คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัธยา ดิษยบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แม้ไม่ใช่ความผิดตนเอง ต้องให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ
กรณีที่รถเก๋งที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกหกล้อที่จำเลยที่ 2 ขับสวนทางกัน รถทั้งสองคันได้รับความเสียหายแม้ว่าความเสียหายนั้นจะมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 หลบหนี ไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร ทั้งไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในแผ่นป้ายทะเบียนรถเมื่อเลิกสัญญาเดินรถร่วม: ผู้ประกอบการขนส่งต้องคืนทะเบียนให้นายทะเบียน
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถระบุว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ส่วนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ ประกอบกับสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการของโจทก์และจำเลยระบุให้จำเลยมีอำนาจบอกเลิกสัญญาหรือถอนรถออกจากการเป็นรถร่วมได้ทันที เมื่อโจทก์ได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถมาโดยผลจากการทำสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการในเส้นทางสัมปทานของจำเลย และจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวโดยชอบแล้ว ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะเลิกใช้รถยนต์โดยสาร จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบและคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถแก่นายทะเบียนตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มิฉะนั้นจำเลยจะมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา 143 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นไว้ จำต้องส่งคืนให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในแผ่นป้ายทะเบียนรถเมื่อเลิกสัญญาเดินรถ: จำเลยมีหน้าที่คืนนายทะเบียน, โจทก์ไม่มีสิทธิยึดถือ
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นเอกสารราชการระบุว่า จำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ส่วนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ ทั้งสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการของโจทก์และจำเลยก็ระบุให้จำเลยมีอำนาจบอกเลิกสัญญาหรือถอนรถออกจากการเป็นรถร่วมได้ทันที การที่โจทก์ได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถมาโดยผลจากการทำสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการในเส้นทางสัมปทานของจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการกับโจทก์แล้วพอถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะเลิกใช้รถยนต์โดยสารแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนประจำจังหวัดทราบและต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนรถดังกล่าวคืนแก่นายทะเบียนตามมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นจำเลยจะมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตาม มาตรา 143 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยึดแผ่นป้ายทะเบียนรถนั้นไว้ และต้องส่งคืนให้แก่จำเลยเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงิน, การยอมรับสภาพหนี้, ผลกระทบการตายของผู้กู้ต่ออายุความ, การฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาอย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทางแพ่งหลังผู้กู้เสียชีวิต: การพิจารณาอายุความสะดุดหยุดชะงักและการรู้ถึงการเสียชีวิต
เมื่อ ร. ลูกหนี้ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของ ร. จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้ มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามและวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/23 ทั้งนี้เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย
การจะวินิจฉัยปัญหาว่าคดีโจทก์ถ้าขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้ายหรือไม่ จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเสียก่อนว่าโจทก์ได้ทราบเรื่อง ร. ถึงแก่ความตายเมื่อใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด ทั้งคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 31,056.50 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ ของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการมีอำนาจฟ้องในคดีขับไล่ กรณีผู้ขายที่ดินอ้างสิทธิภายหลังการส่งมอบการครอบครอง
โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยจำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนเองมาโดยตลอด การที่โจทก์กลับมาอ้างสิทธิว่าเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01) ที่ได้ในภายหลังนั้นและมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทั้งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหลังการซื้อขายที่ดิน: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ขายที่ดินให้แก่จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนเองมาโดยตลอด การที่โจทก์กลับมาอ้างสิทธิว่าเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01)ซึ่งเป็นการได้ภายหลังจากนั้นและมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: การฟ้องคดีเกิน 2 ปี นับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทำให้คดีขาดอายุความ
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินประกอบธุรกิจใช้บริการโทรศัพท์ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้น สิทธิเรียกร้องค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า2 ปี นับแต่วันที่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าใช้บริการคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบวกกับโทษใหม่ ต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยยอมรับการเคยต้องโทษในคดีก่อน
การที่จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ศาลพิพากษาในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 นั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานก็ตาม จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยยอมรับหรือไม่คัดค้านในข้อที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลให้รอการลงโทษไว้เสียก่อน ศาลจึงจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกประการ อันเป็นเพียงการยอมรับว่ากระทำความผิดตามคำฟ้องเท่านั้นมิได้เป็นการยอมรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้อง ทั้งโจทก์ไม่สืบพยานให้ปรากฏความในเรื่องนี้ จึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลรอการลงโทษไว้ ที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์, ปลอมแปลงเอกสาร, และใช้เอกสารปลอม: การแยกความผิดเป็นหลายกรรม
เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้อย่างชัดเจนแยกการกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันลักเช็คของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างไป ปลอมเช็ค และใช้เช็คที่ปลอมนั้นไปยื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงิน ซึ่งการกระทำแต่ละอย่างมีลักษณะที่แตกต่างกันต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัว และเป็นการกระทำความผิดโดยอาศัยเจตนาแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างกระทงหนึ่งและฐานปลอมตั๋วเงินและใช้ตั๋วเงินปลอมซึ่งต้องลงโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมอีกกระทงหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง
of 26