คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประยูร มูลศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบถึงการโอนทรัพย์สินผ่านผู้รับมอบหมาย
เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท. สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้โจทก์ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ.เป็นผู้ไปสืบหา เมื่อ อ. ไปสืบและทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร การที่อ.ทราบก็ต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบ และสำนักงานกฎหมาย ท.ต้องรายงานให้โจทก์ทราบเพียงแต่อ. ทราบมิได้ถือว่าโจทก์ทราบด้วย เพราะ อ. มีหน้าที่เพียงแต่สืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลย เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปอ. มีหน้าที่เพียงแต่จะต้องรายงานต่อไปตามลำดับจนถึงตัวโจทก์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2530 ถือว่าโจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลวันที่ 8 มิถุนายน 2531 ยังไม่พ้น 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบการโอนทรัพย์ผ่านตัวแทน
โจทก์ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท.สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ. ไปดำเนินการการที่ อ. สืบทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบความดังกล่าวด้วยเพราะ อ. มีหน้าที่เพียงสืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปซึ่งเมื่อ อ.ทราบต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบเพื่อรายงานต่อไปยังโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฏว่า อ. ได้ทราบเรื่องการทำนิติกรรมโอนทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 แต่โจทก์ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2530กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันที่ 8 มิถุนายน2531 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดิน
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56บัญญัติให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อนายอำเภอและประธาน คชก.ตำบล ผ่านนายอำเภอ โดยปลัดอำเภอซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คชก.ตำบล เป็นผู้รับหนังสือก็ตาม เมื่อปรากฏว่าประธาน คชก.ตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก.ตำบลโดยตรง การยื่นผ่านบุคคลอื่นถือเป็นโมฆะ ทำให้คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลมีผลผูกพัน
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56บัญญัติให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล การที่จำเลยที่ 1ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อนายอำเภอและประธาน คชก.ตำบลผ่านนายอำเภอ โดยปลัดอำเภอซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คชก.ตำบลเป็นผู้รับหนังสือก็ตาม เมื่อปรากฏว่าประธาน คชก.ตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล จึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก. หากไม่ถึงประธาน ถือว่าไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยเป็นที่สุด
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) จะต้องยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่คณะกรรมการฯ ได้มีคำวินิจฉัย เมื่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเมื่อไม่มีเดินสะพัด แม้ตกลงเบิกต่อได้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือน แต่คู่กรณีมีการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนครบกำหนดดังกล่าว หลังจากนั้น มีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญาประกอบกับหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีก แสดงว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามสัญญาแม้จะมีข้อตกลงกันว่า เมื่อครบกำหนด 12 เดือน ไม่มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่กรณีตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ6 เดือน ตลอดไป ก็หาทำให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งสิ้นสุดไปแล้วกลับมีผลเป็นการต่ออายุสัญญาไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันครบกำหนดตามสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยผู้แทนโจทก์: การยึดยังชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ไม่ได้ดำเนินการเอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บทใด บังคับว่าหากโจทก์ไม่นำยึดหรือผู้ที่นำยึดมิใช่ผู้แทนโจทก์แล้ว จะทำให้การยึดนั้นเป็นอันเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์, โต้แย้งดุลพินิจ, และประเด็นใหม่นอกเหนือคำอุทธรณ์เดิม
การที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกาว่า การนำสืบของผู้คัดค้านยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทภายในเส้นสีเขียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก มีผลเป็นการยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 ไปด้วย เมื่อผู้ร้องที่ 2 ไม่อุทธรณ์ได้แต่แก้อุทธรณ์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ดังนั้น ประเด็นในเรื่องที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องที่ 2 หรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องที่ 2 ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาว่าสิทธิในการเป็นทายาทผู้รับมรดกของผู้ร้องที่ 2 ยังคงมีอยู่ต่อไปนั้น เป็นฎีกาในข้อที่นอกเหนือไปจากประเด็นในคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันด้วยเอกสารปลอม: จำเลย 2 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว แม้หนังสือมอบอำนาจเป็นเท็จ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำหนังสือมอบอำนาจปลอมว่าจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว เพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและยินยอมให้จำเลยที่ 2 ประกันตัวผู้ต้องหาไป หลังจากนั้นจำเลยที่ 2ได้ไปขอผัดส่งตัวผู้ต้องหากับโจทก์หลายครั้ง โดยเป็นที่ตระหนักดีแก่จำเลยที่ 2 ว่าตนเองมิได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินไขว้สับและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรงกับผู้ครอบครอง
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามต่างรับโอนที่ดินที่มีโฉนดไขว้สับกัน และต่างฝ่ายต่างครอบครองที่ดินที่ตนรับโอนมาเกินกว่า10 ปี ดังนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงต่างได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับโอนและครอบครองมาแม้จำเลยทั้งสามจะมีชื่อในโฉนดที่ดินที่โจทก์ครอบครอง ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยทั้งสามมิได้มีเจตนารับโอนไม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดโดยแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้
of 14