พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ คดีอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระบุว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์โดยจะขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์งวดแรกภายในหนึ่งสัปดาห์นับแต่วันนี้เป็นเงิน 60,000 บาทและงวดต่อไปอีกงวดละ 60,000 บาท ไปจนครบรวม 10 งวดโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาที่ศาลนี้ ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิมยังอยู่ส่วนที่นำหนี้อื่นมารวมผ่อนชำระด้วยก็เพียงเพื่อความสะดวกไม่ต้องทำหนังสือหลายฉบับ ทั้งมิได้มีการเพิ่มเติมลูกหนี้แต่อย่างใดเพราะโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ดังกล่าวจนครบ จึงจะถือว่าคดี อาญาระงับ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การทำหนังสือดังกล่าวหาทำให้คดีอาญาเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ไม่ สิทธินำคดี อาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย มีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใด ศาลหนึ่งได้ ซึ่งก็ได้แก่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอันเป็น ศาลที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติ และศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดี เยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่จำเลยกระทำความผิดฉะนั้น เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยอยู่แล้ว จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนิน การสอบสวน ไม่อาจนำมาตรา 51 วรรคท้ายมาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดย ไม่ได้ขอผัดฟ้องหรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตขายที่ดินของผู้เยาว์: พิจารณาความจำเป็น, ฐานะ, โอกาสทางการศึกษา และอนาคตของผู้เยาว์
ผู้ร้องและผู้เยาว์มีบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งไม่มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้ร้องประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีรายได้ประจำเดือนละ 50,000 บาทแม้จะต้องใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูแก่บิดามารดาของผู้ร้อง แต่ก็ต้องกันรายได้ให้เหลือเพียงพอแก่การครองชีพของผู้ร้องบ้าง การที่พี่ชายของผู้เยาว์มีโครงการจะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และผู้เยาว์ต้องการเงินไปฝากธนาคารไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และสำรองเก็บไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินนั้น มิใช่เป็น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ผู้เยาว์จำเป็น จะต้องขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ผู้เยาว์ได้รับเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท เมื่อคำนึงถึงฐานะและวัยของผู้เยาว์แล้ว เงินจำนวนดังกล่าว หากใช้จ่ายพอประมาณและแบ่งเก็บไว้บ้างบางส่วนเป็นค่าใช้จ่าย ในการศึกษาคงไม่ถึงกับขัดสนหรือเดือดร้อนแม้ที่ดินของผู้เยาว์ จะได้มาจากการยกให้ของผู้ร้องและบิดาผู้เยาว์ และบิดาผู้เยาว์ ไม่ขัดข้องที่จะขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้เยาว์มีอายุ 18 ปีเศษแล้ว อีกไม่นานก็จะบรรลุนิติภาวะและสามารถจัดการทรัพย์สินของตนเอง ได้ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ในอนาคต สมควรปล่อยให้ผู้เยาว์ ได้มีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาอันควร อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์มากกว่า เพราะราคาที่ดิน มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงยังไม่มีเหตุที่จะอนุญาต ให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเปิดทางจำเป็นและการวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้อื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เส้นทางต่าง ๆ ที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายราย จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้าน ส.ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะประมาณ 100 เมตร แต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนสาธารณะไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะ เส้นทางที่สองและที่สามจะต้องผ่านรั้วของ ก. และใช้ถนนของ ก.ซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะเช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้นเมื่อผ่านที่ดินของบริษัท ส. ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้ว ก็ต้องข้ามคลองมีสะพานไม้สำหรับคนเดินข้าม และเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกส่วนเส้นทางอีกเส้นหนึ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ ก็มิใช่ทางสาธารณะ หากโจทก์หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินก่อน จึงเป็นทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่าทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้เมื่อเส้นทางพิพาทเส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 180 เมตรแล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตร ก็ถึงถนนสาธารณะ เป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่าบางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่ และที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียหายมากนัก โจทก์ย่อมมีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองได้
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตร ที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตร เมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำ รถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตร ที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตร เมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำ รถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น ค่าทดแทน และการวางท่อสาธารณูปโภคบนที่ดินของผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้อื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เส้นทางต่าง ๆ ที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายราย จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้าน ส. ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะประมาณ 100 เมตรแต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนสาธารณะไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะ เส้นทางที่สองและที่สาม จะต้องผ่านรั้วของ ก. และใช้ถนนของ ก. ซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะเช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้น เมื่อผ่านที่ดินของบริษัทส. ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้ว ก็ต้องข้ามคลองมีสะพานไม้ สำหรับคนเดินข้าม และเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่า มีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกส่วนเส้นทาง อีกเส้นหนึ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ ก็มิใช่ทางสาธารณะ หากโจทก์ หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินก่อน จึงเป็น ทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่า ทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้ เมื่อเส้นทางพิพาทเส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 180 เมตรแล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตร ก็ถึงถนนสาธารณะ เป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่า บางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่ และที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสอง เสียหายมากนัก โจทก์ย่อมมีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดิน ของจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรม และบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่ จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตรที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตรเมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำรถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชน กรณีศาลกำหนดวิธีการตามมาตรา 104 พ.ร.บ.เยาวชน
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 บัญญัติว่า คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ... (2) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 เว้นแต่ในกรณีที่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นการพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี และมาตรา 122 บัญญัติว่า ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัว เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ตามบทกฎหมายดังกล่าวคงมีความหมายว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้วย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน และคู่ความจะอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้น สำหรับการฎีกานั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 บัญญัติว่า คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ด้วยเช่นกรณีอุทธรณ์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 1 ปี 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันพิพากษา คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 1 ปี 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันพิพากษา คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่และเรียกค่าเสียหาย: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานถือเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่อาจฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อ้างว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดและเรียกค่าเสียหายเท่ากับอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะสัญญาซื้อขายทรัพย์สินพิพาทระหว่างจำเลยกับส.เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงินและโจทก์คบคิดกับส.โอนทรัพย์สินพิพาทโดยฉ้อฉล ทั้งโจทก์มิได้เสียหายอย่างใดจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ10,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองจำเลยฎีกาว่าจำเลยกับ ส.ไม่มีเจตนาซื้อขายทรัพย์สินพิพาทแต่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน และที่ ส. โอนขายทรัพย์สินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย ทั้งค่าเช่าในทรัพย์สินพิพาทไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท นั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ถือเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุเปลี่ยนทนายความไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษหากจำเลยปล่อยปละละเลย
ในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อ้างเหตุว่า คดีครบกำหนดที่จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ แต่เนื่องจากจำเลยได้ถอนทนายความเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ ซึ่งทนายความคนใหม่ไม่ทราบรายละเอียดในการดำเนินคดีตั้งแต่ต้นเพื่อทำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาล จำเลยจึงขอขยายระยะเวลา ยื่นอุทธรณ์ออกไป 20 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์ เพื่อให้ทนายความคนใหม่ได้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆซึ่งมีเอกสารที่เกี่ยวข้องหลายฉบับพยานบุคคลหลายปากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามคำร้องของ จำเลยเช่นนี้ส่อแสดงว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการในระยะเวลาอันควรเพื่อยื่นอุทธรณ์เสียตั้งแต่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาทั้งที่มีระยะเวลานานถึง 1 เดือน จำเลยกลับปล่อยปละละเลยไม่สนใจคดีของตนจนกระทั่งวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์จึงเพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อ้างเหตุเปลี่ยนทนายความ กรณีนับเป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง และพฤติการณ์เป็นการประวิงคดีให้ล่าช้ามิใช่พฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุเปลี่ยนทนายความมิใช่เหตุจำเป็นเร่งด่วน – ละเลยการดำเนินการยื่นอุทธรณ์
ในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อ้างเหตุว่า คดีครบกำหนดที่จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ แต่เนื่องจากจำเลยได้ถอนทนายความเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ ซึ่งทนายความคนใหม่ไม่ทราบรายละเอียดในการดำเนินคดีตั้งแต่ต้นเพื่อทำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาล จำเลยจึงขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 20 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์ เพื่อให้ทนายความคนใหม่ได้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งมีเอกสารที่เกี่ยวข้องหลายฉบับพยานบุคคลหลายปาก เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามคำร้องของจำเลยเช่นนี้ส่อแสดงว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการในระยะเวลาอันควรเพื่อยื่นอุทธรณ์เสียตั้งแต่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ทั้งที่มีระยะเวลานานถึง 1 เดือน จำเลยกลับปล่อยปละละเลยไม่สนใจคดีของตนจนกระทั่งวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงเพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อ้างเหตุเปลี่ยนทนายความ กรณีนับเป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง และพฤติการณ์เป็นการประวิงคดีให้ล่าช้า มิใช่พฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในการขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้มิใช่ทายาทโดยธรรม
คำว่า "ผู้มีส่วนได้เสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 หาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณีไม่ การที่ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับส. ผู้ตายในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตายถือได้ว่ามีส่วนได้เสียแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้