คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล ตรีเพชร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้ารับราชการ: การบรรจุข้าราชการกลาโหมพลเรือนขัดต่อสัญญาระบุประเภทข้าราชการทหาร ถือเป็นการไม่ผูกพันตามสัญญา
ข้าราชการกระทรวงกลาโหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการทหารกับข้าราชการกลาโหมพลเรือนซึ่งจะไม่ได้รับยศทันทีที่เข้ารับราชการ จำเลยที่ 1 สมัครเข้ารับราชการในโรงงานเภสัชกรรมทหารพร้อมกับทำสัญญากับโจทก์มีข้อความระบุไว้ว่าเป็นสัญญาการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งหมายความว่า มิใช่สัญญาการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือน การที่ทางราชการบรรจุแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนจึงมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดสัญญาที่ทำกันไว้ ข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องอยู่ปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงไม่มีผลบังคับเมื่อจำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการก่อนครบกำหนด 3 ปี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำทางเพศที่ไม่ถึงขั้นข่มขืน ถือเป็นกระทำอนาจาร
จำเลยเข้ากอดผู้เสียหายจากทางด้านหลังแล้วเหนี่ยวรั้งตัวผู้เสียหายจนผู้เสียหายล้มนอนหงายกับพื้น จากนั้นจำเลยก็ทุบบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหายและใช้มือปิดปากไม่ให้ผู้เสียหายร้องกับขึ้นนั่งคร่อมบนหน้าขาทั้งสองข้างของผู้เสียหาย แล้วโน้มตัวเอาใบหน้ามาคลอเคลียบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายและจับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจากด้านนอกกางเกง โดยจำเลยมิได้ถอดกางเกงของผู้เสียหายและของจำเลยที่ผู้เสียหายและจำเลยสวมใส่ออก ดังนี้ ลักษณะการกระทำของจำเลยยังไม่อยู่ในวิสัยที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย คงเป็นความผิดเพียงฐานกระทำอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารและการพยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การประเมินลักษณะการกระทำเพื่อกำหนดความผิด
จำเลยเข้ากอดผู้เสียหายจากทางด้านหลังแล้วเหนี่ยวรั้งตัวผู้เสียหายจนผู้เสียหายล้มนอนหงายกับพื้น จากนั้นจำเลยก็ทุบบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหายและใช้มือปิดปากไม่ให้ผู้เสียหายร้องกับขึ้นนั่งคร่อมบนหน้าขาทั้งสองข้างของผู้เสียหาย แล้วโน้มตัวเอาใบหน้ามาคลอเคลียบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายและจับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจากด้านนอกกางเกง โดยจำเลยมิได้ถอดกางเกงของผู้เสียหายและของจำเลยที่ผู้เสียหายและจำเลยสวมใส่ออก ดังนี้ ลักษณะการกระทำของจำเลยยังไม่อยู่ในวิสัยที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายได้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย คงเป็นความผิดเพียงฐานกระทำอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การใช้ทรัพย์สินในการกระทำความผิด: คำพิพากษาผูกพันหรือไม่
ในชั้นพิจารณาที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด จำเลยได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดและการพาทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกวิ่งราวทรัพย์ไป คดีถึงที่สุดแล้ว แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางแล้วกล่าวอ้างว่าในขณะกระทำความผิดจำเลยมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการกระทำผิด เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาเช่นนี้ ผู้ร้องจะต้องนำสืบให้ได้ความดังที่กล่าวอ้าง แต่ทางพิจารณาผู้ร้องนำสืบไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำผิด ในทางตรงกันข้ามจำเลยทั้งสองกลับเบิกความเป็นพยานผู้ร้องว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางไปกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ดังนี้จึงต้องฟังว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดและการโต้แย้งคำพิพากษาเดิมของผู้ร้อง
ในชั้นพิจารณาที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดจำเลยได้ให้การสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดและการพาทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกวิ่งราวทรัพย์ไปคดีถึงที่สุดแล้ว แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตามแต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางแล้วกล่าวอ้างว่าในขณะกระทำความผิดจำเลยมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการกระทำผิดเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาเช่นนี้ ผู้ร้องจะต้องนำสืบให้ได้ความดังที่กล่าวอ้าง แต่ทางพิจารณาผู้ร้องนำสืบไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดในทางตรงกันข้ามจำเลยทั้งสองกลับเบิกความเป็นพยานผู้ร้องว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางไปกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ดังนี้จึงต้องฟังว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญา และการลงโทษที่ไม่ตรงกับฟ้อง
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 376 ไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้กล่าวบรรยายมาในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าวดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เรียกรับเงินแลกกับการไม่ดำเนินคดีต่อเติมอาคาร ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการกรรโชก
ผู้เสียหายที่ 2 ได้ต่อเติมห้องน้ำที่บ้านของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่นายตรวจอาคาร มีอำนาจหน้าที่ตรวจอาคารตามคำสั่งของสำนักงานเขตพญาไท จำเลยได้ข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายที่ 2 ถ้าผู้เสียหายไม่ให้จำเลยจะดำเนินคดีในเรื่องต่อเติมอาคารผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้ตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้ถูกขู่เข็ญ เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานกรรโชกและกระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล เพราะการที่ผู้เสียหายที่ 2 เจรจากับจำเลยแล้วขึ้นไปชั้น 2 โทรศัพท์เรียกเจ้าพนักงานตำรวจให้มาจับกุมจำเลยทันที แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2ไม่ยอมให้เงิน เพียงแต่ทำทีเป็นยอมเพื่อวางแผนจับกุมจำเลยหาใช่ยอมให้เงินแก่จำเลยด้วยใจจริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามกรรโชกทรัพย์จากเจ้าหน้าที่ใช้ตำแหน่งข่มขู่เรียกเงิน
ผู้เสียหายที่ 2 ได้ต่อเติมห้องน้ำที่บ้านของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่นายตรวจอาคาร มีอำนาจหน้าที่ตรวจอาคารตามคำสั่งของสำนักงานเขตพญาไท จำเลยได้ข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายที่ 2 ถ้าผู้เสียหายไม่ให้จำเลยจะดำเนินคดีในเรื่องต่อเติมอาคารผิดกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้ตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้ถูกขู่เข็ญ เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานกรรโชกและกระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล เพราะการที่ผู้เสียหายที่ 2 เจรจากับจำเลยแล้วขึ้นไปชั้น 2 โทรศัพท์เรียกเจ้าพนักงานตำรวจให้มาจับกุมจำเลยทันที แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมให้เงิน เพียงแต่ทำทีเป็นยอมเพื่อวางแผนจับกุมจำเลย หาใช่ยอมให้เงินแก่จำเลยด้วยใจจริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดขั้นพยายาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมประทานบัตรแร่: สิทธิเรียกเก็บ, อัตราตามกฎกระทรวง, และอายุความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยเป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการให้ประทานบัตร ตรวจสอบดูแลการทำเหมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนมีหน้าที่ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรและหนี้สินต่าง ๆ ที่ผู้ได้รับประทานบัตรค้างชำระแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่จำเลยค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้แต่อย่างใด ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีสำหรับอัตราค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บ ทั้งนี้เพราะกฎกระทรวงฉบับใดที่ยกเลิกไปแล้วย่อมถูกยกเลิกทั้งฉบับ ซึ่งรวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนั้นด้วย ฉะนั้นปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่ จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แต่ดอกเบี้ยจากเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ ส่วนที่เกิน5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33
of 13