พบผลลัพธ์ทั้งหมด 981 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปี 2531 ทั้งได้โฆษณาและนำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายในประเทศมาเลเซียและประเทศอื่น โจทก์จึงเป็นผู้ที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยรับโอนและขอจดทะเบียนใหม่ ดังนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้ส่งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ ก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์จากการถ่ายสำเนาเพื่อการค้า และการริบเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยนำเครื่องถ่ายเอกสารทำสำเนาจากต้นฉบับหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามเป็นเล่ม จำนวน 71 เล่ม หนังสือยังไม่เข้าเล่มจำนวน 290 ชุด และเอกสารเป็นแผ่นจำนวน 158 ชุด (6,162 แผ่น) ของกลางอันเป็นความผิดฐานทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ที่จำเลยกล่าวอ้างข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายว่า จำเลยซึ่งมีอาชีพรับจ้างถ่ายสำเนาเอกสารได้ถ่ายสำเนาเอกสารของกลางตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างคือนักศึกษาที่นำไปใช้เพื่อการศึกษาหรือวิจัย ได้รับการยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์จากการทำซ้ำและจำหน่ายเอกสาร: การพิสูจน์ข้อยกเว้นและผลการริบของกลาง
จำเลยนำเครื่องถ่ายเอกสารทำสำเนาจากต้นฉบับหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามเป็นเล่ม จำนวน 71 เล่ม หนังสือยังไม่เข้าเล่มจำนวน 290 ชุด และเอกสารเป็นแผ่นจำนวน 158 ชุด (6,162 แผ่น)ของกลาง อันเป็นความผิดฐานทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ที่จำเลยกล่าวอ้างข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายว่า จำเลยซึ่งมีอาชีพรับจ้างถ่ายสำเนาเอกสารได้ถ่ายสำเนาเอกสารของกลางตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างคือนักศึกษาที่นำไปใช้เพื่อการศึกษาหรือวิจัย ได้รับการยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสาม และนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสาม และนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ ผู้ส่งของแสดงความตกลงโดยชัดแจ้ง
ใบตราส่งมีข้อความปรากฏชัดในด้านหน้าว่า ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่อยู่ด้านหลังนี้ ขอให้ผู้ส่งของรับทราบข้อสังเกตเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วย ผู้ส่งของอาจเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดได้โดยแจ้งมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้นและชำระเงินเพิ่มเติมหากจำเป็น ย่อมทำให้ผู้ส่งของทราบดีว่าตนมีทางเลือก 2 ทาง คือ จะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดที่มีอยู่ชัดในด้านหลังใบตราส่งหรือจะเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดโดยต้องเสียเงินเพิ่มก็ได้ และปรากฏว่าด้านหน้าใบตราส่งมีช่องสำหรับการแจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง แต่ในช่องดังกล่าวมีข้อความว่า "เอ็นวีดี"(NVD) ซึ่งหมายถึง การไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง โดยมีการแจ้งเฉพาะน้ำหนักสินค้าและมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนักที่แจ้ง ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเติมเท่ากับเป็นการเลือกยอมรับข้อจำกัดความรับผิดหลังใบตราส่ง ถือว่าผู้ส่งของแสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: 'NVD' แสดงเจตนา
ขั้นตอนการส่งสินค้าทางอากาศ ผู้ส่งสินค้าต้องจองพื้นที่บนเครื่องบินก่อน และจำเลยจะมอบแบบพิมพ์ใบตราส่งให้ผู้ส่งของกรอกข้อความใบตราส่งนี้ยังมีข้อความปรากฏชัดในด้านหน้าว่า ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่อยู่ด้านหลังนี้ขอให้ผู้ส่งของรับทราบข้อสังเกตเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วย ผู้ส่งของอาจเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดได้โดยแจ้งมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น และชำระเงินเพิ่มเติมหากจำเป็น ข้อความดังกล่าวย่อมทำให้ผู้ส่งของทราบดีว่าตนมีทางเลือก 2 ทาง คือจะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดที่มีอยู่ชัดในด้านหลังใบตราส่งหรือจะเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดโดยต้องเสียเงินเพิ่มก็ได้ และปรากฏว่าด้านหน้าใบตราส่งนี้มีช่องสำหรับการแจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง แต่ในช่องดังกล่าวมีข้อความว่า "เอ็นวีดี" (NVD)ซึ่งหมายถึงการไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง โดยมีการแจ้งเฉพาะน้ำหนักสินค้าและมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนักที่แจ้งเท่านั้น การที่ผู้ส่งของระบุข้อความในช่องแจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งว่าไม่แจ้งราคามูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเติมดังกล่าวเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดหลังใบตราส่งนั่นเอง จึงถือว่าผู้ส่งของได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัมแล้ว ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: การพ้นโทษตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 113 มีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้ที่กลับมากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซ้ำอีกภายในกำหนดห้าปีนับแต่พ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนให้หนักขึ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าโทษที่ได้รับจากการกระทำผิดครั้งก่อนจะเป็นโทษชนิดใดเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดครั้งก่อนทั้งจำคุกและปรับ แต่มีการรอการลงโทษจำคุกไว้และจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วจึงถือได้ว่าจำเลยพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนในวันชำระค่าปรับแล้ว จำเลยกลับมากระทำความผิดอีกภายในกำหนดเวลาห้าปี จึงต้องวางโทษจำเลยเป็นทวีคูณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล, การสูญหาย/เสียหายของสินค้า, ข้อตกลงระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่ง, การจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ กรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลย ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลย มิใช่เป็นการฟ้องสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าเครื่องดับเพลิงที่โจทก์รับประกันภัยเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทาง ในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้ และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packing list) สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัมเป็นเงิน 1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ 818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 ดังนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติมาตรา 60 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล การสูญหาย/เสียหายของสินค้า และการตกลงกันของผู้ขนส่งและผู้ส่งของ
โจทก์ระบุชื่อฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า "พ.ในฐานะผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ" และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า "จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนบริหารงานและธุรกิจของจำเลยที่ 1 สาขาในประเทศไทยมีอำนาจเช่น ดำเนินกิจการประจำวันโดยทั่วไปของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทยลงนามในเอกสารต่าง ๆ ดำเนินการฟ้องร้องและต่อสู้ในศาลไทย ใช้และลงชื่อในนามสาขาของบริษัทและมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ เป็นการกล่าวบรรยายฟ้องถึงสถานภาพของ พ. โดยเฉพาะว่ามาเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 และสาขาของจำเลยที่ 1 คือสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ อย่างไร ซึ่งเห็นได้ชัดว่า พ.เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ในประเทศไทยและได้รับแต่งตั้งจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯ ด้วยเท่านั้น การที่ พ.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสายเดินเรือเมอร์กสาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในคนละสถานภาพกับสายเดินเรือเมอร์ก สาขากรุงเทพฯกรณีตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง พ. ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 40(3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และโจทก์ ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัมในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packinglist)สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นเงิน1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 58 ดังนี้ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 60(2)
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้ทำการแทนในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้รับขนร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญารับขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ตามกฎข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับที่ท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางในขณะเกิดเหตุไม่อนุญาตให้ผู้ขนส่งมอบสินค้าอันตรายให้เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยผู้ขนส่งต้องเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เช่าพื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เก็บสินค้าอันตรายและจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาสินค้านั้นเอง จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว อันจะทำให้สินค้านั้นพ้นไปจากความดูแลของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 40(3) และมาตรา 39 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังคงเก็บรักษาดูแลสินค้าไว้เพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่งต่อไป
เรือของจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพอันเป็นท่าปลายทางเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2536 อันเป็นโอกาสแรกที่จะส่งมอบของได้และเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้รับตราส่งยอมรับผิดไม่เกินความรับผิดสูงสุดของผู้ขนส่ง อันถือได้ว่าเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และโจทก์ ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2537 ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งด้านหลังซึ่งมีเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะชดใช้ค่าเสียหายในข้อ 11.3 ว่า กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายให้คิดค่าเสียหายไม่เกิน 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัมในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยน1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 25.5 บาท และตามรายการสินค้า (Packinglist)สินค้าที่เสียหาย 2 หน่วย มีน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม จึงคิดเป็นค่าเสียหายสูงสุดตามที่ระบุในใบตราส่งที่คิด2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักรวม 848 กิโลกรัม เป็นเงิน1,696 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเงิน 43,248 บาท แต่ถ้าคิดตามการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58ตามหน่วยการขนส่ง 2 หน่วย ค่าเสียหายหน่วยละ 10,000 บาท เป็นเงิน20,000 บาท หรือคิดตามน้ำหนักสุทธิกิโลกรัมละ 30 บาท จากน้ำหนักสุทธิ818 กิโลกรัม เป็นเงิน 24,540 บาท เห็นได้ว่าการคิดค่าเสียหายตามข้อจำกัดความรับผิดที่กำหนดในใบตราส่งเป็นเงิน 43,248 บาท ดังกล่าว สูงกว่าค่าเสียหายที่คิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาตรา 58 ดังนี้ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 58 จึงไม่นำการจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 มาใช้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 60(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: การแจ้งรายละเอียดสำคัญตามข้อบังคับสมาคม
ข้อตกลงให้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอันเป็นกรณีพิพาทนี้เป็นข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ตามข้อบังคับดังกล่าวจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษ และไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วยผู้คัดค้านได้รับแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้นส่วนหนังสือที่มีการแจ้งรายละเอียดครบถ้วนตามข้อบังคับไม่สามารถส่งให้ผู้คัดค้านทางโทรสารได้ และไม่ปรากฏว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้จ.กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่าได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ จึงรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องแจ้งรายละเอียดการแต่งตั้งและพิจารณาตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนการแจ้งความใด ๆ ให้คู่กรณีทราบ ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับตามข้อตกลงที่ให้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการกำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการกำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)