พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11925/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้บัตรปลอม, ปลอมและใช้เอกสารราชการ, การริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
หลังจากเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 3 ได้พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 1ฬ - 2678 กรุงเทพมหานคร แล้ว จึงให้จำเลยที่ 3 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 4 เพื่อนัดรับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร การที่จำเลยที่ 4 นำใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร มาส่งให้แก่จำเลยที่ 3 ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งทำนั้น ถือว่าเป็นการใช้เอกสารราชการใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 7ฮ - 9961 กรุงเทพมหานคร แล้ว
ในวันรุ่งขึ้นหลังการจับกุมจำเลยที่ 4 พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยที่ 4 และในชั้นพิจารณาที่จำเลยที่ 4 เบิกความต่อศาล จำเลยที่ 4 ไม่เคยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ทั้งขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่จำเลยที่ 4 ปลอมหนังสือแสดงการจดทะเบียนของรถบรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน 81 - 0409 กรุงเทพมหานคร กับปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีของรถบรรทุกส่วนบุคคลดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 4 มีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อนำไปใช้หรือแสดงต่อผู้พบเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจะได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 4 ในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
แม้ตรายางที่ยึดได้ภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 4 บางอันจะไม่ใช่ตรายางที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ในการกระทำความผิดคดีนี้ แต่ตรายางที่ยึดได้นั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการของกรมการขนส่งทางบกโดยเฉพาะ จึงต้องริบตรายางทั้ง 25 อัน ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ในวันรุ่งขึ้นหลังการจับกุมจำเลยที่ 4 พนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยที่ 4 และในชั้นพิจารณาที่จำเลยที่ 4 เบิกความต่อศาล จำเลยที่ 4 ไม่เคยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ทั้งขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยที่ 4 รับราชการทหาร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่จำเลยที่ 4 ปลอมหนังสือแสดงการจดทะเบียนของรถบรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน 81 - 0409 กรุงเทพมหานคร กับปลอมแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีของรถบรรทุกส่วนบุคคลดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 4 มีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อนำไปใช้หรือแสดงต่อผู้พบเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจะได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 4 ในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
แม้ตรายางที่ยึดได้ภายในรถยนต์ของจำเลยที่ 4 บางอันจะไม่ใช่ตรายางที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ในการกระทำความผิดคดีนี้ แต่ตรายางที่ยึดได้นั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการของกรมการขนส่งทางบกโดยเฉพาะ จึงต้องริบตรายางทั้ง 25 อัน ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11486/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินชดเชยจากผลกระทบเขื่อนเป็นมรดกได้ การปลอมเอกสารทำให้ทายาทเสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าชดใช้
แม้ขณะที่ ก. ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2540 ก. ยังไม่มีสิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชยเพราะคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติให้ผู้ที่ถูกน้ำท่วมอันเป็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธรได้รับสิทธิเช่นว่านั้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 สิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรีจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ ก. มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายและมิใช่เป็นมรดกของ ก. ผู้ตายก็ตาม แต่ ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะมรดก เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่สิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชย ดังนั้น สิทธิได้รับจัดที่ดินและการชดเชยของ ก. จึงควรตกทอดได้แก่ทายาทของ ก. เสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปลอมคำขอสละมรดกสิทธิการได้รับจัดที่ดินและการชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และใช้เอกสารปลอมดังกล่าว จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของ ก. ไม่ได้รับเงินชดเชยตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ก. จึงได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ซึ่งได้แก่การคืนทรัพย์สินอันโจทก์ร่วมทั้งสามต้องเสียไปจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกอันเป็นการกระทำละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์ รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9727/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม กรณีรับจ้างทำบัตรประชาชนปลอมและส่งมอบให้ผู้อื่น
