พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ศาลใช้ราคาซื้อขายจริงใกล้เคียงเป็นเกณฑ์ประเมินค่าทดแทนได้ แม้ราชการประเมินราคาไม่เท่ากัน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 24 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วยจึงไม่ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้เคียงกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาด มาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน79 ตารางวา ไม่ มาก เกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเสนออนุญาโตตุลาการไม่บังคับ, ราคาประเมินทางราชการใช้ไม่ได้, ราคาซื้อขายจริงใช้ได้
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 84 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วย จึงให้ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องและผู้คัดค้านกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธานศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการจนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ.เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลกรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ.และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้อง และผู้คัดค้าน กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการ จนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ. เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้ มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล กรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ. และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้