คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 265

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมรู้ร่วมคิดใช้หนังสือเดินทางปลอม, เจ้าพนักงานเสียหาย, ตัวการใช้เอกสารราชการปลอม
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง มีหน้าที่ตรวจ-สอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ ส.ว่า พ.ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย.ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ ก็เพื่อให้ ส.หลงเชื่อว่า พ.เป็นบุคคลเดียวกันกับ ย.ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้ พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ ทำให้ ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหาย เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส.เพื่อช่วยเหลือให้ พ.ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ.ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของ ย.ภริยาจำเลย แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบกับ มาตรา265, 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเป็นหลักฐานต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษได้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้อง หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ระหว่างฎีกา จึงไม่อนุญาติให้ถอนฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 นำใบรับเงินปลอมไปอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ได้รับตามใบรับเงินดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นเหตุ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ว่าพนักงานสอบสวน จะเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ก็ตาม ใบรับเงินเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 264 เป็นการปรับบทลงโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความ จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 แต่โจทก์ มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาคงมีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อฉ้อโกงประกันภัย ศาลลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมและพยายามฉ้อโกง
การที่จำเลยที่ 1 ใช้เอกสารราชการปลอมไปแสดงต่อโจทก์ร่วมว่า พนักงานสอบสวนไม่มีความขัดข้องในการที่จำเลยที่ 1 จะไปขอรับเงินค่าทดแทนความเสียหายจากบริษัทประกันภัยในการที่เกิดเพลิงไหม้อาคารของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในการที่อาคารที่จำเลยที่ 1 เอาประกันอัคคีภัยไว้กับโจทก์ร่วมเกิดเพลิงไหม้เสียหาย การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานพยายามฉ้อโกงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารสิทธิเพื่อปกปิดการยักยอก สิทธิฟ้องระงับเมื่อคดีถึงที่สุด
จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบรับเงินแล้วใช้เอกสารปลอมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของโจทก์ร่วม เพื่อปกปิดการกระทำของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินบางส่วนของโจทก์ร่วมไป แม้การปลอมเอกสารดังกล่าวจะกระทำภายหลังที่จำเลยยักยอกเงินไปแล้วก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับที่จำเลยได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป โดยจำเลยมีเจตนาที่จะใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของโจทก์ร่วมนั่นเอง ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานยักยอก จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าว และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ที่โจทก์ฎีกาว่าการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นการกระทำในเวลาต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมกันนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวระงับไปแล้วฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสารสิทธิ: ศาลต้องพิจารณาอัตราโทษเพื่อวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ได้หรือไม่
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดตามฟ้องว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความข้อหาปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามฟ้อง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทคดีโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอม กรณีลงชื่อแทนเจ้าพนักงานและใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม
นอกจากจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์โดยลงชื่อของจำเลยในช่องลงชื่อของเจ้าของรถแล้ว จำเลยยังลงชื่อบุคคลอื่นในช่องลงชื่อผู้บันทึกและนายทะเบียนด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้บันทึกและนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นผู้มีอำนาจกระทำเอกสารดังกล่าว หาใช่จำเลยไม่ จำเลยจึงมีเจตนาทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนอันเป็นเอกสารราชการ เมื่อจำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทำปลอมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 2 แผ่นเพราะจำเลยได้นำไปใช้ติดกับรถยนต์ของกลางเพื่อให้ตรงกับหมายเลขทะเบียนในใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ การที่จำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ และว่าจ้างให้ผู้อื่นทำปลอมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ 2 แผ่น แล้วนำเอกสารทั้งหมดไปใช้กับรถยนต์ของกลาง ย่อมฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้เอกสารปลอมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ: การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่อเนื่อง
จำเลยปลอมบัตรนำนักทัศนาจรชาวต่างประเทศเข้าชมพระราชฐานขอสำนักพระราชวังจำนวน 4 ฉบับ ให้แก่ผู้มีชื่อในบัตร แม้บัตรแต่ละฉบับที่จำเลยทำปลอมขึ้นเป็นการออกให้ต่างบุคคลกัน และวันออกบัตรกับวันบัตรหมดอายุแตกต่างทั้ง 4 ฉบับ แต่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและยึดเอกสารต่าง ๆ ได้ในคราวเดียวกัน โดยโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ปลอมบัตรทั้ง 4 ฉบับต่างวันต่างเวลาและโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน จึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำเพียงกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารราชการปลอม vs. ใช้เอกสารปลอม: ความแตกต่างและขอบเขตความผิด
เอกสารมรณบัตรปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้นั้นเป็นภาพถ่ายเอกสาร โจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารอันเป็นที่มาของภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวถ่ายเอกสารมาจากมรณบัตรที่เจ้าพนักงานทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ หรือสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ ซึ่งมีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นหรือไม่ ต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว มิได้ถ่ายเอกสารมาจากเอกสารที่มีลักษณะดังกล่าว แต่ได้ถ่ายเอกสารมาจากภาพถ่ายเอกสารที่มีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในภาพถ่ายเอกสารนั้น ซึ่งมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการปลอม การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร ท.ร.6 เป็นเอกสารราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
เอกสารใบแจ้งย้าย ท.ร.6 ตอน 1 เป็นแบบฟอร์มของทางราชการที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายออก และนายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายเข้าต้องลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งในเอกสารนี้ด้วย จึงถือได้ว่าเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร, ปลอมแปลงเอกสาร, แจ้งความเท็จ: องค์ประกอบความผิดและอำนาจฟ้อง
ส.พบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยจึงขอรถยนต์คืน โดยนำหลักฐานสัญญาเช่าซื้อไปแสดงต่อจำเลย จำเลยไม่คืนให้โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าจำเลยได้รถยนต์มาอย่างไร และจำเลยยังเรียกร้องเอาเงินจาก ส.โดยอ้างว่าจำเลยนำรถยนต์ไปซ่อมอีกทั้งจำเลยกลับนำรถยนต์คันดังกล่าวที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอมและหมายเลขเครื่องยนต์ที่ถูกขูดลบแก้ไขไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยแจ้งว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จพร้อมกับขอโอนรถยนต์จากผู้อื่นมาเป็นของจำเลย ขอเปลี่ยนสีและขอเสียภาษีรถยนต์ย้อนหลัง พฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยครอบครองรถยนต์ดังกล่าวไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกอีกแต่ข้อหาฐานรับของโจรนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อาจลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำรถยนต์ที่มีหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนดังกล่าวไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยไปแจ้งเจ้าพนักงานว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานใช้หมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอม กับมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) ได้ให้คำนิยามของคำว่า "เอกสาร"ไว้ว่าหมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแบบแผนอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจากบทนิยามดังกล่าวหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์จึงเป็นเอกสาร โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ" ซึ่งย่อมมีความหมายแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด คือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นความเท็จแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่าคดีนี้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ในข้อหายักยอกภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องกับที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก แม้จะวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลย ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
of 50