การที่จำเลยรับจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมให้แก่สายลับ โดยรับภาพถ่ายไปจากสายลับนัดหมายกับสายลับเพื่อส่งมอบบัตรประจำตัวประชาชนปลอมที่รับจ้าง แล้วจำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนของกลางมาส่งมอบให้แก่สายลับ และถูกจับกุมได้พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของกลาง จึงถือได้ว่าเป็นการนำออกใช้ซึ่งเอกสารปลอมแล้ว เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแก้ไขสำนวนการสอบสวนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหาได้มีอำนาจที่จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม รายงานการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็มิได้ชี้มูลความผิดฐานนี้ การที่อนุกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนในความผิดฐานนี้มาด้วย จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ และแม้การสอบสวนของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงซึ่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรแต่งตั้งจะพบการกระทำความผิดฐานนี้ ก็มิใช่การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหานี้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนจากเดิมที่มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาเป็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาหลังจากเสนอสำนวนการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นลงชื่อแล้วเพื่อช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ 200 วรรคแรก
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนจากเดิมที่มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาเป็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาหลังจากเสนอสำนวนการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นลงชื่อแล้วเพื่อช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ 200 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19144/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและการขายสินค้าหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเครื่องปรับอากาศของกลาง 250 เครื่อง ที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันปลอมเครื่องหมาย (สติกเกอร์) แสดงการเสียภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศอันเป็นเอกสารราชการและนำเอกสารราชการปลอมดังกล่าวไปใช้ติดกับเครื่องปรับอากาศของกลางเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน และเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัว ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดสองฐานก่อให้เกิดผลที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18652-18653/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง, ลักทรัพย์, ปลอมเอกสาร: จำเลยร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกง, ลักทรัพย์, และปลอมเอกสาร โดยจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานลักทรัพย์ต้นฉบับเอกสาร
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม ทำใบส่งชุบนอต สกรู และแหวนอีแปะต่าง ๆ ของโจทก์ร่วมไปยังโรงชุบ ฮ. ของ ณ. และจากนั้นแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่า สินค้าบางส่วนจำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์ร่วมแล้ว เป็นเหตุให้ ณ. หลงเชื่อนำสินค้าบางส่วนดังกล่าวไปส่งมอบให้แก่จำเลยทั้งสี่หรือยอมให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มารับสินค้าบางส่วนของโจทก์ร่วมไปจาก ณ. การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
เอกสารที่จำเลยที่ 1 ลักไปจากโจทก์ร่วมเป็นแบบฟอร์มใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าที่ยังไม่มีข้อความ ไม่เป็นเอกสาร คงเป็นแบบพิมพ์ที่ยังไม่กรอกข้อความ จึงมีสภาพเป็นทรัพย์ธรรมดา ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
การปลอมใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าแต่ละฉบับระบุวันเดือนปี และสินค้าแตกต่างจากกันเป็นการกระทำให้เห็นถึงการแยกเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะให้เกิดผลแตกต่างกัน แม้บางฉบับจะระบุทำในวันเดียวกันก็หาทำให้เป็นกรรมเดียวกันแต่อย่างใดไม่ ถ้าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะทำผิดเพียงกรรมเดียวก็สามารถทำเพียงฉบับเดียวได้ จึงเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะแยกการกระทำต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน
เอกสารที่จำเลยที่ 1 ลักไปจากโจทก์ร่วมเป็นแบบฟอร์มใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าที่ยังไม่มีข้อความ ไม่เป็นเอกสาร คงเป็นแบบพิมพ์ที่ยังไม่กรอกข้อความ จึงมีสภาพเป็นทรัพย์ธรรมดา ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
การปลอมใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้าแต่ละฉบับระบุวันเดือนปี และสินค้าแตกต่างจากกันเป็นการกระทำให้เห็นถึงการแยกเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะให้เกิดผลแตกต่างกัน แม้บางฉบับจะระบุทำในวันเดียวกันก็หาทำให้เป็นกรรมเดียวกันแต่อย่างใดไม่ ถ้าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะทำผิดเพียงกรรมเดียวก็สามารถทำเพียงฉบับเดียวได้ จึงเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะแยกการกระทำต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17579/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระบุเจตนาพิเศษเพื่อใช้ในทางเสียหาย มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิว่าจำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 รู้เห็นเป็นใจและร่วมกันเติมหรือกรอกข้อความลงในสัญญากู้ซึ่งเป็นเอกสารที่แท้จริงและมีลายมือชื่อของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ว่าเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 โจทก์กู้ยืมและรับเงินจากจำเลยที่ 1 ไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนวน 300,000 บาท และจะชำระคืนภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชน อันเป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง ซึ่งโจทก์อยู่ในบังคับต้องบรรยายฟ้องระบุองค์ประกอบภายในส่วนของเจตนาพิเศษด้วยว่าจำเลยทั้งสองกระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนด้วย แต่ฟ้องโจทก์หาได้บรรยายระบุองค์ประกอบภายใน ในส่วนของมูลเหตุจูงใจเช่นว่านี้ไว้ด้วยแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15230/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ปลอมเอกสารและยักยอกทรัพย์ การนับโทษต่อ และอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างปี 2536 ถึงปลายปี 2542 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวร่วมกันปลอมใบรับเงินกู้ยืมและปลอมใบถอนเงินฝากของผู้เสียหายและยักยอกเงินของผู้เสียหาย ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายและในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอาศัยโอกาสในการที่ตนเป็นพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและพนักงานบัญชีปลอมใบรับเงินกู้ของผู้เสียหาย ยักยอกปุ๋ยของผู้เสียหาย ยักยอกข้าวเปลือกของผู้เสียหาย ยักยอกน้ำมันดีเซลของผู้เสียหาย และยักยอกเงินของผู้เสียหาย แม้วันเวลาเกิดเหตุของคดีทั้งสองจะคาบเกี่ยวกัน มูลคดีอย่างเดียวกัน และผู้เสียหายทั้งสองคดีเป็นคนเดียวกันก็ตาม แต่เอกสารสิทธิและทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกันปลอมและยักยอกเป็นเอกสารสิทธิคนละฉบับกัน ทรัพย์คนละประเภทกัน และเงินคนละจำนวนกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น อันต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14396/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในเอกสารเปลี่ยนชื่อบัญชีเงินฝากเพื่อครอบครองทรัพย์สินโดยมิชอบ เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
การที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ จ. ในหนังสือขอเปลี่ยนสมุดบัญชีเงินฝาก และนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปอ้างแสดงต่อ ค. จนในที่สุดสหกรณ์ออมทรัพย์ ล. จำกัด ได้อนุมัติตามหนังสือดังกล่าว เพราะ ค. หลงเชื่อว่าจำเลยนำเอกสารที่แท้จริงซึ่ง จ. ลงลายมื่อชื่อมายื่นเพื่อขออนุมัติ การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่ ค. และสหกรณ์ออมทรัพย์ ล. จำกัด รวมทั้ง จ. เจ้าของบัญชีเงินฝากร่วมกับจำเลยด้วย กระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14294/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในสัญญาซื้อขายแทนผู้อื่นโดยมิได้เจตนาปลอมแปลงเอกสาร ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
จำเลยเขียนชื่อของผู้เสียหายลงในช่องผู้จะซื้อของสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยเป็นการเขียนให้เป็นลายมือของจำเลยเอง และยังใช้คำว่านายนำหน้าชื่อผู้เสียหายและเขียนชื่อผู้เสียหายผิดจาก "ประพฤทธิ์" เป็น "ประพฤติ" แสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาจะเลียนให้เหมือนหรือคล้ายคลึงลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การลงลายมือชื่อปลอม เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายทั้ง 2 ฉบับ ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เสียหายและ ฉ. ไม่ได้ทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงซึ่งผู้เสียหายทำด้วยตนเอง อันจะเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ ส่วนจำเลยจะเป็นตัวแทนมีอำนาจทำสัญญาแทนผู้เสียหายจริงหรือไม่ ก็เป็นปัญหาเพียงเรื่องการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือจะผูกพันผู้เสียหายที่เป็นตัวการหรือไม่เพียงใดเท่านั้น แต่ไม่ทำให้สัญญาดังกล่าวกลายเป็นเอกสารปลอมไปได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้