คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล ตรีเพชร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และความประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1 เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้างเมื่อโจทก์ที่ 1 กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น. เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืนสัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไปทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น. ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน
ผู้ร้องเช่าที่ดินจากจำเลยเพื่อประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและกิจการร้านอาหาร ในอัตราค่าเช่าต่ำ แต่ผู้ร้องต้องลงทุนถมดินก่อสร้างอาคารซึ่งมีมูลค่าจำนวนมากและมีข้อตกลงกันว่าให้สิ่งปลูกสร้างที่ผู้ร้องสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและผู้ร้องไม่ประสงค์จะเช่าต่อไปจึงเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าต่างให้ประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกันจากการเช่าเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือและแตกต่างไปจากการเช่าทรัพย์ตามปกติ สัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่จดทะเบียนก็ใช้บังคับแก่กันได้ เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด สิ่งก่อสร้างดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและดอกเบี้ยที่คิดได้หลังเลิกสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงยังคงมีอยู่ต่อมา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงนำเงินตามใบรับเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 และตามสมุดเงินฝากประจำของ ต. ที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันมาหักชำระหนี้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2529 เป็นการบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า โจทก์ได้เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้จนถึงวันที่14 มีนาคม 2529 อันเป็นวันเลิกสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดและการปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณามีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาด เป็นวิธีการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี หากจำเลยทั้งสองเห็นว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบและตนเองได้รับความเสียหาย ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีเสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งสอง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะหรือขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27และมาตรา 296 วรรคสอง เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนด หากไม่ยื่น แม้ศาลจะจำหน่ายคดี ก็ไม่ตัดสิทธิ
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล ขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอประการใดศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลย โดยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความและคำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนด แม้จะเป็นเจ้าหนี้เดิมที่มีคดีแพ่งค้างอยู่
แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาก็ตามเจ้าหนี้นั้นก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตาม ที่เห็นสมควรเช่นกัน กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่น คำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะ ได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดในคดีล้มละลาย แม้มีคดีแพ่งค้างอยู่
แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาก็ตาม เจ้าหนี้นั้นก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเช่นกัน
กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินเล็กน้อย & การรับภาระหน้าที่จากผู้โอน – ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามมาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ได้ต่อเติมรุกล้ำ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่า ในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่แต่ได้ความตามคำฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทเป็นเนื้อที่ 2 ตารางวาเป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในทำเลอันจะทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษ เชื่อได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทฟ้องร้องมรดก & ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุน-ทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทตามพินัยกรรมมีอำนาจฟ้องเรียกร้องมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่ โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุนทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 13