คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิมล สมานิตย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880-8886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ไม่ขัดแย้งกับการคุ้มครองกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤตการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนแก่กิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราวโดยไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างที่จะให้หยุดการทำงานชั่วคราวนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือบรรเทาลง และได้กำหนดมาตรการควบคุมไว้ในมาตรา 75 วรรคสอง หากปรากฏในภายหลังว่านายจ้างกล่าวอ้างยกเหตุจำเป็นต้องหยุดกิจการเป็นความเท็จเพื่อเอาเปรียบลูกจ้าง ลูกจ้างก็ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานเรียกค่าเสียหาย รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หากมีตามสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจากนายจ้างได้
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีที่นายจ้างประสบวิกฤตการณ์จนจำเป็นต้องหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวตามมาตรา 75 มีเจตนารมณ์แตกต่างจากบทบัญญัติมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างโดยเฉพาะให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งจากนายจ้างด้วยการเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใดที่อาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานอ้างว่า มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราวโดยสาเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัย และขออนุญาตศาลแรงงานจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับ เป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 จึงไม่จำต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน และกรณียังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880-8886/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ไม่ขัดแย้งกับความคุ้มครองกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤตการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนแก่กิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวอันเป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราว โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างที่จะให้หยุดทำงานชั่วคราวนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือบรรเทาลง แต่นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวเพียงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน แม้กฎหมายจะให้สิทธินายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ได้ กฎหมายก็ไม่ได้ยอมให้นายจ้างกระทำไปโดยอิสระแต่ได้กำหนดมาตรการควบคุมไว้ในมาตรา 75 วรรคสอง หากปรากฏในภายหลังว่านายจ้างกล่าวอ้างยกเหตุจำเป็นต้องหยุดกิจการตามมาตรา 75เป็นความเท็จ เพื่อเอาเปรียบลูกจ้าง ลูกจ้างก็ชอบจะใช้สิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานเรียกค่าเสียหายรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หากมีตามสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจากนายจ้างได้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 มีเจตนารมณ์แตกต่างอย่างชัดเจนจากบทบัญญัติมาตรา 52แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างโดยเฉพาะให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งจากนายจ้างด้วยการเลิกจ้างลดค่าจ้าง ลงโทษขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างหรือกระทำการใดที่อาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ อันเป็นสถานการณ์ปกติของนายจ้าง ไม่ใช่กรณีที่นายจ้างประสบวิกฤตการณ์จนจำเป็นต้องหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวตามมาตรา 75
ที่ผู้ร้องนายจ้างในคดีนี้อ้างว่า มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราวโดยสาเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัย และขอจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องด้วยมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่จะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน กรณีตามคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิและไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ให้ยกคำร้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ป่วย vs. การพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางการแพทย์: กรณีเงินทดแทนจากโรคประจำตัว
แม้บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 31 และที่โจทก์ไม่ยินยอมให้คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ยอมให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจซึ่งเป็นพิรุธ มาเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่าโจทก์มิได้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบบิสซิโนซีสนั้นเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของศาล มิใช่ศาลแรงงานปฏิเสธสิทธิที่โจทก์มีตามรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 42 ให้อำนาจคณะกรรมการสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องส่งเอกสารมาให้ มิใช่บังคับให้คณะกรรมการมีหน้าที่ต้องสั่งเรียกเอกสารเสมอไป เมื่อโจทก์ยืนยันไม่ยอมส่งประวัติและผลการตรวจของ แพทย์หญิง อ. ให้แก่สำนักงานประกันสังคม จึงไม่มีเหตุที่คณะกรรมการจะต้องออกคำสั่งเรียกให้ส่งเอกสารก่อนการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7492/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำของลูกจ้างไม่ถึงขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับ
การที่โจทก์ดื่มสุรานอกสถานที่ทำงานในช่วงเวลาที่โจทก์ได้ขออนุญาตด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาออกไปทำธุระส่วนตัว แม้การขออนุญาตดังกล่าวของโจทก์จะไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับ เนื่องจากมิได้ขออนุญาตเป็นหนังสือ แต่ผู้บังคับบัญชาก็ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้ว ส่วนกรณีที่โจทก์เมาสุราและมีเหตุทะเลาะวิวาทกับ ส. ในบริเวณที่ทำงานของจำเลย การทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นเมื่อเวลาหลังเลิกงานแล้วโดยไม่ทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย และแม้โจทก์โทรศัพท์แจ้งเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่าธุระยังไม่เสร็จ ก็ไม่ปรากฏว่าได้ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เช่นเดียวกัน ดังนี้การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ได้กำหนด ให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลยด้วย
การเลิกจ้างกรณีเช่นใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลแรงงานสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรในการเลิกจ้างประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โจทก์ไม่ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ทั้งข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้การลงโทษไล่ออกกระทำได้ในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง-ค่าชดเชย: ศาลแรงงานพิจารณาพยานหลักฐานและคำนวณค่าชดเชยผิดพลาด
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่าง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสิบสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน 40,500 บาทศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาทแต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาทแม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าว ศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174-7185/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การพิสูจน์เหตุเลิกจ้าง และขอบเขตอำนาจศาลในการพิพากษาค่าชดเชยเกินคำขอ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่วง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9 ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่สืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสองแต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาท มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน40,500 บาท ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาท แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาท แม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าวศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าเช่าบ้านและเบี้ยเลี้ยงเนื่องจากโจทก์ไปปฏิบัติงานที่จังหวัดชลบุรีและไม่มีบ้านพักเป็นของตนเอง ต้องนำใบเสร็จมาแสดงและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร ค่าเดินทางกลับบ้าน และค่าซ่อมรถ ทั้งต้องจ่ายจริงมีลักษณะจ่ายเป็นสวัสดิการ ไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515
จำเลยมีระเบียบห้ามพนักงานขายประกัน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดให้ลูกจ้างจำเลยต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และในการประชุมระดับผู้บังคับบัญชา กรรมการใหญ่ประธานในที่ประชุมได้พูดห้ามพนักงานขายประกัน คำสั่งห้ามของกรรมการใหญ่ถือเป็นระเบียบข้อบังคับการทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เมื่อโจทก์กระทำผิดข้อบังคับและจำเลยเคยมีบันทึกภายในเตือนโจทก์มิให้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวด้วยการหาประกันด้วยแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์อนุญาตให้ อ. ขายประกัน แต่นำค่านายหน้ามาเป็นสวัสดิการของพนักงานและไม่ปรากฏว่า อ. นำผู้ที่ประสงค์จะทำสัญญาประกันจากสำนักงานสาขาจำเลยไปผ่านตัวแทนหรือนายหน้าที่จำเลยแต่งตั้ง จึงเป็นเพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยเท่านั้น ไม่เป็นความผิดวินัยที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3)
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกำหนดว่าสมาชิกจะไม่ได้รับเงินสมทบรวมทั้งประโยชน์ของเงินสมทบทั้งจำนวนหากสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพด้วยสาเหตุฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องตักเตือนเมื่อโจทก์มิได้กระทำผิดระเบียบหรือคำสั่งกรณีร้ายแรงโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสมทบรวมทั้งประโยชน์ของเงินสมทบทั้งจำนวน
จำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่าทดแทนแก่ตัวแทนนายหน้าที่จำเลยแต่งตั้งให้ขายประกันการที่โจทก์อนุญาตให้ อ. ขายประกันโดยผ่านตัวแทนนายหน้าที่จำเลยแต่งตั้งการได้ค่าตอบแทนมาจึงเป็นไปตามข้อตกลงของจำเลยมิได้เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพียงแต่ผิดระเบียบข้อบังคับการทำงาน การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่มีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานสืบเองได้ แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อพยานในบัญชีระบุพยาน
ข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ซึ่งออกบังคับใช้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 29 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานภายในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความมานำสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลแรงงานก็มีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นกรณีมีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) , 88 มาอนุโลมใช้
แม้บัญชีระบุพยานจำเลยระบุเพียง "ฝ่ายกฎหมาย บริษัทสาธรคาร์เร้นท์ จำกัด" โดยไม่ได้ระบุชื่อ ส. เป็นพยานจำเลย ศาลแรงงานกลางก็สามารถรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานได้ในฐานะพยานที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรสืบเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและสิทธิในการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องแจ้งเหตุขณะบอกเลิกจ้าง
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่าไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่า ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาจำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ
of 140