พบผลลัพธ์ทั้งหมด 981 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องแจ้งรายละเอียดการแต่งตั้งและพิจารณาตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนการแจ้งความใด ๆ ให้คู่กรณีทราบ ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับตามข้อตกลงที่ให้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการกำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการกำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า ผู้ขนส่งต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุยกเว้น
การรับขนของทางทะเล ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายของสิ่งของที่รับขนนั้นต่อผู้ส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 เว้นแต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากเหตุตามที่ระบุไว้ บทมาตราต่างๆ ในหมวด 5 ว่าด้วยข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิด
สินค้าปุ๋ยพิพาทบางส่วนเปียกน้ำและปนเปื้อนน้ำมันเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโดยที่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีเหตุที่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า แม้ทางนำสืบของโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าความเสียหายของสินค้าปุ๋ยพิพาทเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ต้องพ้นจากความรับผิดไม่
สินค้าปุ๋ยพิพาทบางส่วนเปียกน้ำและปนเปื้อนน้ำมันเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโดยที่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีเหตุที่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า แม้ทางนำสืบของโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าความเสียหายของสินค้าปุ๋ยพิพาทเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ต้องพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง: สิ้นสุดสิทธิแก้ไขฟ้อง
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องแย้งหลังศาลไม่รับฟ้อง: ไม่อนุญาตแก้ไขหากศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแล้ว
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องแย้งหลังศาลไม่รับฟ้อง: เมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้ว จำเลยไม่สามารถแก้ไขฟ้องแย้งได้อีก
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: ความผิดร่วมกัน การแบ่งหน้าที่ และความรับผิดของกรรมการ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุว่า เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2540 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ ได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพถ่าย โดยร่วมกันทำซ้ำ ดัดแปลง และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุจึงครบถ้วนถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)แล้ว
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย: โจทก์มีสิทธิฟ้องละเมิด แม้มีข้อตกลงกับนางแบบ, การแบ่งหน้าที่ผิดกฎหมาย และความผิดฐานเผยแพร่
แม้ตกลงระหว่างโจทก์และ ท. จะกำหนดว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัท น. แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีนี้ไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ทั้งการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ยอมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น หากมีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ"ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์ และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากบริษัท 222 ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าโดยเฉพาะเท่านั้น อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ"ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์ และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 เป็นเพียงผู้รับจ้างจากบริษัท 222 ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าโดยเฉพาะเท่านั้น อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์: วันเวลาเกิดเหตุ, สิทธิผู้เสียหาย, อายุความ, และความร่วมมือในการกระทำผิด
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท. ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น ถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส. ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท. ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น ถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส. ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายอาหารปลอมและเครื่องหมายการค้าปลอม: ศาลฎีกาแก้เป็นผิดสองกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแบ่งการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับการผลิตอาหารปลอม และส่วนที่สองเกี่ยวกับการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นอาหารปลอมและที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม สำหรับส่วนแรกของฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับการปลอมสลากเครื่องหมายการค้า ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า มีผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย มิได้อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเครื่องหมายการค้าปลอมไปปิดผนึกไว้ที่ขวดบรรจุสินค้าและการนำซอสหอยนางรมที่ผลิตขึ้นมาบรรจุลงในขวดที่ปิดผนึกฉลากเครื่องหมายการค้าปลอม ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดกรรมที่สองที่สามนั้น ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า การกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตอาหารปลอมของจำเลย การกระทำทั้งสองอย่างของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกับการกระทำความผิดฐานผลิตอาหารปลอมของจำเลย สำหรับส่วนหลังของฟ้อง เนื่องจากการจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นอาหารปลอมและมีเครื่องหมายการค้าปลอม เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังรวมทั้งมีเจตนาที่แยกต่างหากจากการผลิตอาหารปลอม จึงเป็นการกระทำคนละกรรมต่างกันจากการผลิตอาหารปลอม ต้องลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้อีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้าขณะส่งมอบให้ตัวแทน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องทางทะเลย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวที่ได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแล จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ขนส่งสินค้าจากเมืองท่าสิงคโปร์มายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 วรรคสอง และมาตรา 40 (3) ให้ถือว่าสินค้าตามฟ้องยังอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งจนกว่าจะได้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เมื่อเรือขนส่งสินค้ามาจอดเทียบท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือได้ติดต่อเช่ารถปั้นจั่นของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมาทำการขนสินค้าขึ้นจากเรือและหลักฐานการชำระค่าเช่าระบุว่ามีการคิดค่าเช่าโดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จ่าย แสดงให้เห็นได้ว่าหน้าที่ในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งอยู่ การทำหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จึงเป็นการทำงานแทน และเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 การขนสินค้าตามฟ้องขึ้นจากเรือไปวางไว้ที่พื้นหน้าท่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการส่งมอบสินค้าให้ไปอยู่ในความครอบครองดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การที่ลวดสลิงที่รัดยึดสินค้าเกิดขาดในระหว่างที่ปั้นจั่นยกลอยขึ้นจากเรือกำลังจะเคลื่อนย้ายมาวางที่พื้นหน้าท่าและตกกระแทกพื้นที่หน้าท่าทำให้สินค้าได้รับความเสียหายนั้น ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าดังกล่าวยังอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมต้องรับผิดเพื่อความเสียหายดังกล่าว โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าความเสียหายนั้นเกิดจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมรถปั้นจั่น ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยหรือไม่ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความผิดหรือประมาทเลินเล่อของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 52 (13)