระทำไปแล้วหามีผลกระทบกระเทือนถึงไม่ ว.จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจฉบับนั้น หาได้สิ้นผลไปก่อนวันฟ้องไม่
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่า การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาไม่ถูกต้องไม่ตรงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น แต่ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 89