คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1437

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว และกรรมสิทธิ์รวม
แม้โจทก์จะประกาศด้วยวาจาในวันแต่งงานกันตามประเพณีว่าจะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยแต่ตามพฤติการณ์หลังจากโจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณีแล้ว จำเลยไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ประเทศสวีเดน และร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหารโดยใช้ชื่อของจำเลยว่า บริษัท อ. ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศสวีเดนโดยมีข้อตกลงเป็นสัญญาก่อนสมรสว่า บริษัทดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ประกอบกับโจทก์โอนเงิน 2,300,000 บาท จากประเทศสวีเดนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัท บ. ที่ประเทศไทย เพื่อนำไปชำระค่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาท แล้วบริษัท บ. ถอนเงินนำเงินไปจ่ายให้แก่ผู้ขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยตรงไม่ผ่านจำเลย เมื่อจำต้องให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่เพียงผู้เดียว โจทก์จึงให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ 2,400,000 บาท โดยโจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินไว้ และจดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีค่าตอบแทนตลอดชีวิต จึงไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อเป็นสินสอดแก่จำเลยหรือการให้โดยเสน่หา ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินสอดหรือเป็นการให้โดยเสน่หาตาม ป.พ.พ. มาตรา 521 และมาตรา 1437 แต่การที่โจทก์นำเงินที่จำเลยมีส่วนในการทำมาหาได้ร่วมกันจากการประกอบธุรกิจร้านอาหารดังกล่าวระหว่างเป็นสามีภรรยากับโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทก่อนจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแห่งประเทศสวีเดน จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1356 และมาตรา 1357
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียวเนื่องเพราะโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวไม่สามารถมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตาม ป.ที่ดิน จึงจำต้องหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยใช้วิธีให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ กับจดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีค่าตอบแทนตลอดชีวิต ทั้งโจทก์ยังยึดถือโฉนดที่ดินไว้ เพื่อเป็นการบังคับควบคุมมิให้จำเลยบ่ายเบี่ยงบิดพลิ้วจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินและบ้านพิพาทแก่บุคคลอื่น นิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้และโจทก์จำเลยไม่สมัครใจให้ผูกพันกันอันเป็นนิติกรรมอำพราง นิติกรรมอันแท้จริงคือ โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนซื้อและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแทนโจทก์กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 สัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมอำพรางย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จึงต้องบังคับกันตามนิติกรรมที่แท้จริงตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยเรื่องตัวแทน ซื้อขาย กรรมสิทธิ์รวม และ ป.ที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 94 เรื่องการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวและการจำหน่ายที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง จำจะต้องไปว่ากล่าวเอาความแก่กันต่างหากจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบทรัพย์สินเพื่อการสมรส ไม่ถือเป็นสินสอด หากไม่มีการหมั้นตามประเพณี สัญญาต่างตอบแทนจึงไม่สมบูรณ์
การสมรส เป็นพฤติการณ์ที่ชายและหญิงตกลงที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ความสมัครใจและความรักของทั้งสองฝ่ายที่จะอยู่ร่วมกันเป็นเหตุสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีวัฒนธรรมประเพณีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ข้อที่สำคัญ คือ กฎหมายไม่สามารถบังคับให้ชายหญิงอยู่ด้วยกันหรือบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสได้ กฎหมายลักษณะครอบครัวจึงถูกบัญญัติไว้เป็นพิเศษเพื่อใช้บังคับและแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้ชีวิตร่วมกันของชายหญิงที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสัญญาโดยทั่วไป จะนำบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับหาได้ไม่ มิฉะนั้นศาลต้องบังคับให้คู่สัญญาจดทะเบียนสมรสหรืออยู่กินฉันสามีภริยากับอีกฝ่ายหนึ่งตามวัตถุประสงค์แห่งหนี้อันเป็นมูลหนี้เดิมเสียก่อนและจะทำให้กฎหมายลักษณะครอบครัวไม่มีผลใช้บังคับด้วย
คดีนี้โจทก์ไม่ได้มอบของหมั้นแก่จำเลยที่ 1 แต่โจทก์ได้มอบทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ยอมสมรส คู่สัญญาของการหมั้นหมายถึงโจทก์และจำเลยที่ 1 รวมตลอดถึงบิดามารดาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบของหมั้นแก่จำเลยที่ 1 สัญญาหมั้นจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ การที่โจทก์มอบทรัพย์สินแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ถือเป็นการมอบสินสอดให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามกฎหมาย ไม่ตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1437 แต่ถือได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเสน่หา ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสและไม่ยอมกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์อีก ก็หาจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คืนทรัพย์สินแก่โจทก์ฐานจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้นได้ไม่
