พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก: กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินเป็นเหตุให้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง คำว่า ผู้มีส่วนได้เสียหาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณีไม่
ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับผู้ตายในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับผู้ตายในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่งคำว่า ผู้มีส่วนได้เสียหาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณีไม่ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับผู้ตายในที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วน ได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ และมีสิทธิรับชำระค่าเช่าซื้อจนกว่าจะผิดสัญญา
ผู้ร้องเป็นเพียงบริษัทที่มีวัตถุประสงค์นำรถจักรยานยนต์ออกให้เช่าซื้อเท่านั้น เมื่อผู้นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในการกระทำผิดคือจำเลยที่ 2 เพื่อนของบุตรชาย พ.ผู้เช่าซื้อซึ่งได้ยืมรถจักรยานยนต์ไปใช้ในการกระทำความผิดโจทก์เองก็นำสืบไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ส่วนการที่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบจักรยานยนต์ของกลางแล้วผู้ร้องยังรับชำระค่าเช่าซื้ออีก 9 งวดนั้น ก็เป็นสิทธิของผู้ร้องที่จะรับชำระค่าเช่าซื้อไว้ ผู้ร้องไม่จำเป็น ที่จะต้องบอกเลิกสัญญาและติดตามเอารถจักรยานยนต์ ของกลางคืน และมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนได้ จะถือว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสาธารณะ: สิทธิของโจทก์และการอุทิศที่ดิน
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ประเด็นในเรื่องนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและพิพากษาใหม่แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา144
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว การซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาครั้งแรกได้วินิจฉัยเพียงว่า ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะขายที่ดินของตนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในครั้งแรกแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนในโครงการศูนย์การค้าที่จัดสรรทุกสายซึ่งรวมถึงถนนที่ที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยผลของการแสดงเจตนาอุทิศดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็ตาม ก็ต้องถือว่าเจ้าของเดิมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฎษฎีกา
ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนโจทก์จะรับโอนที่ดินมา การรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่มีสิทธิยึดถือที่ดินพิพาทเอาเป็นของตนเองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว การซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาครั้งแรกได้วินิจฉัยเพียงว่า ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะขายที่ดินของตนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในครั้งแรกแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนในโครงการศูนย์การค้าที่จัดสรรทุกสายซึ่งรวมถึงถนนที่ที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยผลของการแสดงเจตนาอุทิศดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็ตาม ก็ต้องถือว่าเจ้าของเดิมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฎษฎีกา
ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนโจทก์จะรับโอนที่ดินมา การรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่มีสิทธิยึดถือที่ดินพิพาทเอาเป็นของตนเองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินสาธารณประโยชน์โดยมิชอบทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องรุกล้ำที่ดิน
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ประเด็นในเรื่องนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและพิพากษาใหม่แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้ง ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว การซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาครั้งแรกได้วินิจฉัยเพียงว่า ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะขายที่ดินของตนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนี้อีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในครั้งแรกแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดย ไม่ต้องย้อนสำนวน เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนในโครงการศูนย์การค้าที่จัดสรรทุกสายซึ่งรวมถึงถนนที่ที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยผลของการแสดงเจตนาอุทิศดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนก็ตาม ก็ต้องถือว่าเจ้าของเดิมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่ง บทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนโจทก์จะรับโอนที่ดินมา การรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่มีสิทธิยึดถือที่ดินพิพาทเอาเป็นของตนเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา: ความสอดคล้องของคำเบิกความกับพยานหลักฐานอื่น และเหตุผลที่น่าเชื่อถือ
คำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาจะมีน้ำหนักน่ารับฟัง หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ต้องพิเคราะห์รายละเอียดเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นข้อประกอบศาลจึงอาจหยิบยกข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏเกี่ยวข้องกับคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นสอบสวนมาเปรียบเทียบได้หาได้ถูกจำกัดให้รับฟังได้แต่เฉพาะคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา ในขณะเดียวกันคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนจะมีน้ำหนักน่ารับฟังมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ปรากฏ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การร่วมกันปล้นทรัพย์: ความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลและคำรับสารภาพ
พยานจำคนร้ายว่าเป็นจำเลย และ ม.เพราะรู้จักมาก่อนและเห็นโดยอาศัยแสงตะเกียงที่ศีรษะไว้ส่องเวลากรีดยางซึ่ง ย่อมส่องสว่างพอให้มองได้ชัดในระยะ 3 ถึง 5 เมตร หลังเกิดเหตุ ได้ไปบ้าน ท. พ่อตาของจำเลยบอกว่าจำเลยเป็นคนร้ายคนหนึ่งทันที ท. ขอร้องไม่ให้แจ้งความ รับจะจัดการเองและจะจ่ายค่าเสียหายให้ส่วน จ. ซึ่งเป็นกำนันได้แจ้งวันเกิดเหตุจากผู้เสียหายว่าถูกคนร้ายลักทรัพย์จึงถามเรื่องคนร้าย ท. บอกว่าจำเลยเป็นคนร้ายและรับปากว่าจะเจรจาเรียกค่าเสียหายให้ผู้เสียหายยินยอม ทั้งจำเลยเข้ามอบตัว ให้การรับสารภาพ และนำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้ที่เกิดเหตุ ถ่ายรูปไว้ ประกอบกับจำเลยให้การในชั้นสอบสวนอย่างละเอียด เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยโดยเฉพาะยากที่ พนักงานสอบสวนจะเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาเองได้ พยานหลักฐานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมปล้นทรัพย์ผู้เสียหายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีชิงทรัพย์โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ขณะที่คนร้ายขับจักรยานยนต์ผ่านผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้สังเกต เมื่อคนร้ายหยุดรถผู้เสียหายไม่สนใจว่า จะหยุดรถทำไมจนกระทั่งคนร้ายลงจากรถจักรยานยนต์ เข้ามาตบที่กกหูด้านซ้ายของผู้เสียหายแล้วกระชากสร้อยคอทองคำไป ผู้เสียหายไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดเหตุการณ์ในระยะเวลากะทันหันเช่นนั้น ผู้เสียหายเป็นผู้หญิงย่อมตกใจกลัวเป็นธรรมดา ทั้งได้ความว่าเมื่อถูกตบแล้วรู้สึกมึนงงดังนั้น ที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำจำเลยได้จึงเป็นที่น่าสงสัยอยู่ส่วนที่อ้างว่าจำจำเลยได้เพราะจำเลยสวมกางเกงขาสั้นสีดำและเสื้อยืดคอกลมสีน้ำเงินนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเสื้อยืดที่คนร้ายสวมใส่มีลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นที่จะทำให้จดจำได้ง่ายทั้งเป็นเสื้อผ้าธรรมดาที่คนทั่วไปสวมใส่กัน เมื่อผู้เสียหายตามไปพบจำเลยและได้กล่าวหาจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ กระชากสร้อยคอทองคำไป ผู้เสียหายจงให้ พ. ไปตามเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ถ้าจำเลยเป็นคนร้ายจริงจำเลยย่อมหลบหนีไปเสียตั้งแต่ตอนนั้นคงไม่อยู่รอให้เจ้าพนักงานตำรวจมาจับกุมจำเลยเป็นแน่ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธตลอดมาทั้งของกลางก็ไม่ได้จากตัวจำเลย พยานหลักฐานโจทก์จึงยังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเยาวชน: เกณฑ์การกำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี และข้อยกเว้นกำหนดเวลาฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วย แต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ และกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: กรณีพนักงานสอบสวนในเขตอำนาจศาล
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวและคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วพนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วยแต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้วแม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตามกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่และหากพนักงานอัยการมีเหตุ จำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับถูกแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด