คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประยูร มูลศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ศาลพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิดและกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
การสอบสวนดำเนินคดีนิติบุคคลจำต้องสอบสวนผ่านทางกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 แม้ไม่ได้ระบุแจ้งชัดว่าได้แจ้งข้อหาและสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ด้วยก็ถือว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว เมื่อจำเลยทำการดัดแปลงอาคารหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22มิใช่เป็นความผิดตามมาตรา 31 ที่เป็นเรื่องการดัดแปลงภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต แต่กระทำผิดไปจากแบบรายการที่ได้รับอนุญาต แม้แบบคำสั่งท้ายกฎกระทรวงจะกำหนดให้มีคำว่า "ตราส่วนราชการ"ไว้ และคำสั่งที่เจ้าพนักงานใช้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสองไม่ปรากฏตราส่วนราชการแต่คำสั่งดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนทุกรายการให้จำเลยทั้งสองทราบและเข้าใจคำสั่งแล้ว จึงไม่ทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบในฐานะเป็นหุ้นส่วนกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำความผิด แสดงว่าได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิด เพราะการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องสอบสวนดำเนินคดีผ่านทางกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 แล้ว
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญา: ผลของการไม่โต้แย้งการกระทำผิดในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิด แต่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นคดีที่ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ข้อที่ว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อจำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดจึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยฉ้อฉลและความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อ
โจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกับ อ.และเป็นมารดาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ อ. โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจาก อ. จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีบ้านอยู่ในที่พิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า อ.ไม่ยินยอมจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับส่วนแบ่งเงินจากการขาย เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของ อ. จึงฟังว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือรู้เห็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายที่พิพาทอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่โจทก์มิได้สอบถาม อ.เมื่อพบกัน และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทักท้วงเกี่ยวกับลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจโจทก์ยังรับรองลายมือชื่อ อ.ทั้งที่ไม่เคยเห็น โจทก์จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายแพ้คดีต้องรับผิดเพียงใดหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาการก่อสร้าง: การต่อเชื่อมสายไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, ค่าปรับ, และดอกเบี้ย
สัญญาจ้างมีข้อความระบุว่าบันทึกการนำชี้สถานที่ก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในบันทึกก็ต้องผูกพันตามนั้น การที่โจทก์ต่อเชื่อมสายไฟฟ้าจากสายประธานเข้าสู่อาคารตามกำหนดในบันทึกต่อท้ายสัญญาจ้างย่อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้าง จำเลยหาจำต้องชำระค่าใช้จ่ายในการต่อเชื่อมสายไฟฟ้าแก่โจทก์อีกต่างหากไม่ เมื่อฟังได้ว่างานต่อเชื่อมสายไฟฟ้าเป็นงานส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง แต่โจทก์ส่งมอบงานส่วนนี้ล่าช้าจำเลยจึงมีสิทธิคิดหักเบี้ยปรับจากค่าจ้างที่ต้องชำระแก่โจทก์ได้นับแต่วันครบกำหนดสัญญาการที่จำเลยมีหนังสือเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัญญาหาใช่เป็นการขยายอายุสัญญาจ้างออกไปอีกไม่ เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายกำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ เมื่อจำเลยต้องคืนเบี้ยปรับแก่โจทก์จำเลยหาจำต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับจากวันที่จำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ไม่เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อมีการหักเงินค่าปรับไว้แล้ว
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าปรับจากค่าจ้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อศาลลดค่าปรับ
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาจ้างโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์ โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงิน ค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้ เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้าง ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่ จำเลยจะกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเอกสารสำคัญเพื่อการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188
จำเลยเอาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ซึ่งเป็นของโจทก์ร่วมไปจากโจทก์ร่วม แล้วนำไปดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเอาเอกสารของโจทก์ร่วมไปโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 แม้จำเลยมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนศาลฎีกาเห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย แต่ให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และผลของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อความรับผิดตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวน โดยมีว. พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลยเมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน ช. สารวัตรใหญ่ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในคดีนั้นซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็หาเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายประกันพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายประกัน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาประกัน ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินสมควรนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
of 14