พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างจากการทำงานแม้ไม่มีสัญญาจ้าง และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความ
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลย และจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ ครั้นโจทก์อุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน
แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ ครั้นโจทก์อุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ แม้ไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง แต่ได้ประโยชน์จากผลงาน มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามสมควร อายุความต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: เจ้าหนี้ต้องส่งคำบังคับให้ลูกหนี้โดยตรง แม้กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอก
การบังคับคดีตามคำพิพากษาโจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เท่านั้นแม้ผลแห่งคำพิพากษาจะได้วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)ก็ตามเมื่อผู้คัดค้านมิใช่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์จึงไม่ชอบที่โจทก์จะขอให้ศาลส่งคำบังคับให้แก่ผู้คัดค้านอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา272ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการส่งคำบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีตามคำพิพากษา โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เท่านั้น แม้ผลแห่งคำพิพากษาจะได้วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา145 วรรคสอง (2) ก็ตาม เมื่อผู้คัดค้านมิใช่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์จึงไม่ชอบที่โจทก์จะขอให้ศาลส่งคำบังคับให้แก่ผู้คัดค้านอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติป.วิ.พ. มาตรา 272 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6849/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขโฉนดที่ดินที่ไม่ชอบ กรมที่ดินมีหน้าที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อกรมที่ดินจำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในการเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากไม่อาจเพิกถอนได้ ผู้ที่จะใช้ราคาที่ดินคือจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ถูกพิพากษาให้ต้องรับผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ในการรังวัดที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานรังวัดที่ดิน และการเสนอความเห็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดรังวัดที่ดินต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินไม่ว่าโจทก์จะได้ไปชี้แนวเขตหรือไม่ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำตามระเบียบว่าด้วยการรังวัดหรือไม่ก็ตาม ในเมื่อมีการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดิน เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ได้รับที่ดินเพิ่มขึ้นและทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นของจำเลยที่ 1การจดทะเบียนที่ได้ทำไปจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 4 ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง ศาลจึงพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 4 ทำการเพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวได้ และไม่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้นำชี้แนวเขตที่ดินหรือไม่ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำตามระเบียบว่าด้วยการรังวัดหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6849/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่ดินที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้รับผิดชอบการจดทะเบียนต้องเพิกถอนให้ถูกต้อง
เมื่อกรมที่ดินจำเลยที่4จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในการเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดของจำเลยที่1ซึ่งหากไม่อาจเพิกถอนได้ผู้ที่จะใช้ราคาที่ดินคือจำเลยที่1ส่วนจำเลยที่2และที่3มิได้ถูกพิพากษาให้ต้องรับผิดเมื่อเป็นเช่นนี้ในการรังวัดที่ดินของจำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานรังวัดที่ดินและการเสนอความเห็นของจำเลยที่3ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดรังวัดที่ดินต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินไม่ว่าโจทก์จะได้ไปชี้แนวเขตหรือไม่และจำเลยที่2และที่3ได้กระทำตามระเบียบว่าด้วยการรังวัดหรือไม่ก็ตามในเมื่อมีการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่1ได้รับที่ดินเพิ่มขึ้นและทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นของจำเลยที่1การจดทะเบียนที่ได้ทำไปจึงเป็นการไม่ชอบจำเลยที่4ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเนื้อที่และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้องศาลจึงพิพากษาบังคับให้จำเลยที่4ทำการเพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวได้และไม่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้นำชึ้แนวเขตที่ดินหรือไม่และจำเลยที่2และที่3ได้กระทำตามระเบียบว่าด้วยการรังวัดหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรลูกตะกร้อพลาสติก: ละเมิดหรือไม่พิจารณาที่ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่กรรมวิธีการผลิต
สิทธิบัตรที่โจทก์ร่วมได้รับเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลูกตระกร้อพลาสติกไม่ใช่การประดิษฐ์ที่ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ การวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ผลิตรายใดจะเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมหรือไม่ จะต้องพิจารณาที่ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก มิใช่พิจารณาที่กรรมวิธีการผลิต ดังนั้นไม่ว่าผู้ผลิตรายใดซึ่งผลิตตะกร้อพลาสติกจะพัฒนาวิธีการสานตะกร้อพลาสติกให้ดีกว่าหรือต่างไปจากวิธีการสานของโจทก์ร่วมเพียงใดก็ตามหากลูกตะกร้อพลาสติกที่ผลิตออกมามีรูปทรงรูปร่างลักษณะเหมือนกับของโจทก์ร่วมแล้ว ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตโดยละเมิดข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญาในการพิจารณาคดีแพ่ง
คดีก่อนโจทก์แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาบุกรุกที่พิพาทพนักงานอัยการฟ้องจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลย คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นมะพร้าวและขนำในที่ดินพิพาทดังกล่าวทำให้โจทก์เสียประโยชน์จากการใช้ที่ดินขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อในคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีดังกล่าว ดังนั้นการพิพากษาคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาพิพากษา
คดีก่อนโจทก์แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาบุกรุกที่พิพาทพนักงานอัยการฟ้องจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลย คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นมะพร้าวและขนำในที่ดินพิพาทดังกล่าวทำให้โจทก์เสียประโยชน์จากการใช้ที่ดินขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อในคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีดังกล่าว ดังนั้นการพิพากษาคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังเลิกสัญญา และการแบ่งแยกความรับผิดตามสัญญา
โจทก์ผู้รับจ้างฟ้องเรียกเงินตามสัญญาก่อสร้างต่อเติมอาคารจากจำเลยเป็น 2 คดี คดีแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5ตามสัญญาก่อสร้างต่อเติมอาคาร เอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2ตามบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมรายการก่อสร้างเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์ เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ผิดสัญญาในงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 แต่คดีนี้โจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 3ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวดเป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อได้เลิกทำงานกันไปก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือมีความรับผิดในส่วนใด โจทก์ย่อมฟ้องส่วนที่จำเลยรับผิดได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)