พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาควบคุมตัวเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กรรมสิทธิ์ยังอยู่เจ้าของเดิมจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยในสัญญาซื้อขายระบุว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่ยังไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากโจทก์ที่ 2 และที่ 5ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะโอนทันทีแสดงว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้นเพราะยังมีข้อตกลงจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันตามข้อตกลงในสัญญากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงอยู่แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ถึงจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ทั้งห้า จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ยันกับโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะขับไล่โจทก์ทั้งห้าออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจฯ และข้อจำกัดการฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่เกินสามปี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121(1) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแต่เนื่องจากมาตรา 122 กำหนดว่าในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ คดีจึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ แต่สำหรับการฎีกานั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 คงมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221โดยอาศัย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2ฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และส่งผลถึงสัญญาขายฝากที่ทำภายหลัง
จำเลยที่ 1 กับพวกวางแผนทำทีติดต่อขอซื้อที่ดินจากโจทก์ แล้วขอยืมโฉนดที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเอาไปถ่ายเอกสารแล้วทำโฉนดที่ดินพิพาทปลอมขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง พร้อมทั้งหลอกโจทก์ให้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินและเอกสารต่าง ๆ นำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 จึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนามาแต่ต้นว่าจะซื้อที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ไปทำสัญญาขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาไปด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119 เดิม จึงต้องถือเสมือนว่ามิได้มีการซื้อขายกันเกิดขึ้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์อยู่ตามเดิม และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาขายฝากกับจำเลยที่ 2 ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาขายฝากนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์หักเงินสะสมสวัสดิการชำระหนี้กู้ยืม การมีอำนาจฟ้อง และการต่อสู้คดีด้วยสิทธิอื่น
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจาก เงินเดือน เงินโบนัสหรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้)ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้ โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้ เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อม มี อำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อนเป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักหนี้จากเงินได้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับโทษจำคุกเมื่อจำเลยหลบหนี และการสอบคำให้การเพื่อเพิ่มโทษไม่ผูกพันการรับโทษเดิม
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย แต่จำเลยหลบหนีไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับจำเลยเพื่อมารับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในระหว่างหลบหนีนับแต่วันออกหมายจับเป็นต้นมา แม้ต่อมาจำเลยถูกจับและคุมขังในคดีอื่นอีกคดีหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งการควบคุมในคดีนี้ไว้ด้วย จึงต้องฟังว่าที่จำเลยถูกควบคุมตัวนับแต่วันที่ถูกจับตลอดมาเป็นการควบคุมในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งเท่านั้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้จึงต้องเริ่มนับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้ออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้
การที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งซึ่งรวมถึงในข้อที่จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกด้วย ก็เป็นการสอบข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์ขอเพิ่มโทษจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีนี้แล้วข้อเท็จจริงตามคำฟ้องจึงเป็นยุติ ไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องตรวจสอบการรับโทษของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะรับตัวจำเลยไว้รับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งซึ่งรวมถึงในข้อที่จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกด้วย ก็เป็นการสอบข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์ขอเพิ่มโทษจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีนี้แล้วข้อเท็จจริงตามคำฟ้องจึงเป็นยุติ ไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องตรวจสอบการรับโทษของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะรับตัวจำเลยไว้รับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยผู้รับโอนรู้อยู่แล้วว่าเป็นการโอนจากคู่สมรสโดยไม่สุจริต สิทธิในการเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วย กฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ และติดจำนองธนาคารเป็น ประกันหนี้เงินกู้จำนวน 1,000,000 บาท ต่อมา จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินกับบ้าน ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ราคา 1,300,000 บาท ปัญหาจึงมีว่าคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ที่วินิจฉัยว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะมีผลผูกพันและใช้ยันจำเลยที่ 2ได้หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2)บัญญัติว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์ที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถพิสูจน์แสดงสิทธิที่ดีกว่าได้ คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 รู้จักคุ้นเคยใกล้ชิดสนิทสนมกันมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้แนะนำให้โจทก์รู้จักจำเลยที่ 1 จนกระทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองประกอบธุรกิจด้วยกัน โจทก์อาศัยอยู่ในบ้านที่พิพาทเพียงลำพังคนเดียวและใช้บ้านพิพาทเป็นที่ตั้งบริษัทประกอบธุรกิจของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ออกไปอาศัยอยู่ที่อื่นต่างหากและจำเลยทั้งสองได้พูดคุยเกี่ยวกับการฟ้องหย่ากับโจทก์จึงมีเหตุผลเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงฐานะและความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาโดยตลอดและทราบว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงไม่อาจอ้างได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์คำพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงผูกพันจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย จึงเป็นการรับโอนโดย ไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ (ทนายความ): สิทธิเลิกสัญญา, ค่าจ้างตามผลงาน, และการประเมินค่าเสียหาย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุด และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงาน หรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้ข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้าง ไม่ว่าผู้ว่าจ้างจะเลิกสัญญาในชั้นใดหรือเวลาใดก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาด มิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนาย เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้น จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงเช่นว่าจึงมีผลบังคับได้
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลยผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสียในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่าจ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตาม ป.พ.พ.มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงานอันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคาค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนดในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเอง ซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคาค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมด และพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลยผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสียในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่าจ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตาม ป.พ.พ.มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงานอันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคาค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนดในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเอง ซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคาค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมด และพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ ค่าจ้างเมื่อเลิกสัญญาก่อนผลงานเสร็จสิ้น การพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุดและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้แม้ข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้างไม่ว่าผู้ว่าจ้างจะเลิกสัญญาในชั้นใดหรือเวลาใดก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนายเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้นจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงเช่นว่าจึงมีผลบังคับได้
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป