คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัธยา ดิษยบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3575/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: แยกพิจารณาคดีจัดการมรดกและคดีแบ่งมรดกตามกฎหมาย
คดีจัดการมรดกกับคดีมรดกเป็นคดีคนละประเภทกัน อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสองส่วนคดีมรดกมีอายุความตามมาตรา 1754 แม้กองมรดกจะมีการตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่อาจจะทำให้สิทธิ เรียกร้องขอแบ่งมรดกของทายาทกลายเป็นคดีเกี่ยวกับการ จัดการมรดกไปได้ คดีที่ผู้จัดการมรดกถูกฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัด การมรดกอายุความย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1733 วรรคสอง คดีนี้จำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกหากเป็นทายาทหรือผู้สืบสิทธิของทายาท เมื่อถูกฟ้องขอให้แบ่งมรดกย่อมเป็นคดีมรดก อายุความย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1754 เมื่อคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยร่วมกันปิดบังทรัพย์มรดก ขอให้กำจัดมิให้รับมรดกด้วย ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยปิดบังทรัพย์มรดกจริง จำเลยก็ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก และถือว่าจำเลยมิใช่ทายาท อันจะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก คดีของโจทก์สำหรับจำเลย ก็ขาดอายุความไปแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัย ว่าจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่เสียก่อน แต่กลับ ไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยไม่ขาดอายุความจึงเป็นการข้ามขั้นตอน ศาลฎีกาชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็น เรื่องอายุความเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3575/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: แยกพิจารณาคดีจัดการมรดกและคดีแบ่งมรดก
คดีจัดการมรดกกับคดีมรดกเป็นคดีคนละประเภทกัน
โดยอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกมีอายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนคดีมรดกมีอายุความตามมาตรา 1754แม้กองมรดกจะมีการตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่อาจจะทำให้สิทธิเรียกร้องขอแบ่งมรดกของทายาทกลายเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไปได้ คดีที่ผู้จัดการมรดกถูกฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก อายุความย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1733 วรรคสอง คดีนี้จำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกหากเป็นทายาทหรือผู้สืบสิทธิของทายาท เมื่อถูกฟ้องขอให้แบ่งมรดกย่อมเป็นคดีมรดก อายุความย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 1754 เมื่อคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมกันปิดบังทรัพย์มรดก ขอให้กำจัดมิให้รับมรดกด้วย ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยปิดบังทรัพย์มรดกจริง จำเลยก็ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก และมื่อถูกกำจัดมิให้รับมรดกย่อมถือว่ามิใช่ทายาทอันจะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก คดีของโจทก์สำหรับจำเลยก็ขาดอายุความไปแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่เสียก่อน แต่กลับไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยไม่ขาดอายุความจึงเป็นการข้ามขั้นตอน ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นเรื่องอายุความสำหรับจำเลยเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสในกฎหมายอิสลาม: การปรับใช้ ป.พ.พ. เมื่อกฎหมายอิสลามไม่ได้บัญญัติชัดเจน
แม้โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาสซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยการนั้นก็ตาม แต่เนื่องจากกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติไว้ว่าทรัพย์สินที่ซื้อมาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสระหว่างผู้ซื้อกับคู่สมรสหรือเป็นสินส่วนตัวของผู้ซื้อ จึงต้องใช้ ป.พ.พ.มาปรับแก่กรณี
โจทก์สมรสกับจำเลยตามกฎหมายอิสลามตั้งแต่ พ.ศ.2521และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยซื้อมาจากเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสในความเชื่ออิสลาม: ทรัพย์สินที่ซื้อระหว่างสมรสเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิก อยู่ในจังหวัดนราธิวาสซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว และมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการนั้นก็ตาม แต่เนื่องจากกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว และมรดกไม่มีบัญญัติไว้ว่าทรัพย์สินที่ซื้อมาระหว่างสมรส เป็นสินสมรสระหว่างผู้ซื้อกับคู่สมรสหรือเป็นสินส่วนตัว ของผู้ซื้อ จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับแก่กรณี โจทก์สมรสกับจำเลยตามกฎหมายอิสลามตั้งแต่ พ.ศ. 2521และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยซื้อมาจากเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้มีการโอน ย่อมผูกพันผู้รับโอน
