คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย สุขพรหม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่1ชำระหนี้และบังคับจำนองโดยอ้างว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาวงเงินสินเชื่อและสัญญาจำนองเพราะไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่1ออกให้แก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่1ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายโดยอ้างว่าโจทก์ได้ให้สัญญาว่าจะให้จำเลยที่1กู้เงินเพื่อพัฒนาที่ดินและก่อสร้างอาคารต่อเนื่องเพิ่มเติมอีกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยที่1กู้เงินตามข้อตกลงเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยที่1เสียหายดังนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่1เป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องชำระบัญชี
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่1และที่2กับฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมโจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่าโจทก์ที่3ถึงที่5มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่3ถึงที่5ไม่ได้และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้ายมีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไปโดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฎในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้นสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับ ฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม โจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่า โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่ได้ และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้าย มีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไป โดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฏในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามป.พ.พ.มาตรา 1061

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย: หน้าที่ของผู้ขายในการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อเดิม & การประเมินค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
คดีก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินทั้ง 83 แปลงที่บริษัท ศ.และส. ผู้ล้มละลายโอนให้โจทก์ไว้และอยู่ในระหว่างการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนการที่จะวินิจฉัยว่าการโอนที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่และจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ เพียงใด เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าต่อมาในภายหลัง ส.และบริษัทศ. ได้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัยถึงในคดีนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การโอนที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะจึงไม่ชอบ ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 3 มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าทั้งผู้จะซื้อและผู้จะขายมีความประสงค์จะจัดการให้คดีทั้งหมดสิ้นสุดลงและจะจัดการให้ผู้ซื้อที่ดินจากผู้ขายคนเดิมได้รับที่ดินไปตามสัญญาซื้อขาย ผู้จะซื้อจึงรับว่าจะเป็นผู้ดำเนินการทางคดีโดยชอบเพื่อให้ที่ดินดังกล่าวหลุดพ้นจากภาระทั้งหมดนั้น ก็คือให้ผู้จะซื้อเข้ามารับภาระที่ผู้จะขายมีอยู่แทน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือรับชำระหนี้แทนผู้จะขายนั่นเอง เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการทางคดีโดยชอบหาใช่เป็นสัญญาจะโอนสิทธิในการดำเนินคดีหรือซื้อขายความที่วัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่ ที่ดินทั้ง 83 แปลง มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ถูก ว.และพ. ฟ้องให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 30041 และที่ 30042 ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดการให้ว.และพ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินเดิมได้รับที่ดินไปตามสัญญา การที่จำเลยดำเนินการให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้แก่บริษัท ท. ทั้งที่โจทก์ได้สอบถามจำเลยกับเจ้าพนักงานที่ดินแล้วว่าที่ดินทั้ง 2 แปลงดังกล่าวติดอายัดตามคำสั่งศาลหรือไม่ ก็ได้รับแจ้งว่าไม่ติดอายัด โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินไปการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการประพฤติผิดสัญญา โจทก์ยอมจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวน 800,000 บาทเศษให้แก่ ว.และพ. ก็เพราะถูกบุคคลทั้งสองฟ้องคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยและทางศาลประทับฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการจะได้รับความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่และเกียรติยศชื่อเสียงประกอบกับจำเลยรับว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลงมีราคารวมกัน1,000,000 บาทเศษ ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันไกลกว่าเหตุ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้ค่าที่ดินจำนวนดังกล่าวแก่ ว.และพ. เป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมก่อนทำสัญญา แต่หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
จำเลยที่2ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทนพ. และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้างและในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยอ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตามแต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่2ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่1ไปจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่2โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าพ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไปหรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้นหาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ดังนี้เมื่อจำเลยที่2เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่2รับประกันภัยไว้หรือไม่และจำเลยที่2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่1จำนวน30,000บาทแก่โจทก์ที่2จำนวน50,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่1และที่2แต่ละคนจึงไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน25,000บาทอัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ5นั้นการกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องหาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลยเมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่1จำนวน40,000บาทและโจทก์ที่2จำนวน521,700บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน25,000บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดแต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต และอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อผู้รับประกันภัย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่ พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทน พ.และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้าง และในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย อ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้ พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตาม แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า พ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไป หรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้น หาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่ 2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้หรือไม่ และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 30,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน50,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1และที่ 2 แต่ละคนจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท อัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ 5 นั้น การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง หาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลย เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 จำนวน 40,000 บาทและโจทก์ที่ 2 จำนวน 521,700 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน 25,000 บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่ 2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยค้ำจุนหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต ศาลตัดสินเรื่องความรับผิดของบริษัทประกันภัยและค่าทนายความ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่ พ.ถึงแก่ความตาย แต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือ พ. หลังจาก พ.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ได้ดำเนินกิจการแทน พ. และได้จ้าง อ.เป็นลูกจ้าง และในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย อ.ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้ พ.ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตาม แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า พ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไป หรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้น หาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้
ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 30,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1และที่ 2 แต่ละคนจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท อัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ 5 นั้น การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง หาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลย เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 จำนวน 40,000 บาท และโจทก์ที่ 2 จำนวน 521,700 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน 25,000 บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่ 2 ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่สมบูรณ์ - พยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพต้องไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพเอง
พยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ต้อง ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพนั้นเอง การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสี่ซึ่งปฏิเสธในชั้นพิจารณา โจทก์และโจทก์ร่วมต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดจริงโดยพยานประกอบนั้นต้องไม่ใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวนคำรับนั้นเอง ส่วนบันทึกการจับกุม คำให้การชั้นสอบสวนของ จำเลยทั้งสี่ บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ และภาพถ่ายประกอบนั้นแม้มีภาพจำเลยทั้งสี่และมีข้อความว่า จำเลยที่ 4 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ ของจำเลยทั้งสี่ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเท่านั้นไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน เพื่อให้เห็นว่ากระทำความผิดตามฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่อย่างใดอีกเมื่อจำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาและนำสืบปฏิเสธว่า พนักงานสอบสวนได้คำรับสารภาพมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมเพียงเท่าที่นำสืบมาจึงไม่พอฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากมิได้มีส่วนทำให้สินค้าเสียหาย
แม้จำเลยกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยกันจะต้องรับผิดร่วมกันในความสูญหายหรือบุบสลายต่อผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับว่าจำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหรือไม่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสินค้าที่ขนส่งมิได้เกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการขนส่งทอดแรกของจำเลยแม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หากมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย
แม้จำเลยจะต้องรับผิดร่วมกันกับโจทก์ในความสูญหายหรือบุบสลายต่อผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และมาตรา 618 แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยกันจะมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าจำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหรือไม่เมื่อจำเลยมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่จำเลยร่วมทำการขนส่งกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามมาตรา296 ที่บัญญัติให้ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นนั้นจะบังคับแก่กรณีนี้ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ร่วมแต่ละคนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นในการร่วมกันขนส่งเท่านั้น
การที่โจทก์ฎีกาว่า ความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทอดแรกโดยจำเลยนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกข้อนี้ขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกข้อนี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 49