ปัญหาว่าจะใช้บทบัญญัติกฎหมายใดบังคับแก่คดี เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นไม่เป็นผลผูกพันเมื่อคู่หมั้นไม่ได้ตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส และไม่ได้วางแผนชีวิตคู่ร่วมกัน
การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีเรื่องทะเลาะกันทั้งๆ ที่โจทก์กับจำเลยได้จัดงานแต่งงานใหญ่โต มีแขกไปในงานมากมายและโจทก์กับจำเลยก็ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันแล้ว ซึ่งการเลิกรากันก็ทำให้เป็นที่อับอายและเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นหญิง ทั้งโจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ราบรื่น เพราะต่างต้องแยกกันทำงานคนละจังหวัด แทนที่โจทก์จะพยายามทำความเข้าใจกับจำเลยให้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามสภาพแต่โจทก์กลับไปแจ้งความว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยทั้งที่เวลาสู่ขอกันไม่มีการตกลงเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้โจทก์ไม่สมควรสมรสกับจำเลย เพราะตามพฤติการณ์แสดงว่าต่างมิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงไม่อาจกล่าวโทษได้ว่า การที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ดังนั้น กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงมิได้ผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8954/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคืนเงินและทองในพิธีหมั้น การฟ้องละเมิดจากข่าวลือ และการพิสูจน์ความเสียหาย
การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ จะต้องฟังให้ได้เสียก่อนว่า โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 หรือไม่ เพราะการหมั้นตามกฎหมายนั้นต้องมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย มิใช่เมื่อมีการมอบของหมั้นแล้ว ก็มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 1437
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์ทั้งสองจะคืนเงินสดและทองรูปพรรณที่ใช้ในพิธีหมั้นให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงาน ดังนั้น เงินสดและทองรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแสดงในวันหมั้นเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทั้งสองฝ่ายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในเงินสดและทองคำรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงานจึงเป็นการส่งคืนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลง มิใช่การฝากทรัพย์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของการหมั้นและการแต่งงานเมื่ออายุไม่ครบ 17 ปี และผลกระทบต่อการคืนของหมั้นสินสอด
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัดและค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาความเสียหายทางชื่อเสียงและโอกาสทางอาชีพ
พฤติการณ์ที่จำเลยซื้อแหวนเรือนทองฝังเพชรมอบให้โจทก์ตลอดจนการจองสถานที่จัดงานพิธีสมรสและพิมพ์บัตรเชิญงานสมรสรวมทั้งการติดต่อผู้ใหญ่ให้มาเป็นเจ้าภาพในงานพิธีสมรส ล้วนส่อแสดงว่าจำเลยประสงค์จะสมรสกับโจทก์ การให้แหวนกันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการหมั้นและเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการสมรสกันในเวลาต่อมาแม้การหมั้นจะมิได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยานก็เป็นการหมั้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไปสมรสกับ น. โดยมิได้สมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน2537 แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยังมีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยังมีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงานพิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายเป็นอันยุติ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า200,000 บาท จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อมีการสมรสแล้ว และเหตุฟ้องหย่าเรื่องละทิ้งร้าง
การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรส โดยเป็น ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคือจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กิน ด้วยกันแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน เป็นเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั่วไป มิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจ ระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวน ของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ แต่ก็อ้างว่าจะต้องซักผ้าและ ทำธุระส่วนตัว หากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดา เป็นบางครั้ง โจทก์ก็อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลย และเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวาย ที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยผูกข้อมือไม่มีผลทางกฎหมายเรื่องสินสอดทองหมั้นและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ตกลงแต่งานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามมาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยผูกข้อมือ ไม่ถือเป็นหลักฐานการหมั้นหรือสินสอด สิทธิเรียกร้องทรัพย์สินและค่าเสียหายไม่มี
โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามมาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยผูกข้อมือ ไม่ถือเป็นหมั้นหรือสมรสตามกฎหมาย สิทธิเรียกร้องสินสอดและค่าเสียหายจึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ฉะนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนส่วนการที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1458การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440
of 4