คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัธยา ดิษยบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน โดยมิได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะหนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้ & อายุความทางแพ่ง: ไม่กระทบความผิดอาญาเช็ค
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าพิมพ์หนังสือแก่โจทก์อันเป็นการรับฟังว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มี มูลหนี้อยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบ ให้เห็นชัดแจ้งถึงการสำคัญแห่งสัญญาว่าจ้าง และข้อเท็จจริง ที่ยืนยันว่าจำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยมีเจตนาทุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังว่าเช็คพิพาทที่จำเลยออก เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่ต้องด้วย การรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟัง ข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อ ปรากฏว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้ ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์ อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้อง คดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าว ก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การฟ้องอาญาไม่ตัดสิทธิการใช้สิทธิทางแพ่ง หากมูลหนี้ยังไม่ระงับ
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าพิมพ์หนังสือแก่โจทก์ อันเป็นการรับฟังว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้อยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงสาระสำคัญแห่งสัญญาว่าจ้าง และข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าจำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยมีเจตนาทุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังว่าเช็คพิพาทที่จำเลยออกเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่ต้องด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าวก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: ดอกเบี้ย, ค่าเสียหาย, ค่าทนายความ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า "ถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ"ดังนี้ เมื่อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้กำหนดจำนวน เงินไว้แน่นอนในกรณีจำเลยผู้กู้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีค่าใช้จ่ายในการติดตาม ทวงถามหนี้รายนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ตามข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศ กระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้เมื่อมิใช่เบี้ยปรับเพราะ ตามสัญญากู้ยืมเงินรายนี้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินที่ค้างชำระและต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้ ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่ง ในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า ให้ผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยืมยอมให้ถือว่าผิดนัดในหนี้ทั้งหมดและยอมให้ผู้ให้กู้ยืมฟ้องร้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดผิดสัญญานี้จากผู้กู้ยืมจนครบถ้วนได้ทันที และถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการซึ่งเป็นการตกลงให้จำเลยผู้กู้ต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน: ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้, อัตราดอกเบี้ย, และค่าทนายความที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า "ถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ" ดังนี้ เมื่อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนในกรณีจำเลยผู้กู้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีค่าใช้จ่ายในการติดตาม ทวงถามหนี้รายนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้เมื่อมิใช่เบี้ยปรับ เพราะตามสัญญากู้ยืมเงินรายนี้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินที่ค้างชำระและต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. แต่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า ให้ผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยืมยอมให้ถือว่าผิดนัดในหนี้ทั้งหมดและยอมให้ผู้ให้กู้ยืมฟ้องร้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดผิดสัญญานี้จากผู้กู้ยืมจนครบถ้วนได้ทันที" และถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดีและบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ" ซึ่งเป็นการตกลงให้จำเลยผู้กู้ต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้กฎหมายอิสลามในคดีครอบครัวและมรดก: การให้ทรัพย์สินระหว่างมีชีวิตอยู่
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาลของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพ.ร.บ.ดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตาม ป.พ.พ.เสียก่อน
คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลามที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ไม่ใช่การมรดก ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลพ.ศ. 2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียก่อน คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามลำดับชั้น
ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158 บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยที่ ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรนณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องมีใบแต่งทนายความที่ถูกต้อง หากศาลชั้นต้นละเลยหน้าที่ ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้พิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคสองบัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์ โดยที่ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและกรณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และจะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อม มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้วศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการรับผิดในกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป
of 26