พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องแสดงการยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างโจทก์ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดระบุไว้ชัดเจนว่า ขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามด้วยความสมัครใจเอง อ้างว่ายังมีสิทธิที่จะยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำให้การตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น แต่คำร้องสอดหาได้แสดงเช่นที่กล่าวมาแล้วไม่ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดของผู้ร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องแสดงการยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ชัดเจน จึงจะชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทปลูกในที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ขอศาลอนุญาตให้เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีเป็นเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคหนึ่งคำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแต่คำร้องสอดหาได้แสดงเช่นที่กล่าวมาแล้วไม่ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ ศาลไม่รับคำร้องสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้รับเหมาไม่ปฏิบัติตามสัญญา
พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ลงมือก่อสร้างอาคารหรือทำงานล่าช้าหยุดงานบ่อยจนผลงานไม่ปรากฏล้วนอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอด โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยน่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญา และยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก โดยโจทก์บอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วถึง 11 เดือน และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์กำหนดให้สัญญามีผลเลิกกันนั้น ล่วงเลยวันที่สัญญาครบกำหนดอายุแล้วนานถึง 6 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญอย่างอื่นให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าวโจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้างบริษัทท. ให้ทำการก่อสร้างอาคารต่อจากที่จำเลยทำไว้จนแล้วเสร็จหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วเป็นเวลา1 ปี 7 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า จึงเห็นได้ว่าความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงทวีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19(1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ สัญญาจ้างข้อ 19(1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลย ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติ ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้อง เอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญา ข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19(1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยัง มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย ตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตาม สัญญาข้อ 19 วรรคท้าย สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิ ที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิ ทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลย แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวัน ในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอา ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แล้ว เพราะ หลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญา ทันที่ จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับ สัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิ ในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญา ข้อ 19(1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง มาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆตามสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าปรับรายวันควบคู่กันได้ หากโจทก์แสดงเจตนาชัดเจนและมีการดำเนินการตามสิทธิ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ลงมือก่อสร้างอาคารหรือทำงานล่าช้าหยุดงานบ่อยจนผลงานไม่ปรากฏ ล้วนอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอด โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยน่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญา และยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก โดยโจทก์บอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วถึง11 เดือน และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์กำหนดให้สัญญามีผลเลิกกันนั้น ล่วงเลยวันที่สัญญาครบกำหนดอายุแล้วนานถึง 6 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญอย่างอื่นให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าว โจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ท.ให้ทำการก่อสร้างอาคารต่อจากที่จำเลยทำไว้จนแล้วเสร็จ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วเป็นเวลา 1 ปี 7 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า จึงเห็นได้ว่าความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงทวีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
สัญญาจ้างข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย
สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้
เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ ตามสัญญาก็ตาม
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
สัญญาจ้างข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย
สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้
เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ ตามสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์: ผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดูมีอำนาจฟ้องได้เมื่อมารดาไม่สามารถทำหน้าที่ผู้แทนได้
พ.มิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ น.ได้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 277 แม้ตามคำฟ้องจะระบุว่า น.ผู้เยาว์โดย พ.บิดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ แต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า น.เป็นบุตรของโจทก์อันเกิดกับ ร.ภรรยาของโจทก์ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และ ร.หนีออกจากบ้านตั้งแต่ น.ยังเล็กอยู่พ.เป็นผู้ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา และให้ น.ใช้นามสกุล กรณีเป็นเรื่องมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ น.ผู้เยาว์ไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ดังนั้น ญาติของ น.ผู้เยาว์หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องจึงอาจร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 6 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ถือได้โดยปริยายว่า ศาลชั้นต้นตั้งให้พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีตามกฎหมาย อีกทั้งยังปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีคำสั่งตั้ง พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีอีกด้วย เช่นนี้ พ.จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยแทน น.ผู้เยาว์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง การกระทำโดยรู้เห็นเป็นใจถือเป็นความผิดร่วม การอยู่ในเหตุการณ์โดยไม่ห้ามปรามไม่ถือเป็นความผิดร่วม