เมื่อโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล และจำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมที่โจทก์ได้มา จำเลยเพิกเฉย แม้จำเลยจะมิได้กระทำการป้องกันหรือขัดขวางมิให้โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ดำเนินการไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้แก่โจทก์ตามกฎหมายก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ควรจะได้จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอม จึงเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมของโจทก์อย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยมิให้ป้องกัน ขัดขวางการใช้ทางพิพาทของโจทก์และบริวารเป็นเพียงคำขอบังคับล่วงหน้าเพื่อป้องกันมิให้จำเลยขัดขวางการใช้ทางพิพาทเท่านั้น จึงไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องมีการกระทำตามที่โจทก์ขอบังคับก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้อง ส.เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382จึงเป็นการที่โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรค 2 เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และเนื่องจากภาระจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะภาระจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์แม้จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภาระจำยอมก็หาได้หมดสิ้นไป เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น ภาระจำยอมจึงจะระงับดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกติดกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม โดย อายุความ ตาม คำพิพากษา ของ ศาล โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลย เจ้าของ ภารยทรัพย์ ไป ดำเนินการ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ที่ โจทก์ ได้ มา แต่ จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ จึง ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ เจ้าของ ภารยทรัพย์ ให้ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ให้ แก่ โจทก์ ได้ คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง ส . เจ้าของ ภารยทรัพย์ ที่ จำเลย รับโอน ต่อมา โดย จำเลย มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี นั้น ก็ ตาม แต่เมื่อ คดี ก่อน ศาล มี คำพิพากษา ว่า โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม ใน ทางพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382 จึง เป็น กรณี ที่ โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม อันเป็น ทรัพย์ สิทธิ อัน เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ โดย ทาง อื่น นอกจาก ทาง นิติกรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เป็น ทรัพย์ สิทธิ คน ละ ประเภท กับ กรรมสิทธิ์ ที่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ มีอำนาจ ใน อสังหาริมทรัพย์ ของ ตนเอง และ ภารจำยอม เป็น ทรัพย์ ที่ กฎหมาย บัญญัติ เพื่อ ประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ มิได้ มุ่ง เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคล หนึ่ง บุคคล ใด โดยเฉพาะ ภารจำยอม จึง ย่อม ตก ติด ไป กับ อสังหาริมทรัพย์ ที่ เป็น สามยทรัพย์ และ ภารยทรัพย์ แม้ จะ มี การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ไป ให้ แก่ บุคคลอื่น ภารจำยอม ก็ หา ได้ หมดสิ้น ไป ไม่ เว้นแต่ กรณี จะ ต้อง ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่า จำเลย จะ รับโอน ที่พิพาท มา โดยสุจริต หรือไม่ ก็ ตาม ก็ ไม่อาจ จะ ยกขึ้น ต่อสู้ กับ สิทธิ ภารจำยอม ของ โจทก์ ได้ คำพิพากษา ศาล ดังกล่าว จึง ผูกพัน จำเลย ด้วย ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าของ ภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษตามมาตรา 58 วรรคแรก แม้โจทก์มิได้ขอ และศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้
เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจ ของพนักงานคุมประพฤติทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลย เคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่าง ที่ยังไม่ครบ 2 ปี จำเลยได้มา กระทำความผิดคดีนี้อีกดังนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตามมาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย เพราะกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วยและมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจยกขึ้นอ้างได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดฐานทำและมีสุรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราโดยมิได้รับอนุญาต และมาตรา 32บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 สุราตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวหมายความถึงทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ เมื่อจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกันโดยการทำสุรากลั่นและสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกันกรรมหนึ่ง และการมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยทุกกระทงความผิดตามฟ้องไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำและมีสุราเถื่อน: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวกันและการแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 มาตรา 5 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราโดยมิได้รับอนุญาต และมาตรา 32 บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 นั้น สุราตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวหมายความถึงทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ เมื่อจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกันการทำสุรากลั่นและสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และการมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยทุกกระทงความผิดตามฟ้องไม่ถูกต้องปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 26