คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย สุขพรหม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ มีโทษร้ายแรง แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารยังคงอยู่
การที่จำเลยปลอมโฉนดซึ่งเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา266(1)เป็นความผิดที่มีโทษจำคุกขั้นสูงถึงสิบปีพฤติการณ์ที่จำเลยปลอมโฉนดและนำโฉนดที่จำเลยปลอมไปหลอกลวงกู้เงินโจทก์ร่วมถึง600,000บาทนั้นมีลักษณะเป็นภัยร้ายแรงต่อโจทก์ร่วมและสุจริตชนโดยทั่วไปซึ่งมิใช่วิสัยของคนที่เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดมาเป็นเวลาถึง5ปีเช่นจำเลยจักพึงกระทำแม้จำเลยจะใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจจนโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงไปแล้วก็มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาฉ้อโกงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)เท่านั้นแต่ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งจำเลยกระทำนั้นหาได้ระงับไปด้วยไม่พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นในสัญญาประกันภัย: การขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาต ทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองถึงความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆและจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยที่มีต่อโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าว ดังนี้จำเลยที่ 3 ย่อมยกเงื่อนไข ข้อยกเว้น และข้อจำกัดความรับผิดของตนที่กำหนดไว้ในสัญญาขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ เว้นแต่เงื่อนไข ข้อยกเว้น หรือข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมาย แต่เมื่อข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับได้ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์ตามกำหนดและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับไล่
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย เมื่อวันที่27 เมษายน 2537 แล้ว จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในวันที่ 17 มิถุนายน 2537แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากมิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ดังนี้ กรณีจึงต้องถือว่า จำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การของจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง แล้วฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเดียวกันภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามวรรคสุดท้ายแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวอีก
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ 95 บาท เท่ากับค่าเช่าอาคารพิพาท41 เดือน เป็นเงินรวม 3,895 บาท และอีกเดือนละ 95 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะออกจากอาคารดังกล่าว จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายนั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำให้การและการห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่1เมื่อวันที่27เมษายน2537จำเลยที่1อุทธรณ์คำสั่งในวันที่17มิถุนายน2537แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากมิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกรณีจึงต้องถือว่าจำเลยที่1ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำให้การของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228วรรคสองแล้วฉะนั้นจำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเดียวกันภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามวรรคท้ายแห่งมาตราดังกล่าวไว้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนผู้จัดการมรดกและการร้องขอจัดการมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ง.และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนแล้ว หาได้มีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. แต่ประการใดไม่ จำเลยจึงร้องขอกันส่วนในคดีร้องขอจัดการมรดกนี้ไม่ได้ หากจำเลยมีสิทธิประการใดก็ชอบที่จะดำเนินคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความและการคืนค่าฤชาธรรมเนียมศาล ศาลมีอำนาจพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองนั้นเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(2)ด้วยแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรแต่ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่หากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวคำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151วรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อมาตรา151ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองประกอบด้วยมาตรา132(2)จึงไม่จำต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: ไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมหากไม่ขัดกับกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคสอง เป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 132 (2)ด้วย ถึงแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร แต่บทบัญญัติที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่และหากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว คำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับ ป.วิ.พ.มาตรา 151วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อบทบัญญัติมาตรา 151 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 132 (2) ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีและการคืนค่าธรรมเนียมศาล: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีตามมาตรา 198 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 198 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 132(2) จึงไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการแบ่งแยกโฉนดและการสวมสิทธิของผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อท. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วท. เป็นตัวแทนของโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกออกโฉนดใหม่และจะได้โอนให้โจทก์ต่อไปแต่ท. ถึงแก่ความตายเสียก่อนจำเลยซึ่งเป็นบุตรของท. ได้เข้าสวมสิทธิในการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจนทางราชการออกโฉนดให้ในนามของจำเลยแต่จำเลยให้การเพียงว่าท. กับโจทก์จะตกลงกันเป็นตัวการตัวแทนเพื่อยื่นเรื่องราวขอให้ทางราชการแบ่งแยกที่ดินพิพาทหรือไม่จำเลยไม่ทราบไม่รับรองและไม่ปรากฏหลักฐานดังนี้จำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุการณ์แห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าท. ได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่ขายให้โจทก์ในนามท. แล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และท. ตกเป็นโมฆะเพราะทำการซื้อขายที่ดินโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนั้นจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ไว้ย่อมไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: การนับระยะเวลา 60 วันตามอำนาจฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองคำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา สำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์ 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง
of 49