คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย สุขพรหม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาและการฟ้องร้องกรณีเครื่องหมายการค้าปลอม
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 แล้ว
ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้น แม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการ-สูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้
บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (China National Native Produce and Animal By-Products Import and Export Corporation Fujian Tea Branch)ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046 โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัมหมายเลข 1046 จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชา หาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ถ้อยคำท้าทายต่อสู้ไม่ถึงขั้นดูถูกเหยียดหยาม
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 คือ "ดูหมิ่น" ซึ่งหมายถึงการด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้อับอายถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อ ข. เจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ว่า "แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย" เป็นการกล่าวท้าทายให้ ข. ออกมาต่อสู้กับจำเลยเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะให้เข้าใจว่าจำเลยมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้ ข. อับอายแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นทางวาจา: ถ้อยคำท้าทายไม่ได้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 136
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 คือ "ดูหมิ่น" ซึ่งหมายถึงการด่า ดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทให้อับอาย ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อสิบตำรวจตรี ข.ว่า "แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย" เห็นได้ว่าเป็นการกล่าวท้าทายให้สิบตำรวจตรี ข.ออกมาต่อสู้กับจำเลย อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควร ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะให้เข้าใจว่าจำเลยมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้สิบตำรวจตรี ข.อับอาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวกัน: การฟ้องซ้ำหลังมีคำพิพากษายกฟ้องคดีเดิม แม้รายละเอียดต่างกันเล็กน้อย
เมื่อเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างเดือนมกราคม 2531ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจึงอาจเป็นวันที่19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด 2 กรรม ทั้งสองคดีดังกล่าว ก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกัน และร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกัน แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ส่วนในคดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้านั้นก็ตาม แต่การกระทำอันเป็นการจำหน่ายย่อมรวมถึงการเสนอจำหน่ายอยู่ด้วยในตัว ทั้งปรากฏในคำฟ้องคดีเดิมและในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายหรือจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านค้าต่าง ๆ ทั่วไปในกรุงเทพ-มหานครเช่นเดียวกัน ดังนี้ ความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกัน ทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องคดีนี้และร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์จะนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ เพราะสิทธินำคดีอาญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการลอกเลียนแบบ
โจทก์ได้ใช้ตัวอักษรโรมันคำว่า "Miramar" โดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของดินแดนฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 2500 ก่อนจำเลยซึ่งเพิ่งจะใช้คำดังกล่าวโดยจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปี 2526 นอกจากนั้นโจทก์ยังได้ใช้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าประเภทกระดาษ สบู่ผ้าเช็ดตัว ปากกา และเครื่องเขียนต่าง ๆ ภายในโรงแรมจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในดินแดนฮ่องกงด้วย ส่วนจำเลยไม่ได้คิดประดิษฐ์อักษรโรมันคำว่า "Miramar"ขึ้นมาเอง แต่ได้นำมาจากชื่อที่พักแห่งหนึ่งที่ประธานกรรมการบริษัทจำเลยเคยเห็นชื่อของโจทก์ในดินแดนฮ่องกงแล้วนำมาใช้ ทั้งเมื่อพิเคราะห์ลักษณะตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า "Miramar" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เปรียบเทียบกับตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า "Miramar" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะตัวอักษร 3 ตัวแรก และตัวอักษร R ตัวสุดท้าย เขียนในลักษณะตวัดปลายให้โค้งงอขึ้นคล้ายก้ามปูเหมือนกันทุกประการ อีกทั้งอักษรโรมันคำว่า"Miramar" ดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยไม่มีคำแปล จึงเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่เป็นคำที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป และไม่น่าเชื่อว่าจะมีการนำมาใช้ตรงกันโดยบังเอิญทั้งชื่อและลักษณะการเขียนตัวอักษรประดิษฐ์ดังกล่าว พฤติการณ์แห่งคดีบ่งชี้ว่าจำเลยได้นำเอาคำว่า "Miramar" ของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า "Miramar" เป็นชื่อทางการค้าและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้ากระดาษ เครื่องเขียน และเครื่องเย็บสมุด ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกที่ 39ในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Miramar"และคำว่า "HOTEL" พร้อมรูปรอยประดิษฐ์เป็นอักษรโรมันตัว "M" 2 ตัว และจุดแดงอยู่เหนือตัว "M" ทั้งสองคล้ายรูปมงกุฎสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ทั้งจำพวกในประเทศไทยเป็นเวลานานนับสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "Miramar" ทั้งในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดีกว่าจำเลย แม้ว่าจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวในประเทศไทยแล้ว และโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา41 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รวมชอบธรรม หากเกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือใช้ราคาแทน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแทนจำเลยขอให้บังคับโจทก์ถอนชื่อออกจากการเป็นเจ้าของรวม ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำฟ้องแย้งจึงมีว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ คำฟ้องและคำฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ: กรณีทายาทผู้รับมรดก
โจทก์และผู้ร้องต่างก็เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส.ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างที่ ส.ทำไว้กับโจทก์ และชำระหนี้ที่ ส.กู้ยืมไปจากผู้ร้องให้แก่ผู้ร้อง หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้เป็นประกันหนี้ผู้ร้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้ จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์และผู้ร้อง โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นมรดกของ ส.เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาจ้างที่ส.ทำไว้กับโจทก์บางส่วน แต่ได้ชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่อาจบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ.มาตรา702 วรรคสอง และ ป.วิ.พ.มาตรา 289 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ แม้ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ ส.อันเป็นมูลหนี้ในคดีนี้จะมีผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งผู้ร้องทราบดีว่า หาก ส.ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ ส.ก็ตาม ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้สิทธิในการขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นของผู้ร้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต/บาดเจ็บ, การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, ดอกเบี้ย, ค่าฤชาธรรมเนียม, และการรับผิดร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสองนั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปีย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปี จึงเป็นระยะเวลาที่สมควร ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน20 ปี เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามบัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปีนับจากวันเกิดเหตุไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถาซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควรศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้ หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลงแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนกรณีเช่าตึกแถว: สิทธิมีเฉพาะเมื่อผู้ให้เช่าจะขายก่อนครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
ข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาโดยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเสียก่อน เพื่อผู้เช่าจะได้ใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่หาได้ให้สิทธิผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นตลอดไปจนพ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาให้แก่จำเลยที่ 3 หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะเช่าตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาอยู่ต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าแก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้
of 49