คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมคิด ไตรโสรัส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 981 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิมากกว่าผู้จดทะเบียนภายหลัง หากเครื่องหมายการค้ามีชื่อเสียงมาก่อน
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าเดิม ผู้โต้แย้งสิทธิมีอำนาจฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ละเมิดได้ แม้คำสั่งคณะกรรมการฯ จะไม่เป็นคุณ
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่า แม้จะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้ จดทะเบียนในประเทศไทยก็อาจฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้า อันได้จดทะเบียนไว้แล้วได้หากเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เมื่อประกอบกับ มาตรา 41(1) ที่ให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่แสดงได้ว่าตนมีสิทธิใน เครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ อาจร้องขอให้ เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โจทก์ซึ่งอ้างตนว่าเป็น ผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยทั้งสอง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองได้
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะได้กล่าวอ้างถึงการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อศาลตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับในภายหลัง แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในการกระทำของจำเลยทั้งสองที่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302-3303/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสมาชิก P&I Club: การบังคับตามข้อตกลงและข้อบังคับ แม้ชื่อเรียกแตกต่างกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามสัญญาประกันภัยแบบสหการ(Mutual Insurance) ซึ่งเรียกกัน ทั่วไปว่า พี แอนด์ ไอ คลับ(P & I Club) เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 สิ้นสุดการเป็นสมาชิกจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการออกจากการเป็นสมาชิกให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงที่ได้มีการกำหนดไว้ในระหว่างโจทก์และสมาชิกผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็น การบังคับให้เป็นไปตามเจตนาที่แสดงไว้ในสัญญานั้น ค่าธรรมเนียมการออกจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ย่อมพึงต้องพิจารณาตามเนื้อความแห่งกฎระเบียบและข้อบังคับเป็นหลัก ส่วนจะใช้ชื่อเรียกว่าอย่างไรนั้นไม่ใช่ ข้อสาระสำคัญ การเรียกชื่อเป็นเพียงนามเรียกขานซึ่งอาจจะเรียกแตกต่างกันไปได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมหากพ้นจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในค่าธรรมเนียมดังกล่าวมานั้นหาได้ขัดต่อกฎหมาย วิธีพิจารณาความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนประกันภัย: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับประกันภัยและการรับผิดของตัวการ-ตัวแทน
โจทก์และผู้รับประกันภัยรายอื่นรวม 12 ราย ตกลงเข้ารับประกันภัยการขนส่งสินค้าร่วมกันโดยระบุชื่อและกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้แน่นอน โดยมุ่งหวังแบ่งปันกำไรอันพึงได้ตามสัดส่วนดังกล่าวจากการรับประกันภัยรายนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม ป.พ.พ. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัยรายอื่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วยโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับประกันภัยรายอื่นจะทำหนังสือมอบสิทธิของตนให้แก่โจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ย่อมใช้สิทธิแทนผู้รับประกันภัยทุกคนมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายของสินค้าได้เต็มจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อไป
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง ในขณะที่ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่จำเลยที่ 4 สินค้ายังไม่เกิดความเสียหายแต่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากหน้าท่าเรือไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 สินค้าไม่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 4 (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบสินค้าที่ถูกขนส่งทางเรือและถูกขนถ่ายลงจากเรือมาที่หน้าท่า การขนถ่ายเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากบริเวณหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้า ย่อมเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 แม้การขนย้ายตู้สินค้ารายนี้จะกระทำโดยรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดหามา แต่ก็โดยการอนุญาตของจำเลยที่ 4 การดำเนินการของจำเลยที่ 3 เท่ากับเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบในการกระทำของจำเลยที่ 3 เช่นเดียวกับการกระทำของตนเองเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้ารายนี้เกิดตกหล่นจากรถบรรทุกในระหว่างการขนย้ายจากหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 ทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 4 จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นผู้จัดหารถบรรทุกมาทำหน้าที่แทนจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญ-ความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัย-การขนส่งสินค้าทางเรือ-ตัวการตัวแทน
การที่โจทก์และผู้รับประกันภัยรายอื่นรวม 12 ราย ตกลงเข้ารับประกันภัยการขนส่งร่วมกัน โดยระบุชื่อและกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้แน่นอน โดยมุ่งหวังแบ่งปันกำไรอันพึงได้ตามสัดส่วนดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัยรายอื่นซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับประกันภัยรายอื่นจะทำหนังสือมอบสิทธิของตนให้แก่โจทก์หรือไม่
จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องดูแลและรับผิดชอบสินค้าที่ถูกขนส่งทางเรือและถูกขนถ่ายลงจากเรือมาที่หน้าท่า การขนถ่ายเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากบริเวณหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้า ย่อมเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 ด้วย แม้การขนย้ายตู้สินค้ารายนี้จะกระทำโดยรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดหามา แต่ก็โดยการอนุญาตของจำเลยที่ 4 การดำเนินการของจำเลยที่ 3 จึงเท่ากับเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกับการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ, การแจ้งเอกสาร, และขอบเขตการบังคับ
เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 31 (3) ที่กำหนดให้คำแปลภาษาไทยของคำชี้ขาดและสัญญาอนุญาโตตุลาการที่อ้างส่งต่อศาลนั้นต้องมีผู้แปลซึ่งได้สาบานตนแล้ว เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับรองนั้น เป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อความน่าเชื่อถือของเอกสารซึ่งกระทำในต่างประเทศเท่านั้น จึงไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยสละประเด็นข้อนี้โดยไม่คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จำเลยจึงอุทธรณ์ว่าคำแปลภาษาไทยดังกล่าวไม่มีผู้แปล เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศตัวแทนทางการทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับรองไม่ได้
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ. 1 ถึง จ. 5 ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์หรือไม่ก็ดี และเอกสารหมาย จ. 1 และ จ. 2 ไม่สมบูรณ์เนื่องจากมิได้ปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ดี เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแทนโจทก์ในการ "?ยื่นฟ้องต่อสู้คดีและดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวง?ในประเทศไทย?หรือดำเนินกระบวนพิจารณาทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา?" ข้อความดังกล่าวย่อมหมายถึงการฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการด้วย
หนังสือมอบอำนาจกระทำในต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.รัษฎากรที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 ที่บัญญัติให้สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันคู่กรณีได้ต่อเมื่อ มีหลักฐานเอกสารหรือมีข้อสัญญาอยู่ในเอกสารโต้ตอบทางจดหมาย โทรสาร โทรพิมพ์หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจไต่สวนและชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็อุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้ามีเครื่องหมายการค้า การละเมิดสิทธิ และการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
โจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คำว่า "WAHL" โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าปัตตะเลี่ยน ทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไปใช้โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าก็เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของผู้อื่นและเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตนการที่มีผู้ซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบการค้า เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าหลังซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า หากผู้ผลิตได้ประโยชน์จากการขายแล้ว
เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยน ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนทางทะเล: การส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีนี้ฟังได้ว่า การขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย คือเจ้าของสินค้านำตู้สินค้าไปบรรจุเอง รวมทั้งตรวจนับและปิดผนึก หน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งจะเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง และจะสิ้นสุดต่อเมื่อตู้สินค้าได้ถูกส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง และตามระเบียบของท่าเรือโยโกฮาม่า การขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ท่าเรือดังกล่าว จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้แก่ท่าเรือปลายทาง ณ ลานพักสินค้าของท่าเรือโยโกฮาม่า อันเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบตามสัญญารับขนของทางทะเลและตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40 (3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2535 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายของสินค้าที่รับขนอันเนื่องมาจากการรับขนของทางทะเลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 4 ได้ส่งมอบสินค้าพิพาทโดยชอบแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
of 99