คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1437

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัด: การคืนของหมั้น สินสอด ค่าทดแทนความเสียหาย และการพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิง หลังจากแต่งงานกันแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้ หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น, การคืนของหมั้นสินสอด, ค่าใช้จ่ายเตรียมสมรส, หักกลบลบหนี้, ความเสียหายจากสัญญา
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกร้องของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส
เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิงหลังจากแต่งงานแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย
หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่ จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้
หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสมรสไม่ปรากฏ เงินที่ให้ถือเป็นของขวัญ ไม่ใช่ของหมั้นสินสอด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้ มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสมรสตามกฎหมายสำคัญกว่าพิธี หากไม่มีเจตนา เงินที่ให้ถือเป็นของขวัญ ไม่ใช่หมั้นสินสอด
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอดคืนไม่ได้เมื่อสมรสตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียน
การที่โจทก์ให้เงินสดและสร้อยคอทองคำแก่ฝ่ายจำเลยโดยฝ่ายโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 มีอายุยังไม่ครบกำหนดที่จะจดทะเบียนสมรสได้ แต่ก็ยอมให้โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกันตามประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภริยาโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสนั้น เงินสดและสร้อยคอทองคำดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอดตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสมรสตามประเพณี ไม่จดทะเบียน: เงินที่ให้ไม่ใช่สินสอด
การที่โจทก์ให้เงินสดและสร้อยคอทองคำแก่ฝ่ายจำเลยโดยฝ่ายโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 มีอายุยังไม่ครบกำหนดที่จะจดทะเบียนสมรสได้ แต่ก็ยอมให้โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกันตามประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภริยาโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสนั้น เงินสดและสร้อยคอทองคำดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอดตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสไม่เป็นโมฆียะ แม้ฝ่ายหญิงไม่ยินยอมร่วมประเวณีในคืนเข้าหอ เหตุผลคือความเหนื่อยล้าและอายุ
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 หมั้นและทำการสมรสกันในวันนั้นเองหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาก็มอบตัวจำเลยที่ 1 ให้ไปอยู่กินกับโจทก์ที่ 1 ทันที โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1ได้พากันไปไหว้ พระในที่ต่าง ๆ จนถึงตอนเย็นได้รับประทานอาหารด้วยกันแล้วจึงส่งตัวเข้าหอ โดยจำเลยที่ 1 มิได้อิดเอื้อน แต่จำเลยที่ 1ไม่ยอมให้โจทก์ที่ 1 ร่วมประเวณีด้วยเพราะเหน็ดเหนื่อยไม่มีอารมณ์ที่จะร่วมเพศ ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่มมีอายุเพียง 19 ปี ไม่เคยสมรสมาก่อน อาจจะยังกลัวต่อการร่วมประเวณีจึงได้ขอผัดผ่อนไปก็ได้ โจทก์ที่ 1 จึงควรให้โอกาสจำเลยที่ 1 ได้ผัดผ่อนตามที่ร้องขอ ไม่ควรวู่วาม เอาแต่ใจตัวจะต้องร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ในคืนนั้นให้ได้การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมประเวณีดังกล่าวจึงยังไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 และจะถือว่าจำเลยทั้งสองทำกลฉ้อฉลไม่ได้ การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิขอเพิกถอนและเรียกแหวนหมั้นกับเงินสินสอดคืนจากจำเลยทั้งสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจดทะเบียนสมรสที่ไม่มีการหมั้น ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน เพราะไม่ใช่สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบังคับได้ คดีไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไป
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439 ถ้าฝ่ายใด ผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้นการตกลงจะสมรสโดย ไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้ และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ โดยเฉพาะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการให้ที่ดินเพื่อตอบแทนการสมรสมีผลผูกพันบังคับได้ แม้ไม่เข้าข่ายสินสอดตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนการสมรสว่า ฝ่ายชายยกที่ดินพิพาทเป็นสินสอดฝ่ายหญิง เมื่อปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันและไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอด. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 แต่การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้ โจทก์ก็เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาแล้ว. จำเลยก็มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินให้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินในการสมรส: การยกที่ดินเป็นสินสอดและผลบังคับใช้ของข้อตกลง
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนการสมรสว่า ฝ่ายชายยกที่ดินพิพาทเป็นสินสอดฝ่ายหญิง เมื่อปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันและไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอด. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 แต่การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินให้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกดังกล่าวได้
of 4