คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 797

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 887 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการรักษาพยาบาล และการกำหนดดอกเบี้ยมูลละเมิดที่เหมาะสม
การรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 9 ไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้าจำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทางอันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608,609 และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 9(7)การขนถ่ายผู้โดยสารของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิดจำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาลหรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากลักษณะบาดแผลกับวิธีการรักษาบาดแผลของโจทก์ที่ 1 ซึ่งต้องผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี ต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของบาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานานยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ที่ 1 ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวา ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ที่ 1ชอบจะเรียกร้องได้
โจทก์ที่ 2 ต้องออกจากงานมาดูแลโจทก์ที่ 1 โดยตลอด ซึ่งก็ต้องขวนขวายหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโจทก์ที่ 1 รวมทั้งการดำรงชีพของโจทก์ที่ 1 ตลอดมาในระหว่างดำเนินคดีจนถึงที่สุดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ในคดีละเมิด โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันละเมิดเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206 แต่โจทก์ที่ 1 ก็มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 9 เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(6) นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ การเยียวยาความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ รวมถึงค่าทดแทนความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 9 มีหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางตามที่ตกลงไว้กับผู้โดยสาร เมื่อไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้ เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้า จำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง อันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 608, 609 และ พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 (7) จำเลยที่ 9 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสารทางรถยนต์รับขนถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9 นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิด จำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาล หรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากสภาพทางร่างกายและอาการของโจทก์ ซึ่งต้อง ผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี และต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของ บาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต ทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวาดังนี้ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ที่โจทก์ชอบจะเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทน การกู้ยืมเงิน หุ้นส่วน และอำนาจฟ้องในคดีหุ้นส่วน
ธุรกิจซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 1ผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินการอยู่นั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 4 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 4เป็นผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารมาใช้ในการดำเนินงานของผู้เป็นหุ้นส่วนตามวัตถุประสงค์ จึงเป็นเรื่องที่คู่ความโต้เถียงกันว่าจำเลยที่ 4เป็นตัวแทนในการกู้เงินหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญากู้หรือสัญญาซื้อขายที่ดิน เช่นนี้ แม้การตั้งจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 จะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลบังคับ
โจทก์ที่ 1 เป็นตัวการเข้าทำสัญญาหุ้นส่วนกับฝ่ายจำเลยโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเท่านั้น มิได้เข้าเป็นคู่สัญญาหุ้นส่วนกับฝ่ายจำเลยด้วย การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จัดกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่ถูกต้อง และให้จำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางแปลงอันทำให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1เท่านั้น หาได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 2จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง: จำเลยร่วมผู้สั่งซื้อจริงมีหน้าที่ชำระหนี้
จำเลยทั้งสองว่าจ้างจำเลยร่วมให้ทำถนนลาดยางในโครงการบ้านสวนนำโชคของจำเลยทั้งสอง โดยมีข้อตกลงให้จำเลยร่วมเป็นผู้จัดหาเครื่องจักร เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เอง เมื่อ ก. ซึ่งเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยร่วมให้มีอำนาจดำเนินการใด ๆ แทนจำเลยร่วมได้นำ ส. ไปสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยแนะนำว่า ส. เป็นผู้จัดการโครงการของจำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองให้มาติดต่อซื้อสินค้าของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยทั้งสองมอบหมายให้ ส. มาติดต่อซื้อจริงและส่งสินค้าไปให้จำเลยทั้งสองยังสถานที่ก่อสร้างตามโครงการ โดยมี ส. ร่วมลงชื่อเป็นผู้รับมอบสินค้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ ส. มาซื้อสินค้าจากโจทก์ มีเพียง ก. ตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในงานทำถนนเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีชื่อ ส. เป็นผู้สั่งซื้อ แต่ก็เนื่องมาจากการที่ ส. กับ ก. คุ้นเคยกันและ ก. เป็นผู้แนะนำว่า ส. เป็นผู้จัดการโครงการดังกล่าว โจทก์จึงไม่เคร่งครัดที่จะให้คนใดคนหนึ่งสั่งซื้อและลงชื่อในใบวางบิล/ส่งของ การที่ ส. ลงชื่อในใบวางบิล/ส่งของ หรือลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อขายและสนองรับ การผูกพันตามสัญญาซื้อขาย และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบ เพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าโดยใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ การลงชื่อในเอกสารถือเป็นการสนองรับซื้อ สัญญาผูกพันจำเลยในฐานะตัวแทน
การที่โจทก์ส่งใบโปรฟอร์มาอินวอยซ์ไปถึงจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดของสินค้าราคาและวิธีการชำระหนี้ ย่อมเป็นคำเสนอขายสินค้าเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้ซื้อในเอกสารดังกล่าวแล้วส่งคืนให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาสนองรับซื้อแทนจำเลยที่ 1 สัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกรายนี้จึงเกิดขึ้นมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ยอมรับรู้ให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การค้าขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1มุ่งเอาการที่จำเลยที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก่อนจึงจะถือว่าการซื้อขายสำเร็จไปแต่ละรายการ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายทุกรายการไม่ชอบเพราะโจทก์ยังนำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ในคำฟ้อง จำเลยที่ 1 อ้างขึ้นลอย ๆ ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ โดยมิได้ยกเหตุผลใด ๆ มาประกอบข้ออ้างเลยว่า โจทก์นำสืบอย่างไรจึงถือว่านำสืบไม่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดิน-ภาษีธุรกิจเฉพาะ: แม้เป็นตัวแทนแต่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงาน ทำให้ต้องรับผิดชอบภาษี
แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดิน แต่ในการเสียภาษี จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานของโจทก์โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันการชำระนี้ แสดงว่าตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบเลยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่ได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อนจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานของครูโรงเรียนเอกชน และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ทั้งห้าและจำเลยต่างเป็นเอกชน ได้ตกลงกันโดยจำเลยตกลงรับโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอน และจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ทั้งห้าตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 3 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์ทั้งห้าเป็นครูตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอม หรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ก่อน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดย พ. เป็นผู้ลงนาม เป็นการทำการแทน อ.ผู้รับใบอนุญาตและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนได้ทำไปในขอบอำนาจตามมาตรา 820 ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษครูได้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนคือผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้รับใบอนุญาต การที่ พ. เป็นผู้ลงนามในคำสั่งเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้อ้างข้อเท็จจริงมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยบรรจุโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานวันใด ห่างจากวันที่โจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานกี่วัน และศาลแรงงานกลางคิดคำนวณค่าชดเชยผิดพลาดเท่าใด ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน แม้มีระเบียบ รร.เอกชน
โจทก์จำเลยต่างเป็นเอกชน จำเลยตกลงรับโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอนและจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากเหตุละเมิด: พิจารณาจากวันที่ผู้อำนวยการทราบเหตุและตัวผู้รับผิด และข้อยกเว้นการรับผิดตามสัญญาประกันภัย
พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฯ มาตรา 38 กำหนดให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำการในนาม ขององค์การโทรศัพท์ฯ และเป็นตัวแทนขององค์การโทรศัพท์ฯ ดังนั้น วันที่ถือว่าโจทก์ทราบคือวันที่ผู้อำนวยการรู้ถึง การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เว้นแต่ผู้อำนวยการจะตั้งตัวแทนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ การที่ บ. หัวหน้าหน่วยบำรุงรักษาซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์สินของโจทก์มอบอำนาจให้ ค. ไปแจ้งความ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติเท่านั้น มิใช่เป็นผู้กระทำแทนผู้อำนวยการของโจทก์เฉพาะเรื่องตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะตัวการตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 อันถือว่ากิจการทุกประการที่ บ. กระทำไปเป็นการกระทำของผู้อำนวยการของโจทก์ เมื่อผู้อำนวยการของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจาก บ. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2538 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนได้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยระบุความรับผิดต่อบุคคลภายนอกใน ความเสียหายแก่ทรัพย์สินว่าผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดส่วนแรก 10,000 บาท ต่อครั้ง/ทุกครั้ง จึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดเสียก่อน
of 89