คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล ตรีเพชร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ หากไม่ใช่พินัยกรรมและศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
เดิม ฝ. ฟ้อง ป. ขอถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณต่อมาได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โดย ป.ยอมคืนที่พิพาทให้ ฝ.และฝ. ยอมให้ ป. ทำกินในที่พิพาทโดย ป. ยอมให้ข้าวเปลือกแก่ ฝ.ปีละ120กิโลกรัมห้ามฝ.จำหน่ายจ่ายโอนที่พิพาท เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. ตามเดิม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่เป็นสัญญาที่ ฝ. กับ ป. ทำขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ และการที่ตกลงกันว่า เมื่อ ฝ.ถึงแก่กรรม ให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมที่พิพาทจึงตกเป็นของ ป. ตามคำพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นมรดกของ ฝ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการฎีกาที่ไม่อาจทำได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ดังนั้น คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั่นเอง เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงฎีกาต่อมาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ต้องห้ามและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว
คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 คำร้อง ของ โจทก์ ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของโจทก์อีก จึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้นโจทก์จึงฎีกาต่อมาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีต้องดำเนินการต่อเนื่องภายใน 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษา มิใช่แค่นำยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
คำว่า ร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271หาได้มีความหมายแต่เพียงว่ายื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีเท่านั้นไม่ แต่มีความหมายรวมไปถึงหน้าที่อื่น ๆที่ผู้ขอให้บังคับคดีจึงพึงต้องกระทำเพื่อต้องกระทำเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อีกด้วย โจทก์ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 แล้วมิได้ดำเนินการใด ๆ ใน ทางบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกเลย คงแถลงต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้ยึดแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เพิ่มจะมาร้องขอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 และนำเจ้าพนักงาน บังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี แก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้และอ้างเอกสารราชการปลอม การปลอมแปลงและใช้ตราประทับปลอม
เมื่อจำเลยเป็นคนนำใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมไปมอบให้ ช.โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเอกสารปลอม และใบอนุญาตขับรถยนต์ดังกล่าวได้มีรอยตราประทับของกรมการขนส่งทางบกซึ่งมิใช่รอยตราประทับที่แท้จริง จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้รอยตราปลอมและการที่จำเลยรับจะเป็นคนติดต่อทำใบอนุญาตขับรถยนต์ให้แก่ผู้ประสงค์จะมีใบอนุญาตดังกล่าวโดยไม่ต้องผ่านการสอบของกรมการขนส่งทางบกย่อมหมายความว่าจำเลยสามารถจะนำใบอนุญาตที่แท้จริงมาให้แก่บุคคลดังกล่าวได้เมื่อจำเลยนำใบอนุญาตปลอมมาให้จึงเท่ากับเป็นการอ้างแก่บุคคลเหล่านั้นว่าเป็นเอกสารราชการที่แท้จริง จำเลยจึงมีความผิดฐานอ้างเอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4705/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเงินโดยไม่มีข่มขู่หรือใช้กำลัง ไม่ถึงขั้นชิงทรัพย์
การที่จำเลยซึ่งไม่เคยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเดินตรงเข้ามาหาผู้เสียหายขณะรอรถยนต์โดยสารเพื่อจะกลับบ้านอยู่ที่หน้าโรงเรียน ทำท่าทางขึงขังลักษณะจะทำร้ายผู้เสียหายพร้อมกับแบมือและพูดว่าขอเงิน 1 บาท ผู้เสียหายส่งเงินให้ไป 1 บาท หลังจากนั้นจำเลยก็เดินไปขอเงินจากเด็กนักเรียนอื่น นักเรียนคนนั้นก็ส่งเงินให้ 1 บาท เช่นกัน ดังนี้จำเลยเพียงแต่ขอเงินผู้เสียหายโดยยังไม่ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ฉะนั้นที่ผู้เสียหายเห็นจำเลยมีท่าทางขึงขังและคิดว่าจะทำร้ายตนนั้นเป็นเพียงลักษณะท่าทางของวัยรุ่นที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยด้วยการแสดงอำนาจบาตรใหญ่มากกว่า ซึ่งยังไม่พอฟังว่าเป็นลักษณะขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4705/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ vs. ลักทรัพย์: การขอเงินด้วยท่าทางข่มขู่ไม่ถึงขั้นขู่เข็ญใช้กำลัง
การที่จำเลยซึ่งไม่เคยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อน เดินตรงเข้ามาหาผู้เสียหายขณะรอรถยนต์โดยสารเพื่อจะกลับบ้านหน้าโรงเรียนมีท่าทางขึงขัง ลักษณะจะทำร้ายผู้เสียหายพร้อมกับแบมือ และพูดว่าขอเงิน 1 บาท ผู้เสียหายส่งเงินให้ไป 1 บาท หลังจากนั้นจำเลยได้เดินไปขอเงิน 1 บาทกับนักเรียนอื่นอีกคนหนึ่ง ดังนี้จำเลยเพียงแต่ขอเงินผู้เสียหาย โดยยังไม่ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ฉะนั้นที่ผู้เสียหายเห็นจำเลยมีท่าทางขึงขังและคิดว่าจะทำร้ายตนนั้นเป็นเพียงลักษณะท่าทางวัยรุ่นที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยด้วยการแสดงอำนาจบาตรใหญ่มากกว่า ซึ่งยังไม่พอฟังว่าเป็นลักษณะขู่เข็ญว่าในทันใดจะใช้กำลังประทุษร้าย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์(เพียงแต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์) พฤติการณ์แห่งคดีจะเป็นเรื่องที่จำเลยแสดงอำนาจบาตรใหญ่อยู่บ้าง แต่จำเลยได้พูดขอเงินจากนักเรียนที่บริเวณหน้าโรงเรียนในเวลากลางวันเพียงคนละ 1 บาทเท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยนำเงินไปซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทานเพื่อบรรเทาความหิวโหย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรรอการลงโทษจำคุก และวางมาตรการคุมความประพฤติของจำเลยไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด การพิจารณาจากบาดแผลและผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ
จำเลยใช้อาวุธมีดยาวประมาณ 4-5 นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ชายโครงทำให้เส้นเลือดใหญ่ในช่องท้องของผู้เสียหายฉีกขาด มีบาดแผลถูกลำไส้ใหญ่ 2 แผล และมีเลือดออกในช่องท้องมาก แสดงว่าจำเลยแทงอย่างแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงินชำระหนี้ การสืบพยานหลักฐานเพื่ออธิบายความหมายของเอกสาร และการพิสูจน์การชำระหนี้
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้างการนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงิน การสืบอธิบายความหมายเอกสารไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้าง การนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
of 13