คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประยูร มูลศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยสำคัญผิดเกินกว่าเหตุ: การกระทำเมื่อสำคัญผิดว่าถูกทำร้าย แม้ผู้ตายไม่มีอาวุธ
ขณะที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายนั้นเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากที่ พ.ชกจำเลยล้มลงแล้ว ผู้ตายก้มตัวจะดึงจำเลยขึ้น แต่จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายจะเข้ามาทำร้ายจำเลย ซึ่งหากมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจริง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อป้องกันตนได้แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายกับพวกซึ่งเป็นเครือญาติกับจำเลยเองไม่มีผู้ใดมีอาวุธและตามพฤติการณ์ไม่มีเหตุผลใดที่ฝ่ายผู้ตายจะรุมทำร้ายจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยสำคัญผิดและเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยสำคัญผิดเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตนเอง แม้มีเหตุให้ป้องกันได้แต่พฤติการณ์ไม่สมเหตุสมผล
ขณะที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายนั้นเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจาก ที่ พ.ชกจำเลยล้มลงแล้ว ผู้ตายก้มตัวจะดึงจำเลยขึ้น แต่จำเลย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะเข้ามาทำร้ายจำเลย ซึ่งหากมีเหตุการณ์เช่นนั้น เกิดขึ้นจริง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อป้องกันตนได้ แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายกับพวกซึ่งเป็นเครือญาติ กับจำเลยเองไม่มีผู้ใดมีอาวุธและตามพฤติการณ์ไม่มีเหตุผลใด ที่ฝ่ายผู้ตายจะรุมทำร้ายจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกัน โดยสำคัญผิดและเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการใช้ต่อเนื่องโดยบริษัทใหม่
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขายใบชาซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียนไว้มาประกอบกิจการค้าใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในรูปของบริษัทจำเลย ตลอดจนการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับใบชาของบริษัทจำเลยในลักษณะที่แสดงว่าบริษัทจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังปรากฎที่กล่องบรรจุใบชา นั้น ถือได้ว่าบิดาโจทก์ได้สละสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยยอมให้เป็นทรัพย์สินของบริษัทจำเลยแล้วตั้งแต่ขณะบิดาโจทก์เลิกประกอบการค้าใบชาเป็นการส่วนตัวมาประกอบการค้าใบชาในรูปบริษัทจำเลยโดยมีตนเป็นกรรมการผู้จัดการ แม้หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทจะปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โดยบิดาโจทก์ยังมิได้ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้จำเลยเพื่อให้สมบูรณ์ตามมาตรา33 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อไป การที่ปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตามหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีผลเพียงเท่ากับบิดาโจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเท่านั้น เมื่อต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท การที่ ว. และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าพิพาท จึงมีผลเป็นเพียงการถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าใบชาที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ.2494 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยทำการค้าขายใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์และย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์ยื่นจดทะเบียนต่ออายุดังกล่าวได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้า: การเลิกกิจการส่วนตัวแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทถือเป็นการสละสิทธิ
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขาย ใบชา ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียน ไว้ มา ประกอบกิจการ ค้า ใบชา โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน รูป ของ บริษัท จำเลยตลอดจน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท กับ ใบชาของ บริษัท จำเลย ใน ลักษณะ ที่ แสดง ว่า บริษัท จำเลยเป็น เจ้าของ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวดังปรากฏ ที่ กล่อง บรรจุ ใบชา นั้น ถือ ได้ ว่า บิดา โจทก์ได้ สละ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท โดย ยอม ให้เป็น ทรัพย์สิน ของ บริษัท จำเลย แล้ว ตั้งแต่ ขณะ บิดา โจทก์เลิก ประกอบการค้า ใบชา เป็น การ ส่วนตัว มา ประกอบการค้าใบชา ใน รูป บริษัท จำเลย โดย มี ตน เป็น กรรมการผู้จัดการแม้ หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาทจะ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวโดย บิดา โจทก์ ยัง มิได้ ไป จดทะเบียน โอน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น ให้ จำเลย เพื่อ ให้ สมบูรณ์ ตาม มาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่ง ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะนั้น ก็ตาม แต่ ก็ ถือ ไม่ได้ ว่า บิดา โจทก์ ยังคง เป็น เจ้าของสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อไปการ ที่ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามี ผล เพียง เท่ากับ บิดา โจทก์ เป็น ผู้ถือสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ไว้ แทน จำเลย เท่านั้น เมื่อ ต่อมา บิดา โจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท จึงไม่เป็น ทรัพย์ ยืม มรดก ที่ ตกทอด แก่ ทายาท การ ที่ ว.และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ไป ขอ จดทะเบียน ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า พิพาท จึง มี ผล เป็น เพียง การ ถือ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ไว้แทน จำเลย เช่นเดียวกันเมื่อ จำเลย เป็น ผู้ มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ใบชาที่ จำเลย ผลิต ออก จำหน่าย ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ เคย ทำ การค้าขาย ใบชา โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท แต่อย่างใดจำเลย จึง มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่าโจทก์ และ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้ เสีย ที่ จะ ร้อง ขอ ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่ง เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาท ที่ โจทก์ ยื่น จดทะเบียน ต่อ อายุ ดังกล่าว ได้ ตามมาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการศึกษาต่อต่างประเทศ แม้ทุนไม่ผ่านโจทก์ ก็ผูกพันจำเลยหากมีเจตนาให้กลับมาใช้ทุน
