พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายทะเบียนและการฟ้องร้องกรณีปฏิเสธจดทะเบียนสัญชาติ
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5,35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจดทะเบียนราษฎร: การปฏิเสธของนายทะเบียนถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5,35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติจะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้นเพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตามแต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายทะเบียนในการจดทะเบียนสัญชาติและการมีอำนาจฟ้องของโจทก์
จำเลยเป็นนายทะเบียนอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 5, 35 ในการจัดทำทะเบียนคนทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอ และแก้ทะเบียนคนให้ถูกต้องเมื่อมีการเพิ่มลดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้านเกี่ยวกับสัญชาติ จะให้นายทะเบียนอำเภอสอบสวนพยานหลักฐานแล้วเสนอตามลำดับชั้น เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติตามกฎกระทรวงก็ตาม แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรดังกล่าว อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการไป ดังนี้การที่จำเลยปฏิเสธไม่ดำเนินการจดทะเบียนราษฎรให้โจทก์มีสัญชาติไทยตามที่โจทก์ร้องขอ จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าบ้านและแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร
ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ.2499 มาตรา 24 และ29 เมื่อโจทก์จะย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านที่ ย.เป็นเจ้าบ้าน ตามปกติ ย. จะต้องไปแจ้งการย้ายต่อนายทะเบียน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ย้ายที่อยู่จะไปแจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องถิ่นก็ได้ แต่ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วย ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเจ้าบ้านยินยอมให้ย้ายเข้าได้นั่นเองจึงมอบทะเบียนบ้านให้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ขอย้ายเข้าบ้าน ย. โจทก์มีแต่ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ซึ่งไม่มีลายมือชื่อเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าไปแสดงไม่ปรากฏว่ามีสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงด้วย ทั้งนี้เพราะ ย. ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล เช่นนี้ เป็นการเพียงพอที่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธการรับแจ้งย้ายเข้าให้โจทก์ได้อยู่แล้วนายทะเบียนฯ ไม่รับแจ้งย้ายเข้าให้โจทก์ก็ไม่ถือว่าจำเลยหรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าบ้าน และการแจ้งย้ายเข้าต้องแสดงสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อยืนยันความยินยอม
ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 24 และ 29 เมื่อโจทก์จะย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านที่ ย. เป็นเจ้าของบ้าน ตามปกติ ย. จะต้องไปแจ้งการย้ายต่อนายทะเบียน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ย้ายที่อยู่จะไปแจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องถิ่นก็ได้ แต่ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วย ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเจ้าบ้านยินยอมให้ย้ายเข้าได้นั่นเอง จึงมอบทะเบียนบ้านให้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ขอย้ายเข้าบ้าน ย. โจทก์มีแต่ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ซึ่งไม่มีลายมือชื่อเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าไปแสดง ไม่ปรากฏว่ามีสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงด้วย ทั้งนี้เพราะ ย. ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล เช่นนี้ เป็นการเพียงพอที่นายทะเบียน ฯ ปฏิเสธการรับแจ้งย้ายเข้าให้โจทก์ได้อยู่แล้ว นายทะเบียน ฯ ไม่รับแจ้งย้ายเข้าให้โจทก์ก็ไม่ถือว่าจำเลยหรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหาย