คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประยูร มูลศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่แสดงเป็นสัญญาซื้อขาย ศาลยกฟ้องเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ซึ่งมีหนังสือหลักฐานการรับเงินขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงิน นิติกรรมการซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคแรก เดิม (มาตรา 155 วรรคแรกใหม่) และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคสอง เดิม (มาตรา 155วรรคสองใหม่) และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าหนังสือหลักฐานการรับเงินขายรถยนต์เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน จำเลยให้การต่อสู้ว่า ความจริงเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินกัน เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ ย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญาซื้อขาย ศาลต้องบังคับตามนิติกรรมที่แท้จริง
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันแต่ทำหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์มอบให้โจทก์เป็นหลักฐานนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงินและตกเป็นโมฆะ ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา155 วรรคสอง แม้จะต้องถือว่าหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์ใช้บังคับเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน โจทก์ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า จำเลยต้องถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ"อายิโนะมิโชะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"บีจือซู"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า "บีซู"ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส"และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ชู" กับ คำว่า"โมะโต๊ะ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลาง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ" เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู"เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ"กับคำว่า"โมะโต๊ะ"ตัวอักษรญี่ปุ่นคำว่า"โนะ"มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วย แต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด: สิทธิในเครื่องหมายการค้าลำดับก่อนมีน้ำหนักกว่า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ "อายิโนะมิโซะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "บีจือซู" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า"บีซู" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส" และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ซู" กับ คำว่า "โมะโต๊ะ"และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลางแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ"เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู" เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ" กับคำว่า"โมะโต๊ะ" ตัวอักษรญี่ปุนคำว่า "โนะ" มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์ จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วยแต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษคดีประมาท ผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ พิจารณาจากเหตุผลประกอบหลายประการ
การรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กฎหมายให้ศาลพิจารณาหลายเหตุ แม้เหตุที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เป็นเหตุหนึ่งที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจว่าสมควรรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีนี้ จำเลยกระทำผิดโดยประมาท มิได้เกิดจากเจตนาร้าย จำเลยมีอาชีพรับราชการเป็นอาจารย์ 1 ระดับ 4 มีฐานะที่จะเลี้ยงตัวและบุตรให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีเป็นเหตุอันสมควรที่จะรอการลงโทษจำเลยไว้ เมื่อมีเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวเพียงพอที่จะพิจารณารอการลงโทษให้จำเลยแล้ว คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์ร่วมที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่อีกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองจากการข่มขืน: การกระทำพอสมควรแก่เหตุ
ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนข่มขู่จำเลยเข้าไปในโรงแรมที่เกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้ปลุกปล้ำจำเลย จำเลยต่อสู้ปัดป้อง แต่สู้ไม่ได้เพราะผู้เสียหายเป็นชายมีรูปร่างสูงใหญ่ จำเลยจึงหลอกให้ผู้เสียหายวางอาวุธปืนโดยแกล้งทำเป็นสมยอม เมื่อผู้เสียหายวางอาวุธปืนไว้ที่โต๊ะข้างเตียงและถอดเสื้อผ้าออกแล้วเดินกลับขึ้นเตียง จำเลยจึงพลิกตัวไปหยิบอาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณทรวงอก แต่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราจำเลย อันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อให้ตนเองพ้นจากอันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและจำเลยได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวจากการข่มขืนกระทำชำเรา: การกระทำพอสมควรแก่เหตุ
ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนข่มขู่จำเลยเข้าไปในโรงแรมที่เกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้ปลุกปล้ำจำเลย จำเลยต่อสู้ปัดป้อง แต่สู้ไม่ได้เพราะผู้เสียหายเป็นชายมีรูปร่างสูงใหญ่ จำเลยจึงหลอกให้ผู้เสียหายวางอาวุธปืนโดยแกล้งทำเป็นสมยอม เมื่อผู้เสียหายวางอาวุธปืนไว้ที่โต๊ะข้างเตียงและถอดเสื้อผ้าออกแล้วเดินกลับขึ้นเตียง จำเลยจึงพลิกตัวไปหยิบอาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณทรวงอก แต่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราจำเลย อันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อให้ตนเองพ้นจากอันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และจำเลยได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ให้กู้ควบคุมวงเงิน-จำกัดความรับผิดชอบจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
โจทก์สั่งซื้อบุหรี่จากโรงงานยาสูบโดยจำเลยออกหนังสือรับรองการจ่ายค่าบุหรี่ และทดรองจ่ายเงินค่าบุหรี่แต่ละงวดไปก่อนแล้วหักจากบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ภายหลังเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นจำนวนเงินสูง จำเลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ดุลพินิจควบคุมยอดหนี้เงินกู้ของโจทก์ให้เป็นไปตามที่จำเลยเห็นสมควรตามสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในฐานะผู้ให้กู้การที่จำเลยแจ้งไปยังโรงงานยาสูบขอยกเลิกวงเงินทดรองจ่ายค่าบุหรี่ก็เพื่อควบคุมจำนวนเงินกู้ของโจทก์ ไม่จำต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ เพราะเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับโรงงานยาสูบการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานจำเลยจากเจตนาประวิงคดีและการขาดนัดยื่นคำให้การ
เหตุตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ว่า ทนายจำเลยติดธุระต้องเดินทางไปศาลจังหวัดอื่นเพื่อยื่นคำให้การในคดีแพ่งเรื่องอื่นซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การในวันนั้นพร้อมกับสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีดังกล่าวด้วย มิใช่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ จำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การหลังจากทราบว่าถูกฟ้องแล้วเกือบ1 ปี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ แต่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเบิกความเนื่องจากไม่มีทนายความซักถาม ทั้งที่ข้อเท็จจริงต่าง ๆในคดีจำเลยย่อมทราบดี และสามารถเบิกความตามความเป็นจริงได้ตามรูปคดีแม้มีทนายซักถามก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งงดสืบพยานจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, เจตนาประวิงคดี, สิทธิในการเบิกความ, การงดสืบพยาน
เหตุตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ว่า ทนายจำเลยติดธุระต้องเดินทางไปศาลจังหวัดอื่นเพื่อยื่นคำให้การในคดีแพ่งเรื่องอื่นซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การในวันนั้นพร้อมกับสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีดังกล่าวด้วย มิใช่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้
จำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การหลังจากทราบว่าถูกฟ้องแล้วเกือบ1 ปี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ แต่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเบิกความเนื่องจากไม่มีทนายความซักถาม ทั้งที่ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในคดีจำเลยย่อมทราบดี และสามารถเบิกความตามความเป็นจริงได้ ตามรูปคดีแม้มีทนายซักถามก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งงดสืบพยานจำเลยได้
of 14