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเพียงผู้เดียวที่ประสบเหตุการณ์รายนี้เป็นพยาน ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุเพียง13 ปีเศษ และกำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ทั้งไม่ปรากฏเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน คำเบิกความของผู้เสียหายมีรายละเอียดลำดับเรื่องราวเชื่อมโยง กันสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถ้อยคำไม่มีข้อพิรุธให้ระแวงสงสัยว่าผู้เสียหายจะนึกคิดเสริมแต่งเรื่องราวขึ้นมาปรักปรำผู้ใดให้ต้องรับโทษ ประกอบกับการที่ผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทำชำเราเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้เสียหายต้องอับอายเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล กรณีไม่มีเหตุผลที่ผู้เสียหายจะต้องกลั่นแกล้งกล่าวหาผู้ใดหากไม่เป็นความจริง อีกทั้งคำเบิกความของผู้เสียหายก็ตรงไปตรงมาตามความจริงที่ตนประสบจึงมีน้ำหนักรับฟัง นอกจากนี้โจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยทั้งสี่เป็นพยานยืนยันว่า ในชั้นจับกุมพยานแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสี่ว่าร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพจึงย่อมสนับสนุนถ้อยคำของผู้เสียหายให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้นและรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ประกอบมาตรา 83 ในระหว่างมีการกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยที่ 3อยู่รู้เห็นเหตุการณ์เวลาที่จำเลยที่ 2 กับ ด.และป. ชวนกันจับขา ปิดตา และถอดกางเกงของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 พูดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายร้องพฤติกรรมของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3มีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1และ ป. จะเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตามลำพังแต่ละคนก็ตาม แต่สภาพของผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง จำเลยที่ 4 เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันโทรมเด็กหญิงเท่านั้นโดยจำเลยที่ 4 นั่งดมกาวอยู่บนรถสามล้อเครื่อง ภายในห้องเกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ได้กระทำการใดที่แสดงว่ามีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วยการที่จำเลยที่ 4 ไม่ได้พูดห้ามปรามผู้กระทำ ความผิดรายนี้ ซึ่งมีแต่พวกวัยรุ่นเพื่อของจำเลยที่ 4 รวม 5 คน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองได้ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกระทำความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง, เจตนาในการกระทำความผิด, การร่วมกระทำความผิด, พยานหลักฐาน, สภาพจิตใจผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเพียงผู้เดียวที่ประสบเหตุการณ์รายนี้เป็นพยาน ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุเพียง 13 ปีเศษ และกำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน คำเบิกความของผู้เสียหายมีรายละเอียดลำดับเรื่องราวเชื่อมโยงกันสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถ้อยคำไม่มีข้อพิรุธให้ระแวงสงสัยว่าผู้เสียหายจะนึกคิดเสริมแต่งเรื่องราวขึ้นมาปรักปรำผู้ใดให้ต้องรับโทษ ประกอบกับการที่ผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทำชำเราเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้เสียหายต้องอับอายเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล กรณีไม่มีเหตุผลที่ผู้เสียหายจะต้องกลั่นแกล้งกล่าวหาผู้ใดหากไม่เป็นความจริง อีกทั้งคำเบิกความของผู้เสียหายก็ตรงไปตรงมาตามความจริงที่ตนประสบจึงมีน้ำหนักรับฟัง นอกจากนี้โจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยทั้งสี่เป็นพยานยืนยันว่า ในชั้นจับกุมพยานแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสี่ว่าร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพ จึงย่อมสนับสนุนถ้อยคำของผู้เสียหายให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น และรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ได้ร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 277 ประกอบมาตรา 83
ในระหว่างมีการกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยที่ 3 อยู่รู้เห็นเหตุการณ์เวลาที่จำเลยที่ 2 กับ ด.และ ป.ช่วยกันจับขา ปิดตา และถอดกางเกงของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 พูดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายร้อง พฤติกรรมของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1และ ป.จะเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตามลำพังแต่ละคนก็ตาม แต่สภาพของผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง
จำเลยที่ 4 เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3กระทำความผิดฐานร่วมกันโทรมเด็กหญิงเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 นั่งดมกาวอยู่บนรถสามล้อเครื่องภายในห้องเกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ได้กระทำการใดที่แสดงว่ามีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย การที่จำเลยที่ 4 ไม่ได้พูดห้ามปรามผู้กระทำความผิดรายนี้ ซึ่งมีแต่พวกวัยรุ่นเพื่อนของจำเลยที่ 4 รวม5 คน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองได้ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกระทำความผิดด้วย
ในระหว่างมีการกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยที่ 3 อยู่รู้เห็นเหตุการณ์เวลาที่จำเลยที่ 2 กับ ด.และ ป.ช่วยกันจับขา ปิดตา และถอดกางเกงของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 พูดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายร้อง พฤติกรรมของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1และ ป.จะเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตามลำพังแต่ละคนก็ตาม แต่สภาพของผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง
จำเลยที่ 4 เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3กระทำความผิดฐานร่วมกันโทรมเด็กหญิงเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 นั่งดมกาวอยู่บนรถสามล้อเครื่องภายในห้องเกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ได้กระทำการใดที่แสดงว่ามีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วย การที่จำเลยที่ 4 ไม่ได้พูดห้ามปรามผู้กระทำความผิดรายนี้ ซึ่งมีแต่พวกวัยรุ่นเพื่อนของจำเลยที่ 4 รวม5 คน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองได้ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกระทำความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกความผิดร่วม vs. ความผิดส่วนบุคคลในคดียาเสพติด และการปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามปริมาณยาเสพติด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษ คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 115.4 กรัม ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและพยายามร่วมกันส่งเฮโรอีนจำนวนดังกล่าว ออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามแต่ละคนสมัครใจนำยาเสพติดตามจำนวน ที่แต่ละคนต้องการติดตัวไปเท่านั้น มิได้ร่วมกันกระทำผิด และพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง,65 วรรคสอง,66 วรรคสอง การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ดังนี้ เมื่อโจทก์ มิได้อุทธรณ์จึงต้องฟังตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยทั้งสาม มิได้ร่วมกันกระทำผิดที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสาม ร่วมกันกระทำผิดจึงไม่ถูกต้อง แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 และมาตรา 83โดยลงโทษเท่าเดิมนั้น เป็นเพียงปรับบทกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าถูกต้องเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษ อย่างไรก็ตามศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต่างมีเฮโรอีนแยกต่างหากจากกันมิได้กระทำผิดร่วมกันในลักษณะตัวการ เมื่อเฮโรอีน ที่จำเลยแต่ละคนมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จึงเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อพิพาทค้างคawาน หากสิทธิเรียกร้องมีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จะต้องอยู่ ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้อง ใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมา หักกลบลบหนี้กันไม่ได้ เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขาย ได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงิน ค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้น หรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงิน จำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลยจึงเป็น สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้า ครั้งหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อพิพาท: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้