คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัธยา ดิษยบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่ได้ลงมือจับกุม แต่มีส่วนสำคัญในการกระทำผิด
จำเลยชักพาผู้เสียหายและ ส. คนรักผู้เสียหายไปยังกระท่อมต่อมา ส. กลัวว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีจึงคิดจะกลับ ขณะที่ ส. กำลังติดเครื่องรถจักรยานยนต์และผู้เสียหายจะนั่งซ้อนท้าย จำเลยได้เข้ามาล็อกคอผู้เสียหายลากลงมาและกอดปล้ำผู้เสียหาย จากนั้นมี ต., จ., ช. เข้ามาจับแขนขาพาไปที่แคร่ข้างกระท่อมช่วยกันถอดกางเกงผู้เสียหายแล้วต. ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นคนแรกโดยมี ช. ช่วยจับแขนขาผู้เสียหาย ระหว่างนี้จำเลยซึ่งอยู่บริเวณแคร่ได้ตะโกนบอกให้ จ. ไปตามหา ส. ซึ่งหนีออกไปหาคนช่วยเหลือแล้วจำเลยและ จ. วิ่งออกไปสะกัดกั้นมิให้ ส. ไปร้องขอความช่วยเหลือได้ หลังจาก ต. กระทำชำเราเสร็จแล้ว ช. ได้กระทำชำเราเป็นคนต่อไป ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้ช่วยจับแขนขาผู้เสียหายระหว่างที่ ต. หรือ ช. ทำการกระทำชำเราแต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวนับได้ว่าเป็นตัวการในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
++ เรื่อง ยักยอก ++
จำเลยกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก โดยจำเลยกระทำผิดหน้าที่ รับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายรวม 8 ครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้ผู้เสียหายในแต่ละครั้งทันทีเมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังทรัพย์สินของนายจ้างโดยลูกจ้างหลายกรรมเป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยรับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ร่วมรวม 8 ครั้งเมื่อจำเลยรับเงินสดหรือเช็คดังกล่าวแต่ละครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้โจทก์ร่วมในแต่ละครั้งทันที เมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธินำคดีอาญาเนื่องจากคดีซ้ำซ้อน - กรรมเดียวกัน
ก่อนที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแขวง ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกันกับการกระทำผิดที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และศาลแขวงได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องแล้วถือได้ว่ามีคำพิพากษาวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องในกรรมที่ได้ก่อให้เกิดความผิดนั้นแล้ว มิใช่หมายถึงฐานความผิดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อร่วม การชนรถยนต์ ศาลยกฟ้องเมื่อโจทก์มีส่วนผิดไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย
เหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์และจำเลยที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884-5885/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, หักกลบลบหนี้, เบี้ยปรับสูงเกินไป, การบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดในสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 มาวางไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันนี้โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนั้น หนังสือค้ำประกันจึงเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางไว้เผื่อความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดชำระเงินตามจำนวนในหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง
สัญญาซื้อขายมีข้อตกลงที่ยินยอมให้โจทก์ปรับจำเลยที่ 1เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่โจทก์ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา และในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ต้องถูกปรับเป็นรายวันนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคงปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยได้กรณีมิใช่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจะไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับ
ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระราคายางแอสฟัลต์ให้แก่จำเลยที่ 1 กับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระค่าปรับและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เกิดจากสัญญาซื้อขายรายเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้นที่โจทก์ขอหักราคายางแอสฟัลต์ที่ส่งมอบบางส่วนออกจากค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด จึงไม่ใช่เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 วรรคหนึ่งแต่เพื่อความสะดวกแก่การบังคับตามคำพิพากษา จึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5821/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีพรากผู้เยาว์-อนาจาร การลงโทษตามกรรมต่างกัน และการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ
ตามฟ้องโจทก์ข้อ 1 ก. และข้อ 1 ง. แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. อายุ 13 ปี 8 เดือน ซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากความปกครองดูแลของ อ. ผู้เป็นบิดา เพื่อการอนาจาร ต้องตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุด้วยว่า โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 ดังกล่าววรรคใดจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 176 และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์เสียก่อน ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรกได้ โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ก. และข้อ 1 ง. ว่า จำเลยได้พรากเด็กหญิง ณ. ผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากนาย อ. ผู้ปกครองเพื่อการอนาจารต่างวันเวลากัน หลังจากจำเลยกระทำผิดดังกล่าวแต่ละข้อแล้ว จำเลยได้บังอาจกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. โดยใช้กำลังกายกอดปล้ำ หอมแก้ม และใช้มือบีบ จับนม ของผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ยินยอม อันเป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ทั้งความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจารการที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. ผู้เสียหายหลังจากนั้นจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. ผู้เสียหายหลังจากนั้นอีก 2 ครั้ง ตามคำฟ้องโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ซึ่งโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องมาแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5821/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจาร – ความผิดหลายกรรมต่างกัน – การพิพากษาลงโทษ – การสืบพยาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปีไปเสียจากความปกครองดูแลของบิดา เพื่อการอนาจารต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่า ขอให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าววรรคใด และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 และไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์เสียก่อน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคแรกได้
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กหญิง ณ. ไปโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร การที่จำเลยกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ทั้งจำเลยพรากเด็กหญิง ณ. ไปเพื่อการอนาจารถึง 2 ครั้ง ต่างวันเวลากัน และกระทำอนาจารเด็กหญิง ณ. หลังจากนั้นอีก 2 ครั้งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5695/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาอื่นมิผูกพันศาลในการพิจารณาคดีอาญาอื่น จำเป็นต้องมีการสืบพยานหลักฐานต่อหน้าจำเลย
การพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาคดีอื่น แม้ศาลฎีกาจะพิพากษาลงโทษ จ. ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วมกับจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม โจทก์จะอ้างข้อเท็จจริงในคดีที่ จ. เป็นจำเลยมาให้ศาลรับฟังลงโทษจำเลยคดีนี้หาได้ไม่เพราะในคดีอาญาศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาและสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป
of 26