พบผลลัพธ์ทั้งหมด 981 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล และการชดใช้ค่าเสียหายตามข้อตกลง แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ตรงตามความเห็นศาลฎีกา
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ ทดสอบทำงานด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้คงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าเหล็กท่อนจำนวน 6,658 เมตริกตัน จากบริษัทคาเนมัตสึ(ฮ่องกง) จำกัด ในเมืองฮ่องกง โดยไม่มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขาย ได้ว่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากเมืองวลาดิวอสต็อก ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มาทางทะเลโดยเรือ "มาราบู" เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพ โจทก์ที่ 1ได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่ผู้ขาย และโจทก์ที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนติดต่อกับจำเลยและทำพิธีการทางศุลกากร เมื่อเรือ "มาราบู" บรรทุกสินค้าดังกล่าวมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2537 โจทก์ที่ 2 ได้แจ้งให้จำเลยทราบและให้จำเลยนำต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไปมอบแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อรับใบปล่อยสินค้าไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออก จำเลยไม่มีต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่ประสงค์จะขอรับสินค้าพิพาทไปก่อนจึงทำหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ที่ 2 ไว้ แล้วรับสินค้าพิพาทไปก่อน แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขาย ต่อมาผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทได้นำใบตราส่งดังกล่าวไปฟ้องโจทก์ที่ 1 ต่อศาลเมืองฮ่องกงเรียกให้โจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้ขาย ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2539 ให้โจทก์ที่ 1 คืนสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายหรือให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน 1,458,273.60 ดอลลาร์สหรัฐนอกจากนี้บริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายยังได้ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอให้ชำระราคาสินค้าพิพาทรายนี้เป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ซึ่งต่อมาวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 ผู้ขายและจำเลยตกลงกันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.25มีใจความสำคัญว่า จำเลยยอมผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายและผู้ขายจะไม่ดำเนินการใด ๆ อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชำระหนี้ค่าสินค้าพิพาทที่จำเลยได้ชำระแก่ผู้ขายแล้ว ไม่ว่าการเรียกร้องนั้นจะกระทำโดยผู้ขายหรือผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ขาย ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมาย จ.26 และคดีฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่คู่ความมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า โจทก์ที่ 1มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายจ.1 โจทก์ที่ 1 ได้มอบอำนาจให้นายปฐม นันทนเจริญกุล ฟ้องคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จริงตามฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในทางการค้าจำนวน 36,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น โจทก์ที่ 2 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย
++ สำหรับข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีนี้มูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิลำเนาจำเลยก็อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงไม่ชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จำเลยจึงถือว่าโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีไม่ถูกต้องตามเขตอำนาจศาลนั้น
++ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นคดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขึ้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และศาลดังกล่าวได้เปิดทำการแล้ว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันร้องขอให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โอนคดีนี้ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญํติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 46 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอสงวนข้อต่อสู้ในเรื่องเขตอำนาจศาล เท่ากับว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไปแล้ว ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องเขตอำนาจศาลอีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า มูลคดีนี้เกิดในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการไม่ชอบ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อมาว่า ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทไม่ได้อยู่ที่จำเลย ซึ่งโจทก์ที่ 1 ก็ทราบดี แต่โจทก์ที่ 1กลับมาเรียกร้องเอาจากจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบนั้น
++ เห็นว่า
++ แม้คดีนี้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งสินค้าพิพาทแก่โจทก์ที่ 1 หรือไม่ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ยกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นวินิจฉัย แต่เนื้อหาในคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนี้ก็เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันมาในคำฟ้องและคำให้การจำเลยข้อที่ว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสองหรือผู้ขาย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ทั้งสอง โดยจำเลยได้ทำหนังสือขอรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งและยอมรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามเอกสารหมายจ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 มอบให้โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นการรับมอบสินค้าพิพาทจากผู้ขายตามที่จำเลยอ้าง โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้วินิจฉัยว่า ต้นฉบับในตราส่งสินค้าพิพาทอยู่กับจำเลยและจำเลยมีหน้าที่ต้องเวนคืนใบตราส่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ทั้งคดีนี้โจทก์ที่ 1 ก็มิได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพียงแต่กำหนดหัวข้อประเด็นข้อพิพาทนี้ผิดพลาดไปเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
++ คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่าโจทก์ที่ 1 หรือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ผู้ขายเป็นผู้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลย และหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.2 หรือ ล.4 ซึ่งมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 มีผลใช้บังคับได้หรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงคงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7ให้แก่ผู้ส่งคือบริษัทคาเนมัตสึ (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทแก่จำเลย อันเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับสินค้าพิพาทตามที่ระบุในใบตราส่งดังกล่าวไว้ในครอบครองดูแลหรือได้บรรทุกลงเรือแล้ว และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่งคือจำเลยเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง ได้ความจากคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 1 นายวินัย จิระฤกษ์มงคล กรรมการผู้จัดการบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ที่ 2 ว่าจ้างให้ขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือ "มาราบู" ที่เกาะสีชังลงเรือลำเลียงมาที่ท่าเรือกรุงเทพ นายวสันต์ ธิตัง อดีตพนักงานบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ที่ 2 และบริษัทสายชลมารีน 1993 จำกัด เพื่อขอรับสินค้าพิพาทรายนี้ และนายทวีศักดิ์ ลีเมฆานนท์ กรรมการบริษัทโจทก์ที่ 2พยานโจทก์ที่ 1 ว่า บริษัทบีซีเอซี จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ตามบันทึกการขนถ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.11 จริง โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ตรวจดูแล้ว ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอให้เจ้าของเรือ "มาราบู" ซึ่งหมายถึงผู้ขนส่งหรือโจทก์ที่ 1 ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ต้องเวนคืนใบตราส่งซึ่งสอดคล้องตรงกับที่พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความ ส่วนพยานจำเลยคงมีแต่นายโชติชัย เชาว์นิธิ กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความอ้างลอย ๆว่า ในการรับมอบสินค้าพิพาทจำเลยเข้าใจว่าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยตรงและผู้ขายได้มอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปแล้วเห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการคาดคะเนเอาเองและจำเลยไม่มีพยานอื่นมาสืบสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ในข้อนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ผ่านทางตัวแทนของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพจริง โดยจำเลยได้ออกหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งมีข้อความตรงกับเอกสารหมาย ล.2 และ ล.4ให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นหลักฐาน ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า ในการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งแก่โจทก์ที่ 1 นั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเพราะการนี้จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ทั้งสิ้น หาใช่เป็นเพียงกรณีที่จำเลยให้ประกันหรือรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับสินค้าพิพาทตามใบตราส่งไม่
++ สำหรับข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา28 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไว้ แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปโดยไม่เวนคืนใบตราส่ง จำเลยย่อมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงดังกล่าว
++ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น เห็นว่า เป็นเพียงโจทก์ที่ 1 เรียกชื่อนิติกรรมดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น จำเลยจะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อไปว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่เพียงใด
++ ซึ่งในข้อนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทที่ศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทกที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายกับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ที่ 1 ต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ คดีคงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านว่า ขณะที่โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีเรียกให้โจทก์ที่ 1 คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายที่ศาลเมืองฮ่องกงนั้น โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีดังกล่าวได้แก่ ค่าจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางติดต่อประสานงานและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารรวมเป็นเงิน 18,078 ดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ 457,734.96 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นว่า เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ครอบครองใบตราส่งฟ้องให้รับผิด และโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีดังกล่าวที่ศาลเมืองฮ่องกง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่เวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 หรือล.2 หรือ ล.4 ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาท จำนวน 1,458,273.60ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 36,923,487.55 บาท ซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าพิพาทรายนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้าแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย ผู้ขายจึงสามารถบังคับชำระหนี้ค่าสินค้าจากจำเลยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับชำระหนี้เอาจากโจทก์ที่ 1 ก็ได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อฮ่องกงให้แก่ผู้ขายไปแล้ว รวมทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ขายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 คดีนี้ ขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงเพียงแต่อาจได้รับความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมืองฮ่องกงดังกล่าวเพราะโจทก์ที่ 1 อาจถูกบังคับคดีต่อไปในภายหน้าเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขายหรือถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้ขาย ถือว่าโจทก์ที่ 1ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ด้วยนั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในคำให้การจำเลยแต่ต้น จำเลยก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อสุดท้ายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่
++ ในปัญหาข้อนี้คงมีข้อต้องวินิจฉัยเฉพาะฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ศาลเมืองฮ่องกงเท่านั้น
++ ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์อ้างว่าอายุความกรณีนี้ต้องด้วยพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 ซึ่งกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ว่าต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรับมอบสินค้าพิพาท ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น
++ เห็นว่า
++ มาตรา46 บัญญัติไว้มีความว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหายเสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ตามบทบัญญัติในมาตรา 46 ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้รับตราส่งหรือผู้ส่งของฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2กำหนดอายุความ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะอีกเช่นกัน จึงต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ศาลเมืองฮ่องกงตามใบแจ้งหนี้ลงวันที่ 19 มีนาคม2539 ตามเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ที่ 1 อ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ จึงฟังได้ตามฟ้อง แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 1 ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปในวันใด แต่ก็ต้องเป็นวันที่หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ที่ 1 เริ่มมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการรับมอบสินค้า และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าชักช้า
ตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 (ผู้ขนส่ง)โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายจากการนี้ ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขาย โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้า ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือผู้ขายได้ดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ที่ 1 จึงถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งซึ่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขาย โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้า ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือผู้ขายได้ดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ที่ 1 จึงถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งซึ่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่เป็นผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล และความรับผิดของผู้ขนส่งในระบบตู้สินค้า CY/CY
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งซึ่งว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่ง เมื่อจำเลยที่ 1 นำเรือเข้าจอดที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ได้มีการขนถ่ายตู้สินค้าที่ใช้ขนส่งสินค้าในคดีนี้ลงจากเรือ และจำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 มอบตู้สินค้านั้นให้ผู้รับตราส่งต่อไป อันเป็นการประกอบกิจการเช่นเดียวกับการดำเนินงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลนั้นแม้เพียงช่วงระยะทางช่วงใดช่วงหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่น ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3
คำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 นั้น ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น การขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง ดังนี้ แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนย้ายตู้สินค้าจากเรือลงท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 และขนย้ายตู้สินค้าจากหน้าท่าไปยังลานเก็บสินค้าของท่าเรือ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
การขนส่งสินค้าเม็ดพลาสติกเป็นการขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย คือผู้ส่งสินค้าได้ไปตรวจสอบตู้สินค้าว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสินค้าที่ใช้บรรจุแล้ว ผู้ส่งสินค้าจึงนำตู้สินค้าไปทำการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้ รวมทั้งปิดผนึกดวงตราปากตู้ต่อหน้าเจ้าพนักงานศุลกากร โดยจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ต่อมาผู้ส่งสินค้าได้นำตู้สินค้าดังกล่าวมามอบให้ตัวแทนของจำเลยที่ 1 บรรทุกลงเรือ เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบตู้สินค้านั้นให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ในสภาพตู้และดวงตราผนึกปากตู้เรียบร้อย เช่นนี้ หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงสิ้นสุดลง
การขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย ผู้รับตราส่งที่ปลายทางมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากท่าเรือไปเปิดตู้สินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเองและเมื่อผู้รับตราส่งมาขอรับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 2 จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตู้สินค้าว่ามีสภาพเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งหากพบความเสียหายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือทราบและต้องมีการบันทึกหมายเหตุความเสียหายนั้นไว้ในใบรับมอบตู้สินค้า แต่ปรากฏว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้ลงลายมือชื่อรับมอบตู้สินค้าไปในสภาพเรียบร้อยโดยไม่มีการระบุว่าหลังคาตู้สินค้ามีรูรั่วหรือมีความเสียหายใด ๆ เลย อันแสดงว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับมอบตู้สินค้าดังกล่าวไปในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหายของตู้สินค้าและสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง หรือเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง อันเป็นเหตุให้ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ได้รับความเสียหายตามคำฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 นั้น ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น การขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง ดังนี้ แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนย้ายตู้สินค้าจากเรือลงท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 และขนย้ายตู้สินค้าจากหน้าท่าไปยังลานเก็บสินค้าของท่าเรือ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
การขนส่งสินค้าเม็ดพลาสติกเป็นการขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย คือผู้ส่งสินค้าได้ไปตรวจสอบตู้สินค้าว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสินค้าที่ใช้บรรจุแล้ว ผู้ส่งสินค้าจึงนำตู้สินค้าไปทำการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้ รวมทั้งปิดผนึกดวงตราปากตู้ต่อหน้าเจ้าพนักงานศุลกากร โดยจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ต่อมาผู้ส่งสินค้าได้นำตู้สินค้าดังกล่าวมามอบให้ตัวแทนของจำเลยที่ 1 บรรทุกลงเรือ เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบตู้สินค้านั้นให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ในสภาพตู้และดวงตราผนึกปากตู้เรียบร้อย เช่นนี้ หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงสิ้นสุดลง
การขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย ผู้รับตราส่งที่ปลายทางมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากท่าเรือไปเปิดตู้สินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเองและเมื่อผู้รับตราส่งมาขอรับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 2 จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตู้สินค้าว่ามีสภาพเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งหากพบความเสียหายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือทราบและต้องมีการบันทึกหมายเหตุความเสียหายนั้นไว้ในใบรับมอบตู้สินค้า แต่ปรากฏว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้ลงลายมือชื่อรับมอบตู้สินค้าไปในสภาพเรียบร้อยโดยไม่มีการระบุว่าหลังคาตู้สินค้ามีรูรั่วหรือมีความเสียหายใด ๆ เลย อันแสดงว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับมอบตู้สินค้าดังกล่าวไปในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหายของตู้สินค้าและสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง หรือเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง อันเป็นเหตุให้ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ได้รับความเสียหายตามคำฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รู้ว่าลูกโป่งละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ (WinniethePooh) ของผู้เสียหายอันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการนั้นเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี"(BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูนสัตว์โลกที่เป็น "หมี" เป็นสัตว์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่งดงามแปลกหูแปลกตาและแปลกไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ทุกคนย่อมมีปรัชญาศิลปะอยู่ในตัวบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างสรรค์จินตนาการในศิลปะในลักษณะต่าง ๆ กันได้เมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกันโดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำกันหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน การใช้ความคิดริเริ่มนำเอาความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์จินตนาการเป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการผูกขาดจินตนาการหรือสุนทรียภาพในทางความคิดก่อให้เกิดผลเสียแก่มนุษยชาติ เนื่องจากจะมีผลทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถสร้างสรรค์จินตนาการของตนเองเป็นภาพการ์ตูนจากสัตว์ธรรมชาติหรือจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันได้ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพหมีพูห์: การคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกทางศิลปะ ไม่คุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ และการขาดเจตนาละเมิด
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ของผู้เสียหาย อันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการเป็นงานศิลปกรรมนั้น เป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี" (BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูน มนุษย์เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างจินตนาการในศิลปะลักษณะต่าง ๆ กันได้ และเมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกัน โดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนกันหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน ฉะนั้น การใช้ความคิดริเริ่มนำความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์เป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดเท่านั้นและการคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดดังกล่าวจนถึงขั้นที่ผู้สร้างสรรค์จะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์นั้น ยังต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 ด้วย
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพบนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใด แต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่ง ความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น ทั้งลูกโป่งดังกล่าวที่มีภาพหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้แยกออกมาจากลูกโป่งจำนวนประมาณ 1,000,000 ใบ มีจำนวนเพียง 4,435 ใบ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพบนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใด แต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่ง ความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น ทั้งลูกโป่งดังกล่าวที่มีภาพหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้แยกออกมาจากลูกโป่งจำนวนประมาณ 1,000,000 ใบ มีจำนวนเพียง 4,435 ใบ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตของธนาคารเจ้าหนี้ที่ไม่นำหลักประกันมาหักชำระหนี้แต่คิดดอกเบี้ย
ตามสัญญาทรัสต์รีซีทระบุให้โจทก์มีสิทธิถอนหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ได้ทันทีหากจำเลยที่ 1 ผิดนัด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะหักเงินฝากจากบัญชีชำระหนี้แก่โจทก์ได้ทันที ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ในการได้รับชำระหนี้บางส่วนและเป็นประโยชน์แก่จำเลยทั้งสามที่จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนต้นเงินส่วนที่ควรหักชำระหนี้ไปนั้น เมื่อไม่ได้ความว่ามีเหตุขัดข้องที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถหักเงินฝากชำระหนี้ได้ การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากนอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามสัญญาแล้วยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ลูกค้าแต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้ว เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์เมื่อแบบผลิตภัณฑ์ไม่ใหม่ คล้ายกับที่เปิดเผยก่อนหน้านี้
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์"ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร "Hardwares" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร"Hardwares" ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม" และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์"ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร "Hardwares" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร"Hardwares" ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม" และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน
เครื่องหมายการค้าตามที่ปรากฏบนตัวสินค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน กล่าวคือ ส่วนกลางมีคำว่า "SUPER GLUE" ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนล่างเป็นสีดำมีคำบรรยายเป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษสีขาวว่า " for WOOD - RUBBER - PLASTICS - METAL - PAPER & LEATHER Cyanoacrylate Adhesive NET. 3 g " และส่วนบนมีแถบสีดำ แม้คำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายที่อยู่ในส่วนล่างทั้งหมดเป็นคำสามัญ ซึ่งในการขอจดทะเบียนโจทก์ได้แสดงปฏิเสธสิทธิว่า ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรคำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายทั้งหมดก็ตาม แต่รูปลักษณะ ขนาด การจัดวาง ตำแหน่งและทิศทางของตัวอักษร ทั้งหมดดังกล่าว ตลอดจนการให้สีสันของตัวอักษรและสีพื้นเหมือนหรือคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน คงแตกต่างกันแต่คำว่า "ALTECO" กับ "GIANT" ในแถบสีดำส่วนบน ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิใช้คำว่า "GIANT" เพราะเป็นคำสามัญก็ตาม แต่เนื่องจากตัวอักษรมีขนาดเล็ก จำนวนตัวอักษรก็ใกล้เคียงกันคือคำว่า "ALTECO" ประกอบด้วยตัวอักษร 6 ตัว ส่วนคำว่า "GIANT" ประกอบด้วยตัวอักษร 5 ตัว ต่างกันเพียง 1 ตัว และสีของตัวอักษรเป็นสีขาวจัดวางอยู่ในแถบสีดำส่วนบนทำนองเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศอาจหลงเข้าใจผิดไปได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน ส่อแสดงว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะทำให้เหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับหลอดกาวมีขนาด รูปร่าง และอยู่ในแผงบรรจุภัณฑ์ลักษณะเช่นเดียวกัน ทั้งยังถูกใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนั้นย่อมถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์