พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1923/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงทำลายเอกสารราชการโดยมีพิรุธจากพฤติการณ์และการถูกฟ้องคดีก่อนหน้า
วันเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลาใกล้ชิดกับเหตุเพลิงไหม้ จำเลยเป็นคนสุดท้ายที่เปิดประตูเข้าไปในสำนักงานที่ดิน โดยเข้าออกหลังเลิกงานซึ่งมีการปิดประตูหน้าต่างเรียบร้อยแล้วและเป็นเวลาก่อนเกิดเหตุไม่นาน ก่อนเกิดเหตุจำเลยถูกราษฎรฟ้องคดีอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการออก น.ส.3 ทับที่ดินผู้อื่น จำเลยย่อมต้องได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติหน้าที่อันเกี่ยวกับการมีอยู่ของเอกสารบางฉบับซึ่งอยู่ในความครอบครองของทางราชการ นับแต่จำเลยถูกฟ้องเป็นต้นมาจำเลยมีพฤติการณ์เข้าไปมีส่วนได้เสียกับแผนที่ระวาง ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวข้องกับการออก น.ส.3 การเผาทำลายเอกสารครั้งนี้ย่อมเล็งเห็นเจตนาของผู้กระทำได้ว่ามุ่งหมายจะทำลายเอกสารทั้งหมด เพื่อไม่ต้องการให้เอกสารฉบับใดฉบับหนึ่ง ใช้เป็นพยานหลักฐานยันตนในการกระทำอันฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ประกอบกับพฤติการณ์ของจำเลยที่เข้าไปในสำนักงานที่ดินเป็นคนสุดท้ายก่อนเกิดเพลิงไหม้ไม่นาน แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้วางเพลิง แต่จากพยานแวดล้อมกรณีมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้วางเพลิงเผาทรัพย์รายนี้เป็นเหตุให้ ส.ค.1 ประมาณ 30 แฟ้มและเพดานห้องบางส่วนบนอาคารสำนักงานที่ดินได้รับความเสียหาย จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีบุกรุกที่ดินสาธารณะหลังประกาศคณะปฏิวัติ การไม่จำเป็นต้องบรรยายองค์ความผิดตามมาตรา 108
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2522 ถึงวันที่ 18 เมษายน 2531จำเลยทั้งสองได้บุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ วันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดนั้นเป็นเวลาหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ใช้บังคับแล้ว โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ดังนั้นโจทก์จึงหาจำต้องบรรยายฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบพนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เพราะข้อความดังกล่าวบัญญัติไว้เป็นองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 อันเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบบี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด. เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัท ฟ. ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก. และต่อมาบริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล๎มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้น เมื่อบริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่ แม้บริษัท ด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใดเพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์และอำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิให้ผู้อื่น
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัทด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียว เป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อปปี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท ชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น บริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก.และต่อมา บริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้นเมื่อ บริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก.ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำสืบพยานที่รู้เห็นตั้งแต่ต้นในชั้นฎีกาถือเป็นความบกพร่องของจำเลย ศาลไม่รับฟังพยานเพิ่มเติม
พยานที่จำเลยจะขอสืบในชั้นฎีกาเป็นพยานที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นผู้รู้เห็น อาจนำมาสืบได้แต่ตอนต้นเมื่อไม่นำมาสืบในตอนนั้นนับได้ว่าเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ถ้าให้จำเลยนำสืบได้ก็จะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่าย จึงไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยนำสืบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงโทษตามกฎหมายเช็คใหม่: โทษเบากว่าต้องใช้บังคับกับจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 บังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497และตามกฎหมายใหม่ มาตรา 4 กำหนดโทษผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีโทษเบากว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 500,000 บาทนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษปรับจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่มีโทษเบากว่าในคดีเช็ค โดยใช้หลักกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 บังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497และตามกฎหมายใหม่ มาตรา 4 กำหนดโทษผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีโทษเบากว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1เป็นเงิน 500,000 บาท นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษปรับจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาทั้งหมดประกอบกัน ไม่ถือเพียงบางส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่น จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกัน แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DUNLOPILLO" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DELIGHTPILLO"ของจำเลยเป็นอักษรโรมันด้วยกัน มีลักษณะลีลาการเขียนคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลย ประกอบด้วยอักษรโรมัน 12 ตัว อยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ตรงเหลี่ยมประดิษฐ์ให้เป็นรูปมน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย แม้ต่างออกเสียงเป็นสี่พยางค์ โดยออกเสียงพยางค์ท้ายตรงกันว่า "พิลโล" ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสองพยางค์แรกอ่านออกเสียงต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์สองพยางค์แรกอ่านออกเสียงว่า "ดันล๊อป" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "ดีไลท์" ซึ่งเมื่ออ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสี่พยางค์รวมกันแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ลำพังแต่อักษรตัวแรกในแต่ละพยางค์ ประกอบด้วยอักษรตัวเดียวกันไม่อาจทำให้หลงผิดแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าคำว่า "D" ของโจทก์ เป็นอักษรโรมันตัวเดียวอยู่ในวงกลมซึ่งมีลูกศรชี้ไปทางขวามือ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "D.R." ของจำเลยเป็นอักษรโรมัน 2 ตัว อยู่ในวงกลม หลังอักษรแต่ละตัวมีเครื่องหมายจุด (.) รูปรอยประดิษฐ์อักษรตัวดีมีลักษณะลีลาการเขียนที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยหลังชำระค่าซ่อมรถยนต์ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ
โจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยนำรถของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยที่ถูกรถของฝ่ายจำเลยชนเสียหายไปให้อู่ซ่อมจนเสร็จ และโจทก์ที่ 1มอบรถให้โจทก์ที่ 2 รับไปเรียบร้อยแล้ว ความเสียหายที่โจทก์ที่ 2เจ้าของรถได้รับคือรถของตนบุบสลายเสียหายเพราะถูกฝ่ายจำเลยชนเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้สั่งให้อู่จัดการซ่อมและอู่ทำการซ่อมเสร็จเรียบร้อยจนกระทั่งส่งมอบให้โจทก์ที่ 2 รับไปแล้ว ดังนั้นโจทก์ที่ 1ก็ต้องมีความผูกพันที่จะต้องใช้ราคาซ่อมให้แก่อู่ตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ถือว่าโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ผู้ทำการซ่อม โจทก์ที่ 1จึงรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่มีต่อฝ่ายจำเลยแล้ว