พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหมดประโยชน์พิจารณาเมื่อจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์
ภายหลังโจทก์ยื่นฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้รื้อบ้านที่โจทก์ฟ้องออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้ว คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาพิพากษาฎีกาของโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7576/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการเฉลี่ยทรัพย์ แม้คดีไม่ถึงที่สุด และการคุ้มครองเจ้าหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290ได้บัญญัติถึงการใช้สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ไว้แต่เพียงว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วัน นับแต่วันขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งตามความในบทมาตราดังกล่าว ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อคดีถึงที่สุดกรณีจึงไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อนเจ้าหนี้ก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพื่อที่จะยังให้ได้รับรองคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนโดยบทบัญญัติของมาตรานี้ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ ข้ออ้างที่ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถเอาชำระหนี้ได้ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกันจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ย่อมจะยกขึ้นโต้แย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7558/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์จากการรังวัดที่ดินพิพาท การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือคำคัดค้านของข.สามีจำเลยที่คัดค้านการรังวัดที่ดินของโจทก์จำเลยให้การว่าเหตุที่ข. ยื่นหนังสือคัดค้านการรังวัดที่ดินของโจทก์เพราะโจทก์นำช่างรังวัดปักหลักรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของข. ประเด็นโต้เถียงจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือข. อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7558/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องเขตที่ดิน: การรังวัดที่ดินและการคัดค้านสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือคำคัดค้านของ ข. สามีจำเลยที่คัดค้านการรังวัดที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า เหตุที่ ข.ยื่นหนังสือคัดค้านการรังวัดที่ดินของโจทก์เพราะโจทก์นำช่างรังวัดปักหลักรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของ ข.ประเด็นโต้เถียงจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือ ข.อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่ไม่ใช่การชำรุดบกพร่อง ใช้บังคับตามอายุความทั่วไป 10 ปี
กรณีตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่บทบัญญัติแห่งมาตรา 601 นั้นใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามมาตรา 600 กล่าวคือถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา เมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่จ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลัง จึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิด และจำเลยได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์แล้วไม่ทำการซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นทำแทนและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไปเพราะจ้างผู้อื่นทำแทนนั้นได้ เมื่อมีข้อสัญญาตกลงกันไว้เช่นนี้และจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตาม ย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญา ซึ่งเข้าลักษณะสัญญาจ้างธรรมดาโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยผู้รับจ้างรับผิดต่อโจทก์ได้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างเหมา: ต่างจากอายุความชำรุดบกพร่อง หากมีข้อตกลงพิเศษเรื่องการซ่อมแซม
กรณีตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่บทบัญญัติแห่งมาตรา601นั้นใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามมาตรา600กล่าวคือถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่จ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังจึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งต่างหากถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิดและจำเลยได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์แล้วไม่ทำการซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นทำแทนและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไปเพราะจ้างผู้อื่นทำแทนนั้นได้เมื่อมีข้อสัญญาตกลงกันไว้เช่นนี้และจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญาซึ่งเข้าลักษณะสัญญาจ้างธรรมดาโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยผู้รับจ้างรับผิดต่อโจทก์ได้กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ดำเนินกระบวนการซ้ำต้องห้าม แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยได้ แต่คดีไม่มีประโยชน์พิจารณาต่อ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่1และที่2ให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ออกน.ส.3ก.ทับที่ดินของจำเลยขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.ของโจทก์ส่วนจำเลยที่3ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)และให้สืบพยานจำเลยที่1และที่2ตามฟ้องแย้งต่อไปแล้วพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่1และที่2เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.เช่นเดียวกันแม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้นหามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่1และที่2ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไปเมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้งการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่1และที่2อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144วรรคหนึ่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา246ประกอบมาตรา142(5) ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่3โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีแต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่1กับที่3และจำเลยที่2กับที่3ร่วมกันเพิกถอนน.ส.3ก.ซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นเจ้าของในแต่ละแปลงโดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออกน.ส.3ก.ทั้งสองฉบับเมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่1และที่2ให้เพิกถอนน.ส.3ก.ดังกล่าวได้แล้วสภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้คดีสำหรับจำเลยที่3จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องแย้ง: การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง และผลกระทบต่อฟ้องแย้ง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1และ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง โจทก์อุทธรณ์ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. เช่นเดียวกันการทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อน มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้นหามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ด้วยไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก. ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอน น.ส.3 ก.ในแต่ละฉบับได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนี้ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำหลังทิ้งฟ้อง: ศาลพิจารณาฟ้องแย้งเดิมได้ และจำกัดสิทธิการบังคับคดีกับจำเลยที่ 3
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก.ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก.เช่นเดียวกัน แม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป เมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้ง การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7189/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพถูกตัดออกโดยไม่สมัครใจ: การคืนเงินค่าหุ้นไม่ใช่การขาดสมาชิกภาพ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการดำเนินงาน ต่อมาจำเลยที่ 1 ตัดชื่อโจทก์ทั้งหมดออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าโจทก์บางคน รวมทั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เข้าร่วมประชุมติดต่อกัน 3 ปี ตามมติที่ประชุมใหญ่ที่ประชุมเมื่อปี 2524 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตัดชื่อโจทก์ที่ 2 ออกจากสมาชิกภาพและส่งเงินค่าหุ้นคืนไปให้แก่โจทก์ที่ 2 เอง มิใช่กรณีที่โจทก์ที่ 2 ขอรับเงินค่าหุ้นคืนเองโดยสมัครใจ ดังนี้ จะถือว่าโจทก์ที่ 2 ขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่