พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประวิงคดี: ศาลชอบธรรมที่ไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเมื่อจำเลยมีพฤติการณ์ฉะเชิงเทียน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก วันที่ 12 มิถุนายน 2530 ถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุทนายจำเลยป่วย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2530 ซึ่งจำเลยก็นำพยานมาสืบปากเดียวและเลื่อนไปสืบพยานจำเลยวันที่ 3 และ 24 กันยายน 2530วันดังกล่าวจำเลยนำพยานมาสืบวันละหนึ่งปาก และศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยวันที่ 5 และ 19 พฤศจิกายน 2530 วันที่ 5 พฤศจิกายน2530 จำเลยมีพยานมาสืบ 1 ปาก และเลื่อนไปสืบพยานวันที่ 19 พฤศจิกายน2530 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนโดยกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จโดยไม่ให้เลื่อนคดีอีกถึงวันนัดจำเลยขอเลื่อนอ้างเหตุพยานป่วยเช่นนี้พฤติการณ์จำเลยแสดงว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดี, พยานเบิกความ, และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าอาคารของวัด จ.ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารดังกล่าวให้โจทก์ ซึ่งผู้ให้เช่ายินยอมด้วย และตกลงทำสัญญาเช่าดังกล่าวให้โจทก์ หลังจากโจทก์ได้ทำสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าแล้ว จำเลยหาได้ส่งมอบอาคารดังกล่าวให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินพร้อมส่งมอบอาคารดังกล่าว ให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยและชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ข้อความที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้นั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานมาสืบในชั้นพิจารณา ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก เมื่อถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลย ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2530จำเลยนำพยานมาสืบเพียงปากเดียว ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 3 และ 24 กันยายน 2530 ซึ่งจำเลยนำพยานมาสืบเพียงวันละ 1 ปาก ศาลชั้นต้นให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 5และ 19 พฤศจิกายน 2530 จำเลยมีพยานมาสืบในวันที่ 5 พฤศจิกายน2530 เพียงปากเดียว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานที่เหลือในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2530 โดยกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จเมื่อถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าพยานป่วยกระทันหันเป็นโรคท้องร่วงอย่างแรง โดยมิได้ส่งใบรับรองแพทย์ต่อศาล ดังนี้ พฤติการณ์ในการดำเนินคดีดังกล่าวของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานชอบแล้ว นางสาวก.เป็นพยานคู่กับโจทก์ซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ร่วมกันแต่เบิกความคนละวันกัน เป็นไปตามกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและทนายจำเลยได้ถามค้านพยานปากนี้แล้ว จำเลยจึงไม่เสียเปรียบเมื่อศาลเห็นว่าคำเบิกความของนางสาวก.เป็นที่เชื่อถือได้ก็ชอบที่จะรับฟังคำเบิกความของนางสาวก.ได้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารบางฉบับ โจทก์เพียงใช้ประกอบคำเบิกความของพยาน มิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดีและเอกสารบางฉบับจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารนั้นแล้ว แม้โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวต่อศาลหรือมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลย ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุก: นายจ้างต้องรับผิดต่อการกระทำของลูกจ้างหากรู้เห็นเป็นใจกับการบรรทุกน้ำหนักเกิน
คดีเดิมโจทก์มิได้อ้างบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ริบทรัพย์ของกลาง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษาให้ริบของกลางเมื่อคดีเดิมไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดศาลต้องบังคับคดีไปตามนั้น ผู้ร้องมาขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้จะมาโต้แย้งในชั้นนี้ว่า คำพิพากษาในคดีเดิมที่ให้ริบทรัพย์ของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, การเลิกสัญญา, การคืนสภาพเดิม
การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยกำหนดวันที่จำเลยผู้จะขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อไว้ แต่เมื่อถึงกำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทวงถามให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยก็รับเงินค่าที่ดินจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีก โจทก์จำเลยปล่อยล่วงเวลามานานเช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเอาเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคาที่ดินที่ค้าง โดยกำหนดเวลาตามสมควรแล้วโจทก์ไม่ไปตามนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และสัญญาเป็นอันเลิกกันตามที่จำเลยบอกกล่าว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินให้แก่จำเลย และจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำแต่ต้องคืนค่าที่ดินที่ได้รับล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกา: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจ
คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ก่อนมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้องนี้ แต่เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง แม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริตก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ศาลบังคับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยมาก่อนที่จำเลยจะซื้อที่ดินมาจาก ม. แม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ไม่รู้ว่าที่ดินนั้นตกอยู่ในภารจำยอม จำเลยก็ยกการรับโอนโดยสุจริตเพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ต้องสิ้นไปหาได้ไม่ ในชั้นพิจารณาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน พ.เป็นพยานโจทก์ไว้แล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถนำ พ.มาเบิกความได้โดยแถลงว่าโจทก์ขออ้างคำเบิกความของ พ.ในชั้นที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวมาเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย จำเลยไม่ได้คัดค้าน ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ พ.ดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 บัญญัติว่า เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองนั้น ย่อมหมายความรวมถึงว่าโจทก์ทั้งหกชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ทั้งหกประการหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตจากเจ้าของเดิม โจทก์มีสิทธิแค่เรียกค่าใช้ที่ดิน
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของมารดาโจทก์และบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน มีบ้านปลูกอยู่ 6 หลัง รวมทั้งบ้านโจทก์และบ้านจำเลยต่อมาโจทก์ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกของบิดาจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าว แล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแบ่งที่ดินกันฝ่ายละครึ่ง เมื่อมีการรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกโฉนดปรากฏว่าบ้านของจำเลยที่ปลูกสร้างมากว่า 50 ปีแล้ว อยู่ในเขตที่ดินโจทก์ประมาณ 18 ตารางวา เช่นนี้ กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับ โดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งคือมาตรา 1312วรรคหนึ่ง เมื่อบ้านของจำเลยปลูกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยเจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกสร้าง มิใช่จำเลยปลูกสร้าง ทั้งโจทก์และจำเลยต่างรับโอนที่ดินและบ้านอีกทอดหนึ่ง ถือได้ว่าการรุกล้ำเป็นมาโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านรุกล้ำ คงมีสิทธิเรียกค่าใช้ที่ดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นัดหยุดงานปิดกั้นโรงงาน ก่อความวุ่นวายและความรุนแรง ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยกับพวกอีกประมาณ 200 คน โดยจำเลยเป็นหัวหน้าสั่งการได้ร่วมกันนัดหยุดงานปิดกั้นทางเข้าออกของโรงงาน ทำให้คนงานไม่สามารถเข้าหรือออกจากโรงงานได้ จนกระทั่งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นโดยการปะทะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานกับลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอันเนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ทำงานออกจากโรงงาน และมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย เหตุเกิดริมถนนสาธารณะอันเป็นที่สัญจรของบุคคลทั่วไป การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายฯ จากการนัดหยุดงานรุนแรงและปิดกั้นทางเข้าออก
จำเลยกับพวกอีกประมาณ 200 คน โดยจำเลยเป็นหัวหน้าสั่งการได้ร่วมกันนัดหยุดงานปิดกั้นทางเข้าออกของโรงงานทำให้คนงานไม่สามารถเข้าหรือออกจากโรงงานได้จนกระทั่งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นโดยการปะทะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่หยุดงานกับลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอันเนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ทำงานออกจากโรงงาน และมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย เหตุเกิดริมถนนสาธารณะ อันเป็นที่สัญจรของบุคคลทั่วไป การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมายและการกระทำที่เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำและสั่งการในการนัดหยุดงานของลูกจ้างประมาณ 300 คน การนัดหยุดงานดังกล่าวมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่เพื่อต่อรองบีบบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน เมื่อปรากฏว่า มีการปะทะและทำร้ายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานมีการปิดประตูทางเข้าออกโรงงานเพื่อมิให้ลูกจ้างส่วนหนึ่งที่ประสงค์จะเข้าทำงานเข้าออกได้ มีการขว้างปาวัตถุก้อนหินก้อนอิฐเข้าไปในโรงงาน เหตุเกิดริมถนนสาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง