พบผลลัพธ์ทั้งหมด 887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดข้อมูลสุขภาพ และการเป็นตัวแทนประกันชีวิต
ช. เป็นตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย ไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 5 และมาตรา 71 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ ช. ได้ทราบหรือควรจะทราบข้อความจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่
ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยตัวแทนเชิดทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แม้ไม่มีตราบริษัท
ส. เป็นกรรมการมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยกระทำการแทนจำเลยได้ แม้ ส. ไม่ได้ประทับตราของจำเลย แต่หนังสือรับสภาพหนี้มีชื่อของจำเลยที่ด้านบนของกระดาษประกอบพฤติการณ์ของ ส. จึงถือว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย การที่ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ ถือเป็นการกระทำของจำเลย หนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความตอนหนึ่งว่า "...ขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันชำระค่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นรายเดือนต่อไป" จึงเป็นการกระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่า ยอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดของนิติบุคคล และอำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับล่าง
โจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งในระหว่างเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ว่าการ ส. จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่ น. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองกฎหมายอันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะ น. ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ส่วนคำสั่งของโจทก์เรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกองกฎหมายนั้น เป็นเพียงคำสั่งกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของโจทก์เท่านั้น การที่ น. มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางตามปกติ ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ส. ผู้ว่าการของโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดีกับจำเลยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 จึงต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071-2074/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจตัวแทนหลังผู้เป็นตัวการเสียชีวิต และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้สัญญาตัวแทนจะระงับไปเมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม ทนายผู้ร้องก็ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของผู้ร้องต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของผู้ร้องจะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์ของผู้ร้องโดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
ผู้ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของผู้ร้องจึงอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของผู้ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
ผู้ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของผู้ร้องจึงอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของผู้ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: อำนาจฟ้อง, สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว.ยื่นฟ้องต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ หาได้ระบุมอบอำนาจให้ ว.ฟ้องผู้คัดค้านเป็นการเฉพาะคดีแต่ประการใดไม่ ว.จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้รับมอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าผู้คัดค้านก็ได้มีคำชี้ขาดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อ 5 (1) โดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามความจำเป็นในการยกเลิกทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือโอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วแต่ผู้คัดค้านจะเลือก อันเป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาหรืองดเว้นจากการกระทำตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่ข้อพิพาทที่ไม่อาจระงับได้โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน ข้อ 31, 32 ได้กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไว้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านจึงต้องตระหนักและผูกพันตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับที่ใช้แก่คู่สัญญาทั่วไปที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกันโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศหรือสัญชาติของคู่สัญญา
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าผู้คัดค้านก็ได้มีคำชี้ขาดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อ 5 (1) โดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามความจำเป็นในการยกเลิกทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือโอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วแต่ผู้คัดค้านจะเลือก อันเป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาหรืองดเว้นจากการกระทำตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่ข้อพิพาทที่ไม่อาจระงับได้โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน ข้อ 31, 32 ได้กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไว้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านจึงต้องตระหนักและผูกพันตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับที่ใช้แก่คู่สัญญาทั่วไปที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกันโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศหรือสัญชาติของคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3093/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนช่วงในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและการใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ผู้ร้องมอบอำนาจให้ อ. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องโดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีจนกว่าจะถึงที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาและมีสิทธิมอบอำนาจให้ตัวแทนช่วงดำเนินการแทนได้ตามความจำเป็นทุกกรณีแห่งกิจการที่มอบหมาย ซึ่ง อ. ได้มอบอำนาจให้ น. เป็นตัวแทนช่วงยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง แม้ในหนังสือมอบอำนาจฉบับที่สองนี้จะระบุไว้แต่เพียงว่าให้ น. มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนโดยไม่มีข้อความว่า ให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาหนังสือมอบอำนาจทั้ง 2 ฉบับ รวมกันแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ น. มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด อันมีความหมายรวมถึงการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเองหรือแต่งตั้งทนายความให้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งตัวแทนต้องชัดเจน การรับมอบรถโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของ ไม่ถือเป็นการเป็นตัวแทน
การตั้งตัวแทนจะต้องมีการแต่งตั้งจากตัวการโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้มีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 797 บัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์แต่งตั้งจำเลยร่วมเป็นตัวแทน แต่จำเลยร่วมให้การว่าเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถคันที่ให้เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอก บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมทำไว้ต่อกันก็เป็นเพียงแต่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยร่วมครอบครองรถคันที่เช่าซื้อต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยร่วมไปดำเนินการ การที่จำเลยร่วมรับมอบรถคันที่เช่าซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการรับมอบในฐานะตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถให้แก่บุคคลภายนอก มิใช่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดส่งมอบรถคันพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมายเรียกจำเลยร่วมในฐานะตัวการ เมื่อจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนและมีสิทธิไล่เบี้ย
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท ช. และบริษัท ป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่ามูลหนี้ตามฟ้องที่เกิดจากการติดตั้งเต้าปูน และใส่ระบบลากจูงเป็นรถพ่วงเต้าปูนที่จำเลยทำกับโจทก์นั้น จำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทนของบริษัท ช. และบริษัท ป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อโจทก์ ดังนี้ คำร้องของจำเลยดังกล่าวย่อมเข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เนื่องจากเป็นอันเข้าใจว่า เป็นการขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีโดยอ้างว่า ถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามฟ้อง จำเลยในฐานะตัวแทนย่อมฟ้องบริษัท ช. และบริษัท ป. ซึ่งเป็นตัวการเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาทรัสต์รีซีท การคิดดอกเบี้ยสูงสุด และอายุความ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาทรัสต์รีซีทสืบเนื่องกับสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทพร้อมดอกเบี้ย และได้รับเอกสารจากโจทก์ไปก่อน เป็นเรื่องการให้สินเชื่อของโจทก์ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนั้นโดยตรง ส่วนที่ตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์ยังคงมีสิทธิในสินค้านั้น เป็นเพียงเงื่อนไขที่มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์บังคับชำระหนี้ได้โดยสะดวกเท่านั้น สัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้สินเชื่อของโจทก์และการได้รับชำระหนี้จากการให้สินเชื่อเป็นสำคัญ มิใช่สัญญาซึ่งโจทก์มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำสินค้าออกไปจำหน่ายแทนโจทก์อันจะมีผลให้สัญญาทรัสต์รีซีทระงับไปแล้วผูกพันกันตามสัญญาตัวการตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 รวม 2 ฉบับ และชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วตามที่มีการเรียกเก็บโดยตั๋วแลกเงินในสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับระบุกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนคือ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 และวันที่ 18 สิงหาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องให้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดขึ้นฉบับแรกนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฉบับที่สองนับแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2536 แต่โจทก์เรียกดอกเบี้ยมาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ดังนี้ แม้ตามคำให้การดังกล่าวจะระบุถึงตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ ดังกล่าวเท่านั้น และตามคำให้การดังกล่าวก็ระบุถึงวันเริ่มนับอายุความถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่า เป็นคำให้การที่ประสงค์จะยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยของต้นเงินที่เป็นหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ นี้นั่นเอง ถือว่ายกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ อันเป็นสัญญาที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำฟ้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้นั่นคือ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 และ 19 สิงหาคม 2536 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตลอดมา ซึ่งเกินกว่า 5 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เฉพาะส่วนที่นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไม่มีข้อสัญญาให้คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราสินเชื่อผิดนัดซึ่งมีอัตราสูงขึ้นกว่าอัตราสินเชื่อทั่วไป แต่โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตลอดมาซึ่งผิดจากข้อสัญญาอันเป็นการคิดดอกเบี้ยสูงเกินสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามสัญญาและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามคำฟ้อง ทั้งที่เป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องซึ่งทำให้จำเลยทั้งสามต้องชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระจริง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 รวม 2 ฉบับ และชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วตามที่มีการเรียกเก็บโดยตั๋วแลกเงินในสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับระบุกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนคือ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 และวันที่ 18 สิงหาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องให้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดขึ้นฉบับแรกนับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2536 ฉบับที่สองนับแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2536 แต่โจทก์เรียกดอกเบี้ยมาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ดังนี้ แม้ตามคำให้การดังกล่าวจะระบุถึงตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ ดังกล่าวเท่านั้น และตามคำให้การดังกล่าวก็ระบุถึงวันเริ่มนับอายุความถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ แสดงให้เห็นได้ว่า เป็นคำให้การที่ประสงค์จะยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยของต้นเงินที่เป็นหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ นี้นั่นเอง ถือว่ายกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
ตามสัญญาทรัสต์รีซีท 2 ฉบับ อันเป็นสัญญาที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำฟ้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้นั่นคือ วันที่ 17 มิถุนายน 2536 และ 19 สิงหาคม 2536 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตลอดมา ซึ่งเกินกว่า 5 ปี ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระเฉพาะส่วนที่เกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เฉพาะส่วนที่นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไม่มีข้อสัญญาให้คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราสินเชื่อผิดนัดซึ่งมีอัตราสูงขึ้นกว่าอัตราสินเชื่อทั่วไป แต่โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตลอดมาซึ่งผิดจากข้อสัญญาอันเป็นการคิดดอกเบี้ยสูงเกินสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามสัญญาและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามคำฟ้อง ทั้งที่เป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องซึ่งทำให้จำเลยทั้งสามต้องชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชำระจริง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นตัวแทนโดยปริยาย สัญญาจ้างเหมา การรับผิดในหนี้สัญญา และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวมิใช่เรื่องตัวแทนเชิดเพราะการตัวแทนเชิดนั้นตัวการไม่ปรารถนาที่จะผูกพันกับบุคคลภายนอกสำหรับการกระทำของตัวแทน