พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังเลิกสัญญา: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องเรียกค่าก่อสร้างแต่ละงวดเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วนๆ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าว โดยยังไม่ได้เลิกสัญญาต่อกัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 3 ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวดเป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของเงินค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อเลิกทำงานกันก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือความรับผิดในส่วนใดโจทก์ย่อมฟ้องส่วนนั้นได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าก่อสร้างเป็นงวดๆ หลังเลิกสัญญายังสามารถทำได้ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าว โดยยังไม่ได้เลิกสัญญาต่อกัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมายจ.4 และงานงวดที่ 3 ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวด เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของเงินค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อเลิกทำงานกันก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือความ-รับผิดในส่วนใด โจทก์ย่อมฟ้องส่วนนั้นได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กรณีทับที่สาธารณประโยชน์ และการฟ้องร้อง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการ-จังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 (75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลและการกระทำของผู้แทน: กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70(75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคล: ผู้ว่าฯ เป็นผู้แทนกระทำการ
แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยแต่จังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยสภาพแล้วไม่สามารถกระทำการด้วยตนเองได้ เว้นแต่จะกระทำโดยทางผู้แทนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามจึงเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ในการแสดงเจตนาแทน คำสั่งของ ส. ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์จึงเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แม้ประเด็นที่พิพาทคู่ความได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเสียเองได้แต่เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลพิพากษาตามสัดส่วนการครอบครอง ไม่เกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์อยู่ 6 ใน 12 ส่วน จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ฟ้องแย้งเข้ามาเพื่อขอแบ่งส่วนของตน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์และจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและต่างได้ครอบครองเป็นสัดส่วน ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัดส่วนที่แต่ละฝ่ายครอบครองได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณะ: ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้เป็นที่สาธารณะ
แม้ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ แต่เมื่อโจทก์เข้าครอบครองและปลูกพืชไร่อยู่ก่อน จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเข้าไปไถพืชไร่ที่โจทก์ปลูกไว้ โจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสี่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณะ: ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้ที่ดินเป็นสาธารณะ
โจทก์เข้าครอบครองและปลูกพืชไร่ในที่พิพาทอันเป็นที่สาธารณะประชาชนใช้ทำประโยชน์ร่วมกันอยู่ก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยเมื่อจำเลยเข้าไปไถพืชไร่ที่โจทก์ปลูกไว้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยเข้ารบกวนการครอบครองที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ที่ดินยังไม่จดทะเบียน: ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับ
จำเลยทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดโดยเสน่หาแก่โจทก์โดยจะนำไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินภายในกำหนด 7 วัน แต่เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นส่วนและกิจการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการใหม่
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายทำสัญญาซื้อขายกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลย โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ต้องไปจดทะเบียนโอนส่วนของผู้ตายให้กับจำเลยและแต่งตั้งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนผู้ตาย จำเลยจึงจะหยิบยกข้ออ้างดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ เพราะเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจจะเลิกกันหรือหุ้นส่วนอาจตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินต่อไปโดยให้ผู้อื่นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือให้ผู้อื่นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนผู้ตายก็ได้ มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนให้จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับโอนกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายไปแล้ว จำเลยจึงต้องชำระเงินตามสัญญาซื้อขายกิจการที่ค้างชำระให้แก่โจทก์