คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัธยา ดิษยบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเรื่องที่จำเลยอุทธรณ์ว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์, การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล, ดุลพินิจศาล
คำฟ้องของโจทก์นอกจากจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แล้ว ยังขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายให้แก่จำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วย ซึ่งคำขอส่วนนี้อาจมีผลให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ว่าคำขอส่วนแรกที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมเป็นคำขอหลักคำขอส่วนหลังที่ให้ศาลสั่งให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาคดีนี้โดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่ประการใดไม่ เนื่องจากตามตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในคดีที่มีทั้งคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราใน (1) แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราใน (2)(ก) หรือ (2)(ข) แล้วแต่กรณี โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์พิพาทในอัตราสองบาทห้าสิบสตางค์ต่อทุกหนึ่งร้อยบาทแต่ไม่ให้น้อยกว่าสองร้อยบาท
แม้การประทับตรากำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาล แต่โจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวอันเป็นการยืนยันต่อศาลว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความว่า ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องมีหมายแจ้งคำสั่งไปให้โจทก์ทราบอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนดดังกล่าว ทั้งโจทก์มิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนดได้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมนั้น ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องของโจทก์ว่าอนุญาตให้ขยายได้อีกเพียงครั้งเดียวนั้น จึงหาเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ในการจะขอขยายระยะเวลาในครั้งต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์ การขยายระยะเวลาชำระ และการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และยังมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ถือได้ว่า คำขอส่วนแรกเป็นคำขอหลัก คำขอส่วนหลังเป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่ประการใดไม่ ทั้งนี้ตามตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์พิพาทในอัตราสองบาทห้าสิบสตางค์ต่อทุกหนึ่งร้อยบาท แต่ไม่ให้น้อยกว่าสองร้อยบาท
แม้การประทับตรากำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตราประทับดังกล่าว เป็นการยืนยันต่อศาลว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่าถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ภายในวันที่ 5 กันยายน 2542 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยังชำระค่าธรรมเนียมศาลได้จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2542 หรือหากจะขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลอีก โจทก์ต้องยื่นคำร้องภายในวันดังกล่าว การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันที่ 7 กันยายน 2542 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนด และเมื่อในคำร้องฉบับดังกล่าวโจทก์มิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามป.วิ.พ. มาตรา 23
หาเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ไม่ คดีนี้ศาลมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ว่า อนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว ย่อมชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์และคำขอหลายประเภท ศาลใช้ดุลพินิจขยายเวลาชำระได้
คำฟ้องของโจทก์นอกจากขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แล้ว ยังขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายให้แก่จำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์อีกด้วยคดีตามคำขอส่วนนี้อาจมีผลให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ถือได้ว่าคำขอส่วนแรกเป็นคำขอหลัก คำขอส่วนหลังเป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น ไม่มีผลทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
แม้การประทับตราในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มที่กำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาลมิใช่การกระทำของศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับเป็นการยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่า ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งไปให้โจทก์ทราบอีก โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนดดังกล่าว และในคำร้องมิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าอนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว จึงไม่เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองแม้คดีขาดอายุความ และการรับผิดของทายาท
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, สิทธิบังคับจำนอง, และความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตายให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แม้โจทก์ฟ้องคดีหลังจาก ท. ถึงแก่ความตายไปเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 แม้คดีขาดอายุความแล้ว ก็ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง แม้คดีขาดอายุความ
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน 1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และ ท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องชั่งผิดอัตรา: หลักฐานฟังไม่ได้ว่าเครื่องชั่งชำรุดจริง ศาลยกฟ้อง
แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามข้อหาที่เจ้าพนักงานผู้จับกุมแจ้งว่ามีและใช้เครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้าโดยใต้แท่นเครื่องชั่งของกลางไม่มีแผ่นเหล็กบังคับห่วงคู่ด้านหน้าก็ตาม แต่ผู้จับกุมดังกล่าวไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับเครื่องชั่งไม่ทราบว่าเครื่องชั่งของกลางจะมีการดัดแปลงหรือไม่ ทั้ง อ. เจ้าพนักงานชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นผู้พิสูจน์เครื่องชั่งดังกล่าวก็มิได้ยืนยันว่า การที่ขาดแผ่นเหล็กบังคับห่วงคู่ด้านหน้าจะมีผลทำให้เครื่องชั่งผิดอัตราไป แม้จะปรากฏว่าขอห้อยรองรับตุ้มถ่วงปลายคันชั่งชำรุดอันอาจทำให้ผู้ใช้เครื่องชั่งสามารถเพิ่มหรือลดน้ำหนักที่ขอห้อยได้ตามความต้องการ และมีการพิสูจน์น้ำหนักโดยเทียบกับมาตราตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน โดยสอบน้ำหนักขั้นต่าง ๆ แล้วพบว่ามีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่บ้าง แต่ อ. ก็เบิกความตอบคำถามค้านว่าเครื่องชั่งของกลางได้ผ่านการตรวจสอบให้คำรับรองมาแล้วทั้งขณะที่ตรวจเครื่องชั่งยังไม่มีการเพิ่มหรือลดเครื่องชั่ง เพียงแต่อยู่ในลักษณะที่สามารถเพิ่มหรือลดเครื่องชั่งตามความต้องการของผู้ใช้ กรณีจึงขัดแย้งกับการพิสูจน์น้ำหนักเครื่องชั่งของกลางที่ว่า น้ำหนักเกินมาตรฐานดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเครื่องชั่งของกลางถูกดัดแปลงแก้ไขนอตยึดแกนล้อถูกเชื่อมพอกให้หนาขึ้นเพื่อเวลาใช้เครื่องชั่งจะทำให้แกนล้อเลื่อนไปมาได้ และทำให้ส่วนที่เชื่อมพอกบนแกนล้อไปหนุนคานรับน้ำหนักใต้แท่นชั่งเมื่อทำการชั่งจะทำให้น้ำหนักที่ชั่งได้ไม่ตรงตามมาตรฐานที่ทางราชการเคยรับรองไว้โดยจะชั่งน้ำหนักได้น้อยกว่าความจริงนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่มีพยานปากใดเบิกความถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ฉะนั้น การที่เครื่องชั่งของกลางมีขอห้อยรองรับตุ้มถ่วงปลายคันชั่งชำรุด แม้จะทำให้เครื่องชั่งอยู่ในลักษณะที่จะเพิ่มหรือลดเครื่องชั่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ก็จะสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายว่า จำเลยที่ 1ใช้เครื่องชั่งให้ผิดอัตราไปในทางเพิ่มหรือลดเครื่องชั่งไม่ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าเครื่องชั่งของกลางเป็นเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา
เมื่อฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดฯ จึงไม่อาจยึดเครื่องชั่ง ตุ้มน้ำหนักและคานแขวนลูกตุ้มของกลางตามมาตรา 38 ได้ทั้งของกลางดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดและมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม: การอุทธรณ์ต้องจำกัดเฉพาะความเสียหายที่ตนเองได้รับ
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด ก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะความเสียหายของตนเอง และผลของการไม่คัดค้านคำพิพากษา
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาบุกรุกมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานบุกรุกซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายด้วยเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 และพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ
of 26