พบผลลัพธ์ทั้งหมด 887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อส่งมอบคืนเจ้าของ: ไม่ถือเป็นการมีไว้เพื่อจำหน่าย
จำเลย(พวกของสายลับ)ไปซื้อเฮโรอีนของกลางจากผู้ขายแทนสายลับตามที่สายลับร้องขอ โดยจำเลยไม่ได้รับผลประโยชน์จากการนี้ เฮโรอีนของกลางจึงเป็นของสายลับผู้ซื้อที่แท้จริงตั้งแต่แรก มิใช่เป็นของจำเลย การที่จำเลยนำเฮโรอีนของกลางไปเพื่อมอบให้สายลับจึงเป็นการส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงมิใช่จำเลยให้เฮโรอีนแก่สายลับ จึงมิใช่จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การที่จำเลยครอบครองเฮโรอีนของกลางไว้แทนผู้อื่นนั้น แม้การครอบครองแทนก็คือการครอบครองลักษณะหนึ่งซึ่งอาจมีผลต่อทางกฎหมายส่วนแพ่งก็ตามแต่ในส่วนกฎหมายอาญาหาได้มีบทบัญญัติก่อให้เกิดผลต่างเป็นข้อจำกัดความรับผิดหรือเป็นข้อยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 และ 67 ไม่
การที่จำเลยครอบครองเฮโรอีนของกลางไว้แทนผู้อื่นนั้น แม้การครอบครองแทนก็คือการครอบครองลักษณะหนึ่งซึ่งอาจมีผลต่อทางกฎหมายส่วนแพ่งก็ตามแต่ในส่วนกฎหมายอาญาหาได้มีบทบัญญัติก่อให้เกิดผลต่างเป็นข้อจำกัดความรับผิดหรือเป็นข้อยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 และ 67 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อส่งมอบคืนเจ้าของ ไม่ถือเป็นความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่าย
จำเลย(พวกของสายลับ) ไปซื้อเฮโรอีนของกลางจากผู้ขายแทน สายลับตามที่สายลับร้องขอ โดยจำเลยไม่ได้รับผลประโยชน์จากการนี้ เฮโรอีนของกลางจึงเป็นของสายลับผู้ซื้อที่แท้จริงตั้งแต่แรก มิใช่เป็นของจำเลย การที่จำเลยนำเฮโรอีนของกลางไปเพื่อมอบให้ สายลับจึงเป็นการส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงมิใช่จำเลยให้เฮโรอีนแก่สายลับ จึงมิใช่จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย การที่จำเลยครอบครองเฮโรอีนของกลางไว้แทนผู้อื่นนั้นแม้การครอบครองแทนก็คือการครอบครองลักษณะหนึ่งซึ่งอาจมีผล ต่อทางกฎหมายส่วนแพ่งก็ตามแต่ในส่วนกฎหมายอาญาหาได้มีบทบัญญัติ ก่อให้เกิดผลต่างเป็นข้อจำกัดความรับผิดหรือเป็นข้อยกเว้นโทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 และ 67 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อส่งมอบให้ผู้อื่น ไม่ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
จำเลยซึ่งเป็นพวกของสายลับไปซื้อเฮโรอีนของกลางจากผู้ขายแทนสายลับตามที่สายลับร้องขอ โดยจำเลยไม่ได้รับ ผลประโยชน์จากการนี้เฮโรอีนของกลางจึงเป็นของสายลับ ผู้ซื้อที่แท้จริงตั้งแต่แรก มิใช่เป็นของจำเลยการที่จำเลยนำ เฮโรอีนของกลางไปเพื่อมอบให้สายลับจึงเป็นการส่งมอบ คืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง มิใช่จำเลยให้เฮโรอีนแก่สายลับจำเลยจึงมิได้มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่จำเลยครอบครองเฮโรอีนของกลางไว้แทนผู้อื่นนั้นแม้การครอบครองแทนก็คือการครอบครองลักษณะหนึ่งซึ่งอาจมีผลทางกฎหมายส่วนแพ่งก็ตาม แต่ในส่วนกฎหมายอาญาหาได้มีบทบัญญัติก่อให้เกิดผลต่างเป็นข้อจำกัดความรับผิดหรือเป็นข้อยกเว้นโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 และ 67 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและตัวการจากการดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้า
จำเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจำเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังทำหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่าที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจำเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจำเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการด้วย
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อในการอนุมัติถอนเงินจากบัญชีลูกค้า และพนักงานฉ้อโกง ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เพื่อเป็นผลงาน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบหาลูกค้าให้ ธนาคารจำเลยที่ 1 ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมกับขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็นถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อของใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจติดตามค่าทดแทนที่ดินและการกระทำนอกเหนืออำนาจของกรรมการจำเลย
เจ้าอาวาสของวัดจำเลยที่ 1 เพียงแต่มอบอำนาจให้ อ.ไปติดต่อเรียกร้องเงินค่าผาติกรรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจนเสร็จเรื่องเท่านั้น โดยไม่มีข้อตกลงที่ว่าจะให้เงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อการนั้นแก่ อ. เลย ส่วนเอกสารข้อตกลงว่าจะให้เงินค่าตอบแทนแก่ อ. นั้น เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ตามเอกสารดังกล่าวคงมีแต่จำเลยที่ 3 และที่ 4ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 แม้จะมีข้อความระบุว่าเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการติดตาม เรื่องที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ถูกเวนคืนจนแล้วเสร็จนั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือ มอบอำนาจให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 อีกทั้งเจ้าอาวาส ของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยเห็นและไม่เคยทราบเรื่องข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าว และไม่เคยแจ้งให้จำเลยที่ 4 ไปดำเนินการ เรียกค่าตอบแทนดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากมีมติของ มหาเถรสมาคมซึ่งมีขึ้นตั้งแต่ปี 2507 ว่า เงินค่าผาติกรรม ไม่สามารถนำไปใช้จ่ายในการใดได้ นอกจากจะนำผลประโยชน์ ของเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายได้เท่านั้น และมติดังกล่าวปัจจุบัน ก็ยังใช้บังคับอยู่ เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้ หรือได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ผูกพัน และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 2 แม้มีตำแหน่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 แต่ก็มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมตกลงที่จะให้เงิน ค่าตอบแทนแก่ อ. ตามข้อตกลงดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 นั้น แม้ว่าจะลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกข้อตกลง ตามเอกสารดังกล่าวแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปในฐานะ ที่เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น อ. ย่อมทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ใช่เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 และ เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้หรือให้สัตยาบันแก่ การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยปราศจาก อำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย สำหรับจำเลยที่ 5 นั้น แม้จะมีตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการฝ่ายฆราวาสของกองจัดการรายได้ และผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่ได้ร่วมลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวด้วย อีกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน จำเลยทั้งห้ามีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมายแม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวมา ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาตัวแทน: ใช้มาตรา 164 ไม่ใช่ 165(7)
จำเลยที่ 1 แต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตามมาตรา 816 วรรคหนึ่งซึ่งในกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องใช้อายุความสิบปี ตามมาตรา 164(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองจากจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 165(7)(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสและการซื้อขายที่ดิน: สิทธิของคู่สมรสและผลของการซื้อขาย
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทแทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบ การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง
โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือสินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา โจทก์ที่ 1จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิมนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4 บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้
คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็นคู่ความด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือสินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา โจทก์ที่ 1จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิมนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4 บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้
คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็นคู่ความด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน สินสมรส และการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโดยผู้จัดการสินสมรส
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท แทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือ สินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หาโจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิม นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้ จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้ คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวน ไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็น คู่ความด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการจัดสรรที่ดินและการมีอำนาจฟ้องของผู้เยาว์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป. และ ย. ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลงแล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป. และ ย. จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออก อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ตามข้อ 1 ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่งและข้อ 32 ส่วนการที่ ป. และ ย. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาท จึงเป็นทางภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากป.และย.จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภารจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภารจำยอมได้