คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย สุขพรหม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งสินค้าสูญหาย: การแบ่งแยกความรับผิดของแต่ละทอด
จำเลยที่1มีหน้าที่แจ้งให้ผู้รับสินค้าปลายทางทราบถึงการที่เรือมาถึงจำเลยที่2ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยที่1เพื่อให้จำเลยที่1ไปติดต่อผู้รับใบตราส่งเท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้าจากเรือไปยังสถานที่เก็บหรือการเปิดตู้สินค้าถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่3เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือและมอบให้จำเลยที่2โดยจำเลยที่2เป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์แล้วขนสินค้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าจำเลยที่2และที่3จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งหลายคนหลายทอดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมและการสูญหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งให้ผู้รับสินค้าปลายทางทราบถึงการที่เรือมาถึง จำเลยที่ 2 ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1ไปติดต่อผู้รับใบตราส่งเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้าจากเรือไปยังสถานที่เก็บหรือการเปิดตู้สินค้า จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ร่วมทำการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือและมอบให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์แล้วขนสินค้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือฯ และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งหลายคนหลายทอด ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำค่าใช้จ่ายอีก10 เปอร์เซ็นต์รวมเข้าเป็นค่าเสียหายด้วยไม่ถูกต้อง ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามใบตราส่งปรากฏชัดว่าสินค้ามีรวมทั้งหมด 5 หีบห่อ และได้มีการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าสินค้าสูญหายไป 4 หีบห่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สินค้าสูญหายไประหว่างการขนส่งของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอและคำรับสารภาพเกิดจากถูกขู่เข็ญ ศาลยกฟ้องคดีอาญา ฐานสงสัยว่าจำเลยกระทำผิด
โจทก์มีประจักษ์พยานมาเบิกความเป็นพยาน4ปากแต่มีบิดาผู้ตายเพียงปากเดียวที่ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายส่วนพยานนอกนั้นจำคนร้ายไม่ได้แต่คำเบิกความของบิดาผู้ตายขัดกับคำให้การในชั้นสอบสวนที่ระบุว่าไม่เห็นเหตุการณ์ขณะคนร้ายยิงผู้ตายอีกทั้งคำให้การในชั้นสอบสวนของพยานอื่นก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นพิรุธยิ่งกว่าที่เบิกความในชั้นศาลประกอบกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสองในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นคำรับสารภาพที่ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจใช้ยันจำเลยทั้งสองไม่ได้พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเช็คพิพาทโดยทายาทตามพินัยกรรม และการหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา918ประกอบมาตรา989ช. เป็นผู้จัดการมรดกของก.ตามคำสั่งศาลก.ทำพินัยกรรมต่อหน้าช.น.และย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้างและคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่าก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วเมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจากก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กันจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งแต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทโดยผู้จัดการมรดกแก่ทายาทตามพินัยกรรม และผลของการนำสืบต่อสู้ข้อต่อสู้อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงเช็คก่อนกับผู้ทรงคนปัจจุบัน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๘ ประกอบมาตรา ๙๘๙ ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช. น. และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดก หลังจาก ช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้ว ช.ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่ จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๖
จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาททางมรดก ผู้รับมรดกมีสิทธิเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบธรรม แม้มีการอ้างหักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ช. เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ตามคำสั่งศาล ก.ทำพินัยกรรมต่อหน้า ช.น.และ ย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้าง และคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่า ก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่า ก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจาก ก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผยและสงบ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ว. ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ว. จึงได้สิทธิภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ว. ย่อมได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความในที่พิพาทด้วย ฎีกาของจำเลยที่ว่า ว. โอนขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ส.เมื่อปี2524และว.ซื้อคืนมาในปี2528ว.ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันไม่ถึง10 ปี จึงไม่ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ ข้อปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ ศาลชั้นต้นมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9517/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินเฉพาะส่วน (กันสาด) โดยสุจริต ไม่ต้องรื้อถอน และประเด็นการรังวัดที่ไม่กระทบสาระคดี
บริษัท ร.ได้ก่อสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมกับที่ดิน โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 40724 เนื้อที่ 28 ตารางวา พร้อมกับอาคารตึกแถวเลขที่1535/83 ส่วนจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 40722 เนื้อที่ 17 ตารางวา พร้อมอาคารตึกแถวเลขที่ 1535/85 ต่อมาโจทก์ขอรังวัดที่ดินเพื่อต่อเติมอาคาร ปรากฏว่าอาคารตึกแถวของจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตซึ่งสร้างขึ้นพร้อมอาคาร ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารตึกแถวพิพาทรวมทั้งกันสาดคอนกรีตที่สร้างพร้อมกับอาคารตึกแถวดังกล่าว และเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา 1312 วรรคแรก มาใช้บังคับ โดยถือว่าการที่กันสาดคอนกรีตดังกล่าวรุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริต จำเลยจึงไม่จำต้องรื้อกันสาดคอนกรีตที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่า ฉ.เจ้าพนักงานผู้รังวัดทำแผนที่วิวาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นรังวัดผิดพลาดเพราะมิได้รังวัดโดยถือเอาหลักหมุดด้านหน้าที่ดินของโจทก์เป็นหลัก คำเบิกความของ ฉ.จึงไม่ควรแก่การรับฟังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยมิได้ปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตเท่านั้น ทั้งตามฎีกาของโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยรื้อกันสาดคอนกรีตและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้น มิได้ขอให้รื้ออาคารตึกแถวพิพาทด้วย ประเด็นในชั้นฎีกาจึงไม่มีว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยปลูกรุกล้ำที่ดินโจทก์หรือไม่และการรังวัดทำแผนที่วิวาทชอบหรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารและกันสาดส่วนที่รุกล้ำออกไป และขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์ในการที่จะใช้สอยอาคารส่วนที่ถูกรุกล้ำของโจทก์ เป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไปจนกว่าจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำ จึงเป็นคดีที่มีคำขอที่ไม่มีและมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9517/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยกันสาด: สุจริตไม่ต้องรื้อ และค่าเสียหายต้องมีหลักฐานชัดเจน
บริษัทร. ได้ก่อสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมกับที่ดินโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40724เนื้อที่28ตารางวาพร้อมกับอาคารตึกแถวเลขที่1535/83ส่วนจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่40722เนื้อที่17ตารางวาพร้อมอาคารตึกแถวเลขที่1535/85ต่อมาโจทก์ขอรังวัดที่ดินเพื่อต่อเติมอาคารปรากฏว่าอาคารตึกแถวของจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตซึ่งสร้างขึ้นพร้อมอาคารดังนี้เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารตึกแถวพิพาทรวมทั้งกันสาดคอนกรีตที่สร้างพร้อมกับอาคารตึกแถวดังกล่าวและเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกมาใช้บังคับโดยถือว่าการที่กันสาดคอนกรีตดังกล่าวรุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริตจำเลยจึงไม่จำต้องรื้อกันสาดคอนกรีตที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ ที่โจทก์ฎีกาว่าฉ. เจ้าพนักงานผู้รังวัดทำแผนที่วิวาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นรังวัดผิดพลาดเพราะมิได้รังวัดโดยถือเอาหลักหมุดด้านหน้าที่ดินของโจทก์เป็นหลักคำเบิกความของฉ. จึงไม่ควรแก่การรับฟังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยมิได้ปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์คงรุกล้ำเฉพาะกันสาดคอนกรีตเท่านั้นทั้งตามฎีกาของโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยรื้อกันสาดคอนกรีตและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นมิได้ขอให้รื้ออาคารตึกแถวพิพาทด้วยประเด็นในชั้นฎีกาจึงไม่มีว่าอาคารตึกแถวพิพาทของจำเลยปลูกรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่และการรังวัดทำแผนที่วิวาทชอบหรือไม่ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารและกันสาดส่วนที่รุกล้ำออกไปและขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์ในการที่จะใช้สอยอาคารส่วนที่ถูกรุกล้ำของโจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ5,000บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไปจนกว่าจะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำจึงเป็นคดีที่มีคำขอที่ไม่มีและมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วยจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานก่อนฟ้องในคดีอาญาเมื่อจำเลยไม่ต้องการทนายความ และประเด็นความร่วมมือในการกระทำความผิด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237 ทวิที่ให้ศาลซักถามพยานนั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาต้องการทนายความและศาลเห็นว่าไม่สามารถตั้งทนายความหรือผู้ต้องหาไม่อาจตั้งทนายความได้ทัน เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต้องการทนายความ หากแม้ศาลจะมิได้ซักถามพยานนั้นให้แทนจำเลยทั้งสาม การสืบพยานก็ชอบ และรับฟังคำเบิกความของพยานในการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยทั้งสามถูกฟ้องได้
of 49