พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการชนรถยนต์: การประเมินความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น จำเลยที่ 3 ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่ 3 ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด จำเลยที่ 3 ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนี้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายแม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยอันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของผู้ขับรถในทางการจ้าง และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจำเลยที่3ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่3จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่3ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดจำเลยที่3ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่1ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจรจำเลยที่1กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับไปได้ครึ่งคันจำเลยที่1ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนนจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่1ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลองดังนี้เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ฝ่ายเดียว ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่1ขับรถหลบหนี้เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่2ผู้เป็นนายจ้างประสงค์แม้การกระทำของจำเลยที่1ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่างๆด้วยก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่1ในทางแพ่งที่จำเลยที่1กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 รถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนนโดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใดๆที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่1และที่2มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายแม้จำเลยที่1ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญาก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบและเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมายตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยอันจะทำให้จำเลยที่3ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการวางเงินประกันความเสียหาย: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินเพื่อคุ้มครองโจทก์หากคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและมีเจตนาประวิงคดี
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องคือตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาทก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ 2,083,800 บาท ภายใน 30 วันแม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้ แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้
คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3 ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี ผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน 30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง (1) และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาทก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ 2,083,800 บาท ภายใน 30 วันแม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้ แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้
คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3 ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี ผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน 30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง (1) และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์ - ค่าขึ้นศาล - ประกันความเสียหาย - เพิกเฉยคำสั่งศาล - จำหน่ายคดี - เหตุผลอันสมควร
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องคือตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน 2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาท ก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์2,083,800 บาท ภายใน 30 วัน แม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้ คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1)และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานเอกสารมาแสดงในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอันจะทำให้ศาลชั้นต้นรับฟังได้ว่าเช็คตามฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่มีมูล โจทก์อุทธรณ์ว่า ในการซื้อขายเพชรพลอยระหว่างจำเลยกับ จ.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ไม่ต้องมีพยานหลักฐานเป็นหนังสือหรือหลักฐานเอกสารใด ๆ เท่ากับเป็นการอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องฟังได้ว่าจำเลยและ จ.มีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง เช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่าเพชรพลอยที่ซื้อขายกันดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย - การผิดสัญญา - การซื้อสินค้าจากผู้อื่น - ค่าปรับ - อายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์อันเป็นอุปกรณ์ของโรงแยกก๊าซจำนวน 3 กลุ่ม รวม 499 รายการตามรายการละเอียดแนบท้ายสัญญา รวมราคาทั้งสิ้น 3,788,109 บาทตามสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วนขาดส่งจำนวน 160 รายการ คิดเป็นเงิน 1,122,478 บาทตามสำเนาบันทึกข้อความการตรวจรับพัสดุเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวน 160 รายการอันเป็นผลิตภัณฑ์ ชนิด คุณสมบัติลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเลยมิได้ส่งมอบ และโจทก์ได้ตกลงจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ชนะการประกวดราคา ตามสำเนาสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้าเอกสารท้ายฟ้องรวม 119 รายการ เป็นเงิน 8,824,320 บาท และมีคำขอบังคับ เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งปรากฏรายละเอียดแห่งสินค้ามาด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมไม่จำต้องบรรยายว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาใหม่เป็นสินค้าอะไรบ้าง และเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หมายถึง เหตุใด ๆอันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่การ ทำสัญญาขายสินค้าที่มีการแจ้งความประกวดราคา เป็นหน้าที่ ของผู้เสนอราคาโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตน โดยจะต้องพิจารณาด้วยตนเองว่าสินค้าตามใบแจ้งความประกวดราคา นั้นตนเองสามารถจะจัดหามาและสู้ราคาได้หรือไม่ เมื่อจำเลย ผู้เสนอราคาได้พิจารณารายละเอียดของสินค้าตามที่โจทก์แจ้งความประกวดราคามานั้นว่าสามารถที่จะจัดหามาได้ และเมื่อโจทก์สนองรับซื้อแล้วซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์และจำเลยจะทำ สัญญากัน จำเลยก็ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ครั้งแรกจำนวน 322 รายการ แล้วต่อมาจำเลยยังลงลายมือชื่อในสัญญาตาม สัญญาซื้อขาย ซึ่งมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจนและ เป็นเวลาภายหลังจำเลยส่งสินค้าครั้งแรกถึง 4 เดือนเศษจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างว่าไม่สามารถส่งสินค้าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือสำคัญผิดในคุณสมบัติของสินค้า แม้โจทก์จะทำสัญญากับจำเลยล่าช้า แต่เมื่อจำเลยยอมลงลายมือชื่อในสัญญาอันเป็นการรับรองว่าสัญญาถูกต้อง จำเลยย่อมไม่อาจยกข้อบกพร่องของสัญญาขึ้นมาอ้างต่อไปอีกได้ และแม้โจทก์จะยอม รับสินค้าที่จำเลยส่งมา 2 ครั้งบางรายการ โดยส่งมาก่อน และหลังทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาว่าสินค้าที่ จำเลยยังไม่ส่งมาเกิดจากข้อบกพร่องของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่า โจทก์ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยยังมิได้ส่งมาเกิดจากเหตุ สุดวิสัย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย ตามหนังสือขอให้ยกเลิกสัญญาบางส่วนและขอให้ชำระหนี้ที่จำเลยมีถึงโจทก์ มีใจความว่า ขอให้โจทก์ยกเลิกสัญญาบางรายการที่ไม่อาจจัดส่งให้ได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยแต่เมื่อตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏข้อความให้จำเลยมีสิทธิยกเลิกสัญญาด้วยเหตุเช่นนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยยกขึ้นมาเองโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจึงจะนับเวลาที่โจทก์ต้องจัดซื้อสินค้าที่จำเลยขาดส่งภายใน 6 เดือนตามสัญญา นับแต่จำเลยบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้โจทก์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อสินค้าที่จำเลยผิดนัดไม่ได้ส่งซึ่งไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาข้อดังกล่าว ที่ตกลงกันว่าหากจำเลยส่งสินค้าไม่ครบทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์มีสิทธิริบหลักประกันกับเรียกค่าเสียหายในส่วนที่จัดซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นเป็นราคาเพิ่มขึ้น โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา มิได้ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีส่งมอบสินค้าให้โจทก์ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ จะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474มาใช้บังคับหาได้ไม่ และกรณีเรียกร้องให้จำเลยรับผิดไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (193/30 ใหม่) ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญานานถึง 5 เดือน เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ใช้สิทธิภายในเวลาอันสมควรย่อมหมดสิทธิที่จะร้องเรียกเอาแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีประเด็นนำสืบ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เลือกใช้สิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 8 แล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ตามสัญญาข้อ 9 อีกนั้น เมื่อปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้กล่าวอ้างไว้ในคำให้การและมิได้ประเด็นพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, อายุความ และข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์อันเป็นอุปกรณ์ของโรงแยกก๊าซจำนวน 3 กลุ่ม รวม 499 รายการ ตามรายการละเอียดแนบท้ายสัญญา รวมราคาทั้งสิ้น 3,788,109 บาท ตามสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วนขาดส่งจำนวน 160รายการ คิดเป็นเงิน 1,122,478 บาท ตามสำเนาบันทึกข้อความการตรวจรับพัสดุเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวน160 รายการ อันเป็นผลิตภัณฑ์ ชนิด คุณสมบัติลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเลยมิได้ส่งมอบ และโจทก์ได้ตกลงจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ชนะการประกวดราคา ตามสำเนาสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้าเอกสารท้ายฟ้องรวม 119 รายการ เป็นเงิน8,824,320 บาท และมีคำขอบังคับ เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งปรากฏรายละเอียดแห่งสินค้ามาด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมไม่จำต้องบรรยายว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาใหม่เป็นสินค้าอะไรบ้าง และเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่
เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 8 หมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่การทำสัญญาขายสินค้าที่มีการแจ้งความประกวดราคา เป็นหน้าที่ของผู้เสนอราคาโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตน โดยจะต้องพิจารณาด้วยตนเองว่าสินค้าตามใบแจ้งความประกวดราคานั้นตนเองสามารถจะจัดหามาและสู้ราคาได้หรือไม่เมื่อจำเลยผู้เสนอราคาได้พิจารณารายละเอียดของสินค้าตามที่โจทก์แจ้งความประกวดราคามานั้นว่าสามารถที่จะจัดหามาได้ และเมื่อโจทก์สนองรับซื้อแล้วซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์และจำเลยจะทำสัญญากัน จำเลยก็ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ครั้งแรกจำนวน 322 รายการ แล้วต่อมาจำเลยยังลงลายมือชื่อในสัญญาตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจนและเป็นเวลาภายหลังจำเลยส่งสินค้าครั้งแรกถึง 4 เดือนเศษ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างว่าไม่สามารถส่งสินค้าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือสำคัญผิดในคุณสมบัติของสินค้า แม้โจทก์จะทำสัญญากับจำเลยล่าช้า แต่เมื่อจำเลยยอมลงลายมือชื่อในสัญญาอันเป็นการรับรองว่าสัญญาถูกต้อง จำเลยย่อมไม่อาจยกข้อบกพร่องของสัญญาขึ้นมาอ้างต่อไปอีกได้และแม้โจทก์จะยอมรับสินค้าที่จำเลยส่งมา 2 ครั้งบางรายการ โดยส่งมาก่อนและหลังทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาว่าสินค้าที่จำเลยยังไม่ส่งมาเกิดจากข้อบกพร่องของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยยังมิได้ส่งมาเกิดจากเหตุสุดวิสัย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย
ตามหนังสือขอให้ยกเลิกสัญญาบางส่วนและขอให้ชำระหนี้ที่จำเลยมีถึงโจทก์ มีใจความว่า ขอให้โจทก์ยกเลิกสัญญาบางรายการที่ไม่อาจจัดส่งให้ได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย แต่เมื่อตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏข้อความให้จำเลยมีสิทธิยกเลิกสัญญาด้วยเหตุเช่นนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยยกขึ้นมาเองโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจึงจะนับเวลาที่โจทก์ต้องจัดซื้อสินค้าที่จำเลยขาดส่งภายใน 6 เดือน ตามสัญญา นับแต่จำเลยบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้โจทก์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อสินค้าที่จำเลยผิดนัดไม่ได้ส่งซึ่งไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาข้อดังกล่าว ที่ตกลงกันว่าหากจำเลยส่งสินค้าไม่ครบทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์มีสิทธิริบหลักประกันกับเรียกค่าเสียหายในส่วนที่จัดซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นเป็นราคาเพิ่มขึ้น
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา มิได้ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีส่งมอบสินค้าให้โจทก์ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ จะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 474 มาใช้บังคับหาได้ไม่ และกรณีเรียกร้องให้จำเลยรับผิดไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม (193/30 ใหม่)
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญานานถึง 5 เดือน เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ใช้สิทธิภายในเวลาอันสมควรย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีประเด็นนำสืบ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เลือกใช้สิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 8 แล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ตามสัญญาข้อ 9อีกนั้น เมื่อปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้กล่าวอ้างไว้ในคำให้การและมิได้เป็นประเด็นพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 8 หมายถึงเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่การทำสัญญาขายสินค้าที่มีการแจ้งความประกวดราคา เป็นหน้าที่ของผู้เสนอราคาโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตน โดยจะต้องพิจารณาด้วยตนเองว่าสินค้าตามใบแจ้งความประกวดราคานั้นตนเองสามารถจะจัดหามาและสู้ราคาได้หรือไม่เมื่อจำเลยผู้เสนอราคาได้พิจารณารายละเอียดของสินค้าตามที่โจทก์แจ้งความประกวดราคามานั้นว่าสามารถที่จะจัดหามาได้ และเมื่อโจทก์สนองรับซื้อแล้วซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์และจำเลยจะทำสัญญากัน จำเลยก็ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ครั้งแรกจำนวน 322 รายการ แล้วต่อมาจำเลยยังลงลายมือชื่อในสัญญาตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจนและเป็นเวลาภายหลังจำเลยส่งสินค้าครั้งแรกถึง 4 เดือนเศษ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างว่าไม่สามารถส่งสินค้าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือสำคัญผิดในคุณสมบัติของสินค้า แม้โจทก์จะทำสัญญากับจำเลยล่าช้า แต่เมื่อจำเลยยอมลงลายมือชื่อในสัญญาอันเป็นการรับรองว่าสัญญาถูกต้อง จำเลยย่อมไม่อาจยกข้อบกพร่องของสัญญาขึ้นมาอ้างต่อไปอีกได้และแม้โจทก์จะยอมรับสินค้าที่จำเลยส่งมา 2 ครั้งบางรายการ โดยส่งมาก่อนและหลังทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาว่าสินค้าที่จำเลยยังไม่ส่งมาเกิดจากข้อบกพร่องของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยยังมิได้ส่งมาเกิดจากเหตุสุดวิสัย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย
ตามหนังสือขอให้ยกเลิกสัญญาบางส่วนและขอให้ชำระหนี้ที่จำเลยมีถึงโจทก์ มีใจความว่า ขอให้โจทก์ยกเลิกสัญญาบางรายการที่ไม่อาจจัดส่งให้ได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย แต่เมื่อตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏข้อความให้จำเลยมีสิทธิยกเลิกสัญญาด้วยเหตุเช่นนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยยกขึ้นมาเองโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจึงจะนับเวลาที่โจทก์ต้องจัดซื้อสินค้าที่จำเลยขาดส่งภายใน 6 เดือน ตามสัญญา นับแต่จำเลยบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้โจทก์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อสินค้าที่จำเลยผิดนัดไม่ได้ส่งซึ่งไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาข้อดังกล่าว ที่ตกลงกันว่าหากจำเลยส่งสินค้าไม่ครบทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์มีสิทธิริบหลักประกันกับเรียกค่าเสียหายในส่วนที่จัดซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นเป็นราคาเพิ่มขึ้น
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา มิได้ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีส่งมอบสินค้าให้โจทก์ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ จะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 474 มาใช้บังคับหาได้ไม่ และกรณีเรียกร้องให้จำเลยรับผิดไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม (193/30 ใหม่)
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญานานถึง 5 เดือน เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ใช้สิทธิภายในเวลาอันสมควรย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีประเด็นนำสืบ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เลือกใช้สิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 8 แล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ตามสัญญาข้อ 9อีกนั้น เมื่อปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้กล่าวอ้างไว้ในคำให้การและมิได้เป็นประเด็นพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การมีอยู่ของความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นสำคัญ
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรสซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่าจำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน800,000บาทพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยคงมีจำเลยที่1เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่1ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้จำเลยที่2มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1แต่อย่างใดหนี้ที่จำเลยที่1ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการรับผิดชอบหนี้ร่วม
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรส ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่า จำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คงมีจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้ อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 2 มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมระหว่างสมรส: ต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ณ เวลาที่ก่อหนี้
หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรส ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา1490 บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่า จำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คงมีจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้ อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 2 มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
แม้ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้จะระบุว่า จำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระหนี้จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่ ศ. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวหรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คงมีจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวที่ลงชื่อไว้ในฐานะลูกหนี้ อีกทั้งในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ก่อหนี้ขึ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 2 มิได้มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2