พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอม และการเสียค่าฤชาธรรมเนียมที่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิจารณาชี้ขาดได้เลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษเป็นการพ้นเวลานัด โจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด เพราะให้ทนายโจทก์ไปยังสำนักงานที่ดินก่อน และตัวโจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดโอนที่ดิน-ค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา12 นาฬิกาเศษ เป็นการพ้นเวลานัดโจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดและประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชนในชั้นอุทธรณ์: อำนาจวินิจฉัยของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ เป็นการพ้นเวลานัด โจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด เพราะให้ทนายโจทก์ไปยังสำนักงานที่ดินก่อน และตัวโจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้-อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้-อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ที่ดินราคาต่ำกว่าเกณฑ์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทราคาเพียง 8,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องสิทธิครอบครองมีทุนทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้เป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อที่พิพาทมีราคาเพียง8,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาท ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยรับมอบการครอบครองจากเจ้าของเดิมและได้เข้าทำประโยชน์ต่อมา โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาทใช้ยันจำเลยได้และมีอำนาจฟ้องคดีนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีสิทธิครอบครอง: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 8,000 บาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทราคาเพียง 8,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากละเมิด: เริ่มนับเมื่อรู้ตัวผู้ทำละเมิดและรู้ถึงความเสียหาย
คณะกรรมการได้ทำการสอบสวนและสรุปผลการสอบสวนเสนออธิบดีกรมการแพทย์เมื่อปลายเดือนเมษายน 2528 ว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต้องถือว่ากรมการแพทย์โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน2528 แม้อธิบดีกรมการแพทย์จะยังไม่ได้พิจารณาเรื่องราวตามสำนวนการสอบสวนในวันดังกล่าว แต่ได้ลงนามในรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2528 ก็หามีผลทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2529 จึงเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้ตัวผู้รับผิดทางแพ่ง: เริ่มเมื่อรายงานสอบสวนแจ้งผล ไม่ใช่เมื่อลงนามในคำสั่ง
การที่อธิบดีของกรมโจทก์มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง ก็เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อคณะกรรมการสอบสวนรายงานให้อธิบดีของโจทก์วันใดว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซึ่งจะต้องรับผิดในทางแพ่งก็ต้องถือเอาวันนั้นเป็นวันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้อธิบดีของโจทก์จะยังไม่ได้พิจารณาเรื่องราวตามสำนวนการสอบสวนในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่อธิบดีของโจทก์ลงนามในรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งในภายหลัง หามีผลทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: รู้ตัวผู้กระทำละเมิดเมื่อใด
การที่อธิบดีของกรมโจทก์มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง ก็เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อคณะกรรมการสอบสวนรายงานให้อธิบดีของกรมโจทก์วันใดว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซึ่งจะต้องรับผิดในทางแพ่งก็ต้องถือเอาวันนั้นเป็นวันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้อธิบดีของกรมโจทก์จะยังไม่ได้พิจารณาเรื่องราวตามสำนวนการสอบสวนในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่อธิบดีของกรมโจทก์ลงนามในรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งในภายหลัง หามีผลทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การในชั้นสอบสวนและชั้นศาลที่ขัดแย้งกัน ศาลฎีกาพิจารณาจากเหตุผลและความน่าเชื่อถือ
พยานโจทก์ทั้งสองปากเคยให้การในชั้นสอบสวนว่าจำคนร้ายได้เมื่อจับจำเลยที่ 1 ได้ พยานโจทก์ทั้งสองก็ชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้าย คำให้การพยานโจทก์ทั้งสองตลอดจนถึงการชี้ตัวคนร้ายในชั้นสอบสวน แม้ว่าเป็นเพียงพยานบอกเล่าเรื่องราวต่อพนักงานสอบสวนซึ่งลำพังพยานบอกเล่าเช่นนี้ไม่สามารถจะนำมาฟังลงโทษจำเลยที่ 1ได้ก็ตาม แต่เมื่อนำคำให้การพยานโจทก์ทั้งสองดังกล่าวและพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนมารับฟังประกอบกับคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นศาลแล้วมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังเชื่อถือได้ว่าเป็นความจริงการที่พยานโจทก์ทั้งสองกลับเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลว่าคนร้ายคล้ายจำเลยที่ 1 จึงมีพฤติการณ์ว่าเป็นการเบิกความบ่ายเบี่ยงไปอย่างขัดต่อเหตุผล ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสองจำคนร้ายคือจำเลยที่ 1 ได้