คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัธยา ดิษยบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา ต้องมีน้ำหนักพอสมควร แม้จำเลยรับสารภาพ ก็ต้องพิสูจน์ความผิดอื่นประกอบ
แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพตามฟ้องว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ต้องสืบพยานให้ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแม้โจทก์จะมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมมาเบิกความ แต่คำเบิกความดังกล่าวคงรับฟังได้เพียงว่าได้เป็นผู้จับกุมจำเลย ส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลอื่นเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ จึงมีเพียงคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเท่านั้นที่นำมาใช้ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งสองในชั้นพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเป็นที่พอใจว่าจำเลยทั้งสองมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย คงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4331/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติมต้องอยู่ในกรอบเวลาและแสดงเหตุผลสมควร กรณีพยานอยู่ในความครอบครองจำเลย
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ที่จำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานบุคคลและพยานเอกสารดังอ้างมาสืบเพื่อประโยชน์แก่จำเลย หรือไม่ทราบว่า พยานหลักฐานดังกล่าวได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด ในเมื่อพยานบุคคลที่จำเลยอ้างระบุเพิ่มเติมเป็นพนักงานของจำเลยเอง และพยานเอกสารที่อ้างก็เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยซึ่งจำเลยควรได้รู้อยู่ก่อนแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่ร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การรอการลงโทษ และการแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยตั้งใจที่จะเข้าไปเก็บเอาไม้กฤษณาเพื่อนำออกไปขายหาเลี้ยงชีพ แต่ก่อนที่จำเลยจะได้ไม้กฤษณามาเพื่อนำออกไปขายจำเลยได้ตัดโค่นต้นไม้กฤษณาและเซาะต้นไม้กฤษณาเป็นชิ้นแล้วรวบรวมไว้ ซึ่งเป็นเจตนาและการกระทำต่างหากจากการครอบครองเพื่อนำออกไปขาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
แม้ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างทั้งสองลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทลงโทษเกินคำขอ, และการรอการลงโทษในคดีป่าไม้
แม้จำเลยตั้งใจเข้าไปเก็บเอาไม้กฤษณาเพื่อนำออกไปขายหาเลี้ยงชีพ แต่ก่อนที่จำเลยจะได้ไม้กฤษณามาเพื่อนำออกไปขาย จำเลยได้ตัดโค่นต้นไม้กฤษณาและเซาะต้นไม้กฤษณาเป็นชิ้นแล้วรวบรวมไว้ซึ่งเป็นเจตนาและการกระทำต่างหากจากการครอบครองเพื่อนำออกไปขาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การผัดฟ้องและการได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบและพนักงานอัยการได้ขอผัดฟ้องจำเลยมาตลอดภายหลังจากที่มีอำนาจควบคุมตัวจำเลยไว้ 48 ชั่วโมง ตามกฎหมายแล้ว และตามคำร้องขอผัดฟ้องครั้งสุดท้าย ศาลอนุญาตให้พนักงานอัยการผัดฟ้องได้ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่ต้องขออนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและไม่จำเป็นที่โจทก์ต้องระบุไว้ในคำฟ้องด้วยว่า ได้มีการขอผัดฟ้องศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาที่ศาลได้อนุญาตไว้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การผัดฟ้องและการฟ้องภายในกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาต
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นที่โจทก์ต้องระบุไว้ในคำฟ้องด้วยว่าได้มีการขอผัดฟ้อง ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาที่ศาลได้อนุญาตไว้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและครอบครองรังนกที่ได้จากการกระทำผิด: กรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขึ้นไปบนเกาะสัมปทานรังนกอีแอ่นของผู้อื่น แล้วใช้ไม้และเหล็กแทงรังนกอีแอ่นซึ่งติดอยู่กับผนังถ้ำให้หลุดออก และลักเอาไป หลังจากนั้นจำเลยได้ครอบครองรังนกอีแอ่นที่ร่วมกันลักไป ซึ่งตามพ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2482 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุมาตรา 5, 7 และ 9 ห้ามกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่น ห้ามเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และห้ามมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นที่ได้มาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายซึ่งเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่จำเลยเข้าเก็บรังนกอีแอ่น และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นที่มีอยู่ตามธรรมชาติตามที่กฎหมายห้ามไว้ไปพร้อมกันด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ.มาตรา 90 ส่วนที่จำเลยครอบครองรังนกอีแอ่นที่ได้มาจากการกระทำความผิดต่อมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังและแยกเป็นคนละส่วนจากการกระทำผิดครั้งแรกได้ จึงถือได้ว่า จำเลยกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการกระทำความผิดข้างต้น จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันตาม ป.อ.มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและการครอบครองรังนกที่ได้มาจากการกระทำผิด ถือเป็นคนละกรรม
พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมาตรา 5,7 และ 9 ห้ามกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นห้ามเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและห้ามมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นที่ได้มาโดยฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว จำเลยเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมีความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเป็นความผิดสำเร็จทันที ที่จำเลยเข้าเก็บรังนกอีแอ่น และเป็นการกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นไปพร้อมกันด้วย จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ส่วนที่จำเลยครอบครองรังนกอีแอ่นที่ได้มาจากการกระทำผิดต่อมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังและแยกเป็นคนละส่วนจากการกระทำผิดครั้งแรกได้ จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการกระทำผิดข้างต้นจึงเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การเลิกห้างและการมีอำนาจฟ้องหลังยังมิได้ชำระบัญชี
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันทำการค้าโดยโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ออกทุนด้วยเงินสด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นผู้ลงทุนด้วยแรงงานคือเป็นผู้ดำเนินกิจการค้า จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 และมาตรา 1026 แม้จะเรียกข้อตกลงนั้นว่าเป็นสัญญาร่วมค้าขายก็หาทำให้มิใช่เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองเลิกการเป็นหุ้นส่วนโดยยังไม่ได้จัดให้มีการชำระบัญชีก่อนตามมาตรา 1061 วรรคหนึ่ง ด้วยวิธีการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1062 เพียงแต่ทำการเคลียร์บัญชีแล้วพบว่าจำเลยที่ 1ถึงที่ 4 ต้องคืนทุนและกำไรบางส่วนให้โจทก์ทั้งสองเท่านั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 26