คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย สุขพรหม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภททรัพย์สินสมรส: พิจารณาตามกฎหมายขณะได้มา แม้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากพินัยกรรม: ที่ดินที่ได้มาขณะสมรสแม้ไม่มีระบุเป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรส
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรหรือสินส่วนตัวเมื่อปีพ.ศ 2509 ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ต้องพิสูจน์ความเสียหายหรือความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน
บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือ ชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ จะต้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อ การใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วยและผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมและโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้การใช้ชื่อการค้าคำว่า REGENTในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า กิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้า คำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ความเสียหายต้องพิสูจน์ได้เพื่อขอห้ามการใช้ชื่อ
โจทก์ใช้ชื่อทางการค้าอักษรภาษาอังกฤษคำว่า THE REGENTอ่านว่า เดอะรีเจ้นท์ ในกิจการโรงแรมในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยมาก่อนจำเลยจนมีชื่อเสียงที่เรียกกันว่า กู๊ดวิลล์ (Goodwill) ปัญหานี้ป.พ.พ.มาตรา 18 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้นถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว เกี่ยวกับความเสียหายจากการที่จำเลยใช้คำว่า REGENT ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานบริการของจำเลย จากพยานหลักฐานดังกล่าวโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้จะฟังว่าการใช้ชื่อทางการค้าคำว่า REGENTของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และการพิพากษาความรับผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และประเด็นความสามารถในการรับผิดชอบทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้น/ผลิตก่อนย่อมมีสิทธิเหนือตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 ป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้ารูปไก่และคำว่าCOCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8รายการสินค้าถ่านไฟฉาย ตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้นและจดทะเบียนเดิมมีสิทธิเหนือผู้เป็นตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้า รูปไก่และคำว่า COCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียน ไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8 รายการสินค้าถ่านไฟฉายตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้วต่อมาจำเลยที่ 2 นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอ จดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7935/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนมีน้ำหนักกว่า แม้จำเลยจดทะเบียนก่อน
เครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า LINZ มาจากชื่อบริษัทโจทก์และโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZELECTRICกับสินค้าเครื่องสูบน้ำและสินค้าอื่น ๆ ของโจทก์มาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 6 เครื่องจักรทุกชนิดประมาณ 6 ปี นอกจากนั้นโจทก์ได้ทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในรูปแบบต่าง ๆ หลายแบบ สินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าLINZELECTRIC มีจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย ดังนี้เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LINZELECTRIC" กับสินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยแม้จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยไว้ก่อนโจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนก็ตาม เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยเช่นนี้ ก็ชอบที่ศาลจะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
เครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า LINZ มาจากชื่อบริษัทโจทก์และโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ELECTRIC กับสินค้าเครื่องสูบน้ำและสินค้าอื่น ๆ ของโจทก์มาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 6 เครื่องจักรทุกชนิด ประมาณ 6 ปี นอกจากนั้นโจทก์ได้ทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในรูปแบบต่าง ๆ หลายแบบ สินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ELECTRIC มีจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย ดังนี้เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LINZ ELECTRIC" กับสินค้าเครื่องสูบน้ำของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยไว้ก่อนโจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนก็ตาม
เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LINZ ดีกว่าจำเลยเช่นนี้ ก็ชอบที่ศาลจะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
of 49