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆรวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษา ต่อนั้นจำเลยที่ 1 ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่าง ที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนโจทก์ ฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุน และค่าใช้จ่าย ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญา ว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั่น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลง อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรม และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชอบค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้อง อันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเหรียญสหรัฐเมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษาและข้อผูกพันชดใช้คืน: ความรับผิดเมื่อผิดสัญญา
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆ รวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษาก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษาต่อนั้นจำเลยที่ 1ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้ เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1ต้องชดใช้คืนโจทก์ในฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาไปศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญาว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั้น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลงอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้ ให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้องอันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง
จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญา: การลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้องถือเป็นข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 จำนวน 3 ห่อ หนัก 4,825 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17,69 เป็นการบรรยายฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เว้นแต่ได้รับอนุญาต"ซึ่งการมีฝิ่นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าฝิ่นดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 วรรคสอง ซึ่งมีโทษตามมาตรา 69 วรรคสี่ หนักกว่าโทษตามมาตรา 69 วรรคสองดังนั้นแม้โจทก์จะนำสืบได้ว่า ฝิ่นที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมก็ตามศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 วรรคสี่ ซึ่งเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของบริษัทขนส่งต่อความเสียหายต่อผู้โดยสารและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ
โจทก์ทั้งสามและ ร.ผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาของโจทก์ที่ 1 และเป็นมารดาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 โดยสาร รถยนต์ ของจำเลยที่ 1 ไปเกิดเหตุพลิกคว่ำลงข้างทางทำให้ทรัพย์สิน ของโจทก์ที่ 1 คือ นาฬิกาข้อมือ รองเท้า สร้อยคอทองคำ พร้อมพระเลี่ยมทอง แว่นตาและทรัพย์สินของ ร. คือ รองเท้า นาฬิกาข้อมือ สร้อยทองคำสูญหายไป การที่ทรัพย์สิน ของโจทก์ที่ 1 และ ร. สูญหายไปขณะเกิดเหตุ ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของคนขับรถของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าทรัพย์สินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.เวนคืนมีผลบังคับใช้ แม้มี พ.ร.บ.เวนคืนฉบับใหม่
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เพิ่มขึ้น โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 เพื่อสร้างทางพิเศษ สายดาวคะนอง - ท่าเรือ มีผลใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ท้ายฟ้อง และตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมาตรา 3ให้ พ.ร.ฎ.มีอายุห้าปี แม้ภายหลังจากครบห้าปีได้มีการตรา พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2530 ก็ตาม แต่ก็เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 นั้นเอง และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมาตั้งแต่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528โดยอ้างเหตุตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มิได้อ้างเหตุตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530 ซึ่งออกภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดเชยค่าเวนคืนที่ดิน: สิทธิได้รับดอกเบี้ยจากวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ แม้มีการออก พ.ร.บ.เวนคืนภายหลัง
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เพิ่มขึ้น โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2525เพื่อสร้างทางพิเศษ สายดาวคะนอง-ท่าเรือ มีผลใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ท้ายฟ้องและตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาตรา 3 ให้พระราชกฤษฎีกามีอายุห้าปี แม้ภายหลังจากครบห้าปีได้มีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2530 ก็ตาม แต่ก็เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2525 นั้นเองและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมาตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528 โดยอ้างเหตุตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ มิได้อ้างเหตุตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือ ในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530ซึ่งออกภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ตอนท้าย